กบฏทหารนอกราชการ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
กบฏทหารนอกราชการ หรือ กบฏ 9 กันยา[2] หรือ กบฏสองพี่น้อง[3] เป็นความพยายามรัฐประหารเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 ของนายทหารนอกประจำการคณะหนึ่ง
กบฏทหารนอกราชการ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
รถถังยิงจากบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
รัฐบาลพลเอกเปรม |
คณะปฏิวัติ
ประชาชนบางส่วน
| ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก พลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ พลโท ชวลิต ยงใจยุทธ พลโท พิจิตร กุลละวณิชย์ |
พันเอก มนูญกฤต รูปขจร นาวาอากาศโท มนัส รูปขจร พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลเอก เสริม ณ นคร พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เอกยุทธ อัญชันบุตร | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
- | - | ||||||
ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ 2 คน ประชาชน 1 ราย[1] |
ภูมิหลัง
แก้ประกอบด้วย
- พ.อ. มนูญ รูปขจร (ยศในขณะนั้น, ปัจจุบันชื่อว่า มนูญกฤต รูปขจร)
- น.ท. มนัส รูปขจร
- พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
- พล.อ. เสริม ณ นคร
- พล.อ. ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
- พล.อ.อ. กระแส อินทรรัตน์
- พล.ต. ทองเติม พบสุข
- พ.อ. ประจักษ์ สว่างจิตร
- พ.อ. สาคร กิจวิริยะ
ร่วมด้วยทหารประจำการอีกส่วนหนึ่ง เช่น
- เอกรัฐ ษรารุรักษ์
พลเรือนบางส่วนซึ่งเป็นผู้นำแรงงาน เช่น
- นายสวัสดิ์ ลูกโดด
- นายประทิน ธำรงจ้อย
โดยได้ความสนับสนุนทางการเงินจาก เอกยุทธ อัญชันบุตร การกบฏครั้งนี้พยายามยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ กบฏครั้งนี้มีขึ้นในช่วงที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปราชการที่อินโดนีเซีย ส่วน พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น อยู่ระหว่างปฏิบัติภารกิจในทวีปยุโรป
การกบฏครั้งนี้ยังถือเป็นการใช้ความพยายามรัฐประหารที่ไม่ประสบความสำเร็จครั้งสุดท้าย ที่เรียกว่า "กบฏ" อีกด้วย นอกจากนี้ยังถือเป็นความพยายามรัฐประหารรัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ครั้งสุดท้าย ภายหลังความล้มเหลวในการก่อการของกบฏยังเติร์ก เมื่อ พ.ศ. 2524
เริ่มต้นเหตุการณ์
แก้การก่อการเริ่มต้นเมื่อเวลา 03:00 น. โดยรถถังจำนวน 22 คัน จากกองพันทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ (ม.พัน.4 รอ.) พร้อมด้วยกำลังทหารกว่า 400 นายจากกองกำลังทหารอากาศโยธิน เข้าควบคุมกองบัญชาการทหารสูงสุด, สนามเสือป่า, กรมประชาสัมพันธ์และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) และอ่านแถลงการณ์ของคณะปฏิวัติ ระบุนาม พล.อ. เสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ จับกุม พล.อ.อ. ประพันธ์ ธูปะเตมีย์
ฝ่ายนายเอกยุทธ อัญชันบุตร ซึ่งเป็นพลเรือน ได้นำกำลังทหารส่วนหนึ่งและผู้นำสหภาพแรงงานเข้ายึดองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และควบคุมตัวนายพิเชษฐ สถิรชวาล ผู้อำนวยการ ขสมก. ในขณะนั้น เพื่อนำรถขนส่งมวลชนไปรับกลุ่มผู้ใช้แรงงานเข้ามาร่วมด้วย
ต่อมาทหารฝ่ายรัฐบาล ประกอบด้วย
- พล.อ. เทียนชัย สิริสัมพันธ์ - รองผู้บัญชาการทหารบก รักษาการตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
- พล.ท. ชวลิต ยงใจยุทธ - รองเสนาธิการทหารบก
- พล.ท. พิจิตร กุลละวณิชย์ - แม่ทัพภาคที่ 1 ประสานกับฝ่ายรัฐบาล
- พล.อ. ประจวบ สุนทรางกูร - รองนายกรัฐมนตรี อยู่ในตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี
ตั้งกองอำนวยการฝ่ายต่อต้านขึ้นที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เขตบางเขน และนำกองกำลังจาก กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พัน.1 ร.2 รอ.) เข้าต่อต้าน และออกแถลงการณ์ตอบโต้ในนาม พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก กองกำลังหลักของฝ่ายรัฐบาลคุมกำลังโดยกลุ่มนายทหาร จปร.5 ประกอบด้วย พล.ท. สุจินดา คราประยูร, พล.ท. อิสระพงศ์ หนุนภักดี และ พล.อ.ท. เกษตร โรจนนิล
รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 โดย พล.อ. ประจวบ สุนทรางกูร รองนายกรัฐมนตรี รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี และ พล.อ. สิทธิ จิรโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ลงนามในประกาศดังกล่าว[4] และยกเลิกในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2528 เวลา 18:00 น.[5]
เมื่อเวลาประมาณ 09:50 น. รถถังของฝ่ายกบฏที่ตั้งอยู่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าเริ่มระดมยิงเสาอากาศวิทยุและอาคารของสถานีวิทยุกระจายเสียงกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และยิงปืนกลเข้าไปในบริเวณวังปารุสกวัน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ทำให้ผู้สื่อข่าวต่างประเทศเสียชีวิตสองคน ได้แก่นีล เดวิส ชาวออสเตรเลียและบิล แรตช์ ชาวอเมริกัน
ทั้งสองฝ่ายปะทะกันรุนแรงขึ้น และมีการเจรจาเมื่อเวลา 15:00 น. โดยมี พล.ท. พิจิตร กุลละวณิชย์ เป็นตัวแทนฝ่ายรัฐบาลและ พล.อ. ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นตัวแทนฝ่ายกบฏ ทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้และถอนกำลังกลับที่ตั้งเมื่อเวลา 17:30 น.
ส่วน พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อคืนวันนั้น แล้วเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จ.นราธิวาส โดยทันที
เมื่อการกบฏล้มเหลว ผู้ก่อการ คือ พ.อ. มนูญ รูปขจร และ น.ท. มนัส รูปขจร ได้ลี้ภัยไปสิงคโปร์และเดินทางไปอยู่ในประเทศเยอรมนีตะวันตก ส่วนคณะที่เหลือให้การว่าถูกบังคับจากคณะผู้ก่อการกบฏ มีผู้ถูกดำเนินคดี 39 คน หลบหนี 10 คน
ทั้งนี่เชื่อกันว่าเบื้องหลังการยึดอำนาจครั้งนี้ พ.อ. มนูญ รูปขจร ทำหน้าที่เพียงเป็นหัวหอกออกมายึดเท่านั้น เพื่อคอยกำลังเสริมของผู้มีอำนาจนำออกมาสมทบในภายหลัง และการก่อการครั้งนี้ล้มเหลวเนื่องจากมีใครบางคนที่ "นัดแล้วไม่มา"[6][2]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 9 กันยายน 2528: กลุ่ม “ทหารนอกราชการ” ก่อกบฏ อ้าง “เศรษฐกิจแย่-ว่างงานเยอะ-อาชญากรรมสูง” ศิลปวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2564
- ↑ 2.0 2.1 รัตนทรัพย์ศิริ, ปกรณ์ (September 8, 2012). "ปฏิวัติ 9 กันยา นัดแล้วไม่มา". วอยซ์ทีวี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-18. สืบค้นเมื่อ September 9, 2016.
- ↑ รอดเพชร, สำราญ (February 16, 2010). "รัฐประหาร 53 ใครจะกล้าทำ". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ September 9, 2016.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศกฎอัยการศึก
- ↑ ยกเลิกกฎอัยการศึก
- ↑ สิริรัตน์ เรืองวงษ์วาร, ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, พ.ศ. 2539, หน้า 518-519[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]