พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 พระราชบัญญัติพรรคการเมืองฉบับที่ 3 ของประเทศไทยซึ่งได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2517 [1] โดยประกาศใช้แทน พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 ที่ถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติที่ 9 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 [2]
พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ผู้ลงนาม | พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช |
วันลงนาม | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2517 |
ผู้ลงนามรับรอง | ศ. สัญญา ธรรมศักดิ์ |
วันลงนามรับรอง | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2517 |
วันประกาศ | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2517 |
วันเริ่มใช้ | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2517 |
ท้องที่ใช้ | ประเทศไทย |
การยกเลิก | |
ถูกยกเลิกโดยประกาศของ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6 |
ซึ่งรายละเอียดของพระราชบัญญัติพรรคการเมืองฉบับนี้ไม่แตกต่างจากฉบับก่อนมากนักแต่แตกต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อยโดยสาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้คือให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 9 รวมถึงกำหนดให้ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคต้องมีจำนวน 1,000 คนซึ่งมากกว่าฉบับก่อนที่ได้กำหนดไว้เพียง 500 คนและเป็นพระราชบัญญัติฉบับแรกที่ได้กำหนดให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งต้องสังกัดพรรคการเมืองเนื่องจากพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับก่อนหน้าสามารถให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งลงสมัครแบบอิสระได้ซึ่งมักจะทำให้เกิดปัญหาในการบริหารราชการแผ่นดินและได้กำหนดให้พรรคการเมืองมิต้องยุบพรรคในกรณีที่พรรคการเมืองไม่ได้ ส.ส. แม้แต่คนเดียว
พระราชบัญญัติฉบับนี้ถูกยกเลิกโดยประกาศของ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 [3]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 91 ตอน 173 ก พิเศษ หน้า 1 15 ตุลาคม พ.ศ. 2517
- ↑ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 9 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 88 ตอน 126 ก พิเศษ หน้า 3 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
- ↑ ประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 120 ก พิเศษ หน้า 19 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519