ยางนา

สปีชีส์ของพืช

ยางนา เป็นไม้ยืนต้นเขตร้อน อาจมีความสูงถึง 40 เมตร ผลของมันต้องใช้แมลงผสมเกสร และออกผลระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน เมล็ดของมันกระจายไปตามลม[2] เติบโตในขอบเขตระหว่างเบงกอลตะวันตกและบังกลาเทศผ่านพม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม[2] และในมาเลเซียตะวันตกกับฟิลิปปินส์[3] นอกจากนี้ยังเป็นพืชพื้นเมืองของศรีลังกาและหมู่เกาะอันดามันด้วย[2][3]

ยางนา
ต้นยางนาบริเวณหออินทขิล เสาหลักเมืองเชียงใหม่ บริเวณวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร[1]
เมล็ด - MHNT
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: ชบา
Malvales
วงศ์: วงศ์ยางนา
Dipterocarpaceae
สกุล: สกุลยางนา
Dipterocarpus
Roxb. ex G.Don[3]
สปีชีส์: Dipterocarpus alatus
ชื่อทวินาม
Dipterocarpus alatus
Roxb. ex G.Don[3]
ชื่อพ้อง[3]
  • Dipterocarpus gonopterus Turcz.
  • Dipterocarpus incanus Roxb.
  • Dipterocarpus philippinensis Foxw.
  • Hopea conduplicata Buch.-Ham.
  • Oleoxylon balsamifera Roxb.
  • Pterigium costatum Corrêa

มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆ อีก คือ กาตีล (เขมร ปราจีนบุรี) ขะยาง (ชาวบน นครราชสีมา) จ้อง (กะเหรี่ยง) จะเตียล (เขมร) ชันนา (ชุมพร) ทองหลัก (ละว้า) ยาง (กลาง, ตะวันออกเฉียงเหนือ) ยางกุง (เลย) ยางขาว (กลาง, ลำปาง) ยางควาย (หนองคาย) ยางตัง (ชุมพร, ใต้) ยางเนิน (จันทบุรี) ยางแม่น้ำ (กลาง) ยางหยวก (กลาง, หนองคาย) ราลอย (ส่วย สุรินทร์) และ ลอยด์ (โซ่ นครพนม)[4]

นอกจากนี้ ยางนายังเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล ประจำจังหวัดอุบลราชธานี[5]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แก้

ยางเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 40 เมตร ลำต้นตรง เปลือกเรียบสีเทาปนขาว โคนต้นเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับ รูปไข่แกมรูปหอก กว้าง 8-15 ซม. ยาว 20-35 ซม. ปลายแหลม โคนใบมน เนื้อใบหนา ดอกสีชมพู ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็น รูปถ้วย และมีครีบตามยาว 5 ครีบ ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีกลีบ 5 กลีบ ปลายกลีบบิดเบี้ยวแบบกังหัน เกสรตัวผู้ จำนวนมาก ผล รูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-3 ซม. มีครีบยาว 5 ครีบ มีปีกยาว 2 ปีก สั้น 3 ปีก ปีกยาวมี เส้นตามยาว 3 เส้น เกิดตามป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ต้นยางนาขึ้นเป็นหมู่ในป่าดิบและตามที่ราบชุ่มชื้นใกล้แม่น้ำลำธารทั่วไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200 – 600 เมตร ออกดอกเดือนมีนาคม – พฤษภาคม เป็นผล เมษายน – มิถุนายน ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

ยางนาเป็นไม้หวงห้าม นิยมนำมาใช้ในการก่อสร้าง ไม้แปรรูปใช้ทำฝาบ้านเรือน ไม้อัด เครื่องเรือน เรือขุดและเรือขนาดย่อม คนอีสานใช้น้ำมันจากต้นยางทำขี้กะบอง (ขี้ใต้จุดไฟ) น้ำมันผสมกับชันใช้ทาไม้ เครื่องจักรสาน ยาเรือ และใช้เดินเครื่องยนต์แทนน้ำมันขี้โล้[6]

อ้างอิง

แก้
  1. "Saveยางนา ฮักษาอินทขิล".
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Ly, V.; Nanthavong, K.; Pooma, R.; Barstow, M.; Luu, H.T.; Khou, E.; Newman, M.F. (2017). "Dipterocarpus alatus". IUCN Red List of Threatened Species. 2017: e.T33007A2829912. doi:10.2305/IUCN.UK.2017-3.RLTS.T33007A2829912.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Dipterocarpus alatus". Plants of the World Online. Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 21 July 2020.
  4. เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  5. "ยางนา ไม้มงคลประจำจังหวัดอุบลราชธานี".
  6. "ยางนา".

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้