กมล สีตกะลิน
พลเรือเอก กมล สีตกะลิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2515 เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตผู้บัญชาการทหารเรือ
พลเรือเอก กมล สีตกะลิน ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 8 มกราคม พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 มีนาคม พ.ศ. 2455 |
เสียชีวิต | 24 สิงหาคม พ.ศ. 2544 (89 ปี) |
ประวัติแก้ไข
พล.ร.อ.กมล สีตกะลิน เดิมชื่อ "โกมล" เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2455 ที่เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนาวาเอก พระสาตราบรรง (บุญเต็ก สีตกะลิน) มีพี่น้อง 7 คน พล.ร.อ.กมล สมรสกับฉวีวรรณ ภีมะโยธิน บุตรีพระยารามกำแหง (ทองอยู่ ภีมะโยธิน) มีบุตรธิดา 4 คน
พล.ร.อ.กมล เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 3 พ.ศ. 2511[1] ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเขาได้รับเลือกเป็นรองประธานสภา คนที่ 2[2] แต่ก็ทำหน้าที่ได้มีนาน ภายหลัง วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 ได้มีสมาชิกลาออกไปถึง 288 คนจึงทำให้ไม่สามารถประชุมสภาได้สภาจึงสิ้นสุดลงเมื่อได้ประกาศ พระราชกฤษฎีกายุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2516
ในปี พ.ศ. 2518 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช[3] แต่ก็ดำรงตำแหน่งได้เพียง 10 เดือน ก็ถูกปรับให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2513 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2512 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[6]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๓
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (๑.พลตรี ศิริ สิริโยธิน ๒.นายทวี แรงขำ ๓.พลเรือเอก กมล สีตกะลิน)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (พ้นจากตำแหน่ง ๖ ราย และแต่งตั้ง ๑๕ ราย)
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์