มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ จัดการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปริญญาตรี และปริญญาโท ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีศูนย์พื้นที่ในสังกัด 4 แห่ง เปิดทำการสอนด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีชั้นสูงส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ[2]
ประเภท | มหาวิทยาลัยรัฐ |
---|---|
สถาปนา | 19 มกราคม พ.ศ. 2548 |
อธิการบดี | รศ.ดร.ประมุข อุณหเลขกะ |
อธิการบดี | รศ.ดร.ประมุข อุณหเลขกะ |
นายกสภามหาวิทยาลัย | ศ.พิเศษ ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม |
ผู้ศึกษา | 10,161 คน (2566)[1] |
ที่ตั้ง | เลขที่ 60 หมู่ที่ 3 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000 |
สี | สีเหลืองทอง |
เว็บไซต์ | www.rmutsb.ac.th |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ถูกจัดให้เป็นอันดับ 2 มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e- University ในกลุ่มราชมงคล จากการจัดอันดับของ กลุ่มวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติ ประเทศสเปน[3]
ประวัติ
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 โดยพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พ.ศ. 2518 ใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา” และโอนวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเกษตรกรรม และวิทยาลัยต่างๆ ในสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เข้ามาสังกัด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “ราชมงคล” เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 (วันราชมงคล) พร้อมทั้งมีพระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2532 ทำให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล"
ในระยะต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดให้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาต้องเป็นนิติบุคคล[4] ทำให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเริ่มมีแนวคิดในการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยนิติบุคคล กระทั่งเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548[5] ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นผลให้มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเกิดขึ้นใหม่ จำนวน 9 แห่ง เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี จัดการศึกษาด้านวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ผลิตครูวิชาชีพ และให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก
วิทยาเขตในสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 มาตรา 65 กำหนดให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย วิทยาเขตนนทบุรี วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา วาสุกรี วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา หันตรา และวิทยาเขตสุพรรณบุรี[4]
วิทยาเขตนนทบุรี
แก้วิทยาเขตนนทบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จัดตั้งขึ้นในปี 2518 โดยการยุบรวม "โรงเรียนช่างกลนนทบุรี" และ "โรงเรียนการช่างนนทบุรี" เป็นวิทยาลัยเทคนิคนนทบุรี ซึ่งมีที่ตั้งห่างกันเพียง 1 กิโลเมตร
วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา วาสุกรี
แก้วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา วาสุกรี ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมเป็นโรงเรียนการช่างสตรี ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2481 โดยเปิดสอนชั้นมัธยมการช่างสตรี
วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา หันตรา
แก้วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา หันตรา ตั้งอยู่ที่ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อมาถูกกำหนดให้เป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
เริ่มแรกก่อตั้งเป็นโรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ต่อมาในปี 2483 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเกษตรกรรมอยุธยา" และรับนักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มาเรียนต่อ 2 ปี และอบรมเพิ่มเติม 1 ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2487 ได้ขยายเปิดรับนักเรียนเกษตรกรรมชั้นกลาง ในปี พ.ศ. 2504 ได้ขยายการจัดการเรียนการสอนมาเป็นหลักสูตร ประโยคอาชีวชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม และขยายการจัดการเรียนการสอนมาเป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกเกษตรกรรม และยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรม สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้ชื่อ "วิทยาลัยเกษตรพระนครศรีอยุธยา"
วิทยาเขตสุพรรณบุรี
แก้วิทยาเขตสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลย่านยาว อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เดิมจัดตั้งขึ้นเป็นวิทยาเขตในสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 [6] โดยแนวความคิดของนายบรรหาร ศิลปอาชา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี (ในขณะนั้น) ได้เสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งวิทยาเขต สังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย ซึ่งจังหวัดสุพรรณบุรี มีเส้นทางในการคมนาคมที่สะดวกและติดต่อกับจังหวัดที่มีความเจริญด้านอุตสาหกรรม เช่น กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท และเพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาออกสู่ชนบท
วิทยาเขตสุพรรณบุรี ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 โดยนายบรรหาร ศิลปอาชา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี
รายนามอธิการบดี
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ | |
รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. ผศ.จริยา หาสิตพานิชกุล | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548[7] - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556 |
2. ผศ.ไพศาล บุรินทร์วัฒนา | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556[8] - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560[9] - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564 |
3. รศ.ดร.ประมุข อุณหเลขกะ | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564[10] - ปัจจุบัน |
คณะ
แก้- คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
- คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
- คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์
- คณะศิลปศาสตร์
และมีโครงการจัดตั้งคณะ ได้แก่
- คณะพยาบาลศาสตร์ (โครงการจัดตั้ง) **ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา**
- คณะสารสนเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน (โครงการจัดตั้ง) **ศูนย์นนทบุรี (เหนือ)**
- โรงเรียนเตรียมเทคโนโลยีและนวัตกรรม (โครงการจัดตั้ง)[11]
หน่วยงานสายสนับสนุน
แก้- สถาบันวิจัยและพัฒนา
- สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
- สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สำนักงานอธิการบดี
- สำนักงานตรวจสอบภายใน
พื้นที่จัดการศึกษา
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มีพื้นที่จัดการศึกษา 6 แห่งคือ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา วาสุกรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี (เหนือ)
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี (ใต้)
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี (เขต 1)
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี (เขต 2)
อ้างอิง
แก้- ↑ สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ↑ มทร.สุวรรณภูมิจาก ไทยรัฐออนไลน์
- ↑ เจ๋ง! "มทร.สุวรรณภูมิ" คว้าอันดับ 2 มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ ในกลุ่มนี้
- ↑ 4.0 4.1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอน 74ก ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2542
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 122 ตอน 6ก ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548
- ↑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งวิทยาเขตสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
- ↑ ประกาศวำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 ราย เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจานุเบกษา เล่ม 122 ตอน 88ง วันที่ 20 ตุลาคม 2548
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (นายไพศาล บุรินทร์วัฒนา)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
- ↑ "มทร.สุวรรณภูมิ" คลอด "ร.ร.เตรียมเทคโนโลยี" สร้างนักนวัตกรรมมืออาชีพ ป้อนตลาด
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์