กัญจนา ศิลปอาชา

กัญจนา ศิลปอาชา (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503) ชื่อเล่น นา, หนูนา เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ประธานพรรคชาติไทย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นบุตรีของนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา

กัญจนา ศิลปอาชา
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – 6 มกราคม พ.ศ. 2544
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
อาคม เอ่งฉ้วน
ถัดไปจำลอง ครุฑขุนทด
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดสุพรรณบุรี
ดำรงตำแหน่ง
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา
ดำรงตำแหน่ง
26 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 20 กันยายน พ.ศ. 2565
ก่อนหน้าธีระ วงศ์สมุทร
ถัดไปวราวุธ ศิลปอาชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 (64 ปี)
อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย (2538–2551)
ชาติไทยพัฒนา (2557–ปัจจุบัน)
บุพการี
ญาติวราวุธ ศิลปอาชา (น้องชาย)
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน
ลายมือชื่อ

การศึกษา แก้

น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สถิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา

อีกด้านหนึ่ง น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา ใช้เวลาในระหว่างถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง (พ.ศ. 2553) เข้ารับการศึกษาหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ของสถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในรุ่นที่ 11 และเป็นรุ่นเดียวกันกับนักการเมืองชื่อดังอีกหลายคน อาทินายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายประจวบ ไชยสาส์น นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ นายแพทย์บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ฯลฯ[ต้องการอ้างอิง]

การทำงาน แก้

น.ส.กัญจนา เริ่มทำงานด้วยการเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ในช่วงปี พ.ศ. 2527 ถึง พ.ศ. 2528 ก่อนที่จะมาเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทสยามออกซี่ จำกัด ในปี พ.ศ. 2528 ถึง พ.ศ. 2538 รวมไปถึงดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริษัทสยามอ็อกซิเดนทอล อิเล็คโตรเคมิ[1]

งานการเมือง แก้

น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา เข้าสู่งานการเมืองตามบิดาซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคชาติไทย โดยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2538, 2539, 2544 ,2548 และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ในปี พ.ศ. 2544 ได้รับตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ประธานคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ประธานมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) ในปี พ.ศ. 2545 เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และปี พ.ศ. 2546 เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

ต่อมาเมื่อพรรคชาติไทย ถูกตัดสินยุบพรรค ในปี พ.ศ. 2551 น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา ในฐานะคณะกรรมการบริหารพรรคจึงถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี[2]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 น.ส.กัญจนาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ลำดับที่ 2[3]

ชีวิตส่วนตัว แก้

น.ส.กัญจนา เล่นการเมืองครั้งแรกเมื่อทางพรรคชาติไทยหาผู้สมัครลงที่จังหวัดสุพรรณบุรีไม่ได้ จึงได้ลงรับสมัครเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538 และได้รับเลือกตั้ง ปัจจุบันได้ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้าง และถึงแม้ไม่มีครอบครัวของตัวเอง แต่ก็รับอุปการะเด็กผู้หญิงพิการคนหนึ่งมาตั้งแต่อายุเพียง 3 ขวบ ในปี พ.ศ. 2541 [4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. กัญจนา ศิลปอาชา
  2. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  3. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคชาติไทยพัฒนา)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 2014-01-22.
  4. หน้า 19 วิถีชีวิต, นักการเมือง...ทำเรื่องช้าง 'กัญจนา ศิลปอาชา' รักจริง ๆ..ไม่อิงกระแส!!!. "วิถีชีวิต". เดลินิวส์ฉบับที่ 23,845: วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเมีย
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒

แหล่งข้อมูลอื่น แก้