ฉลาด หิรัญศิริ เป็นนายทหารชาวไทย อดีตผู้บัญชาการทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม และผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นนายทหารที่มีความพยายามก่อรัฐประหาร

ฉลาด หิรัญศิริ

พล.อ. ฉลาด ในวันที่ถูกฝากขังที่เรือนจำชั่วคราวบางเขน
เกิด4 มกราคม พ.ศ. 2466
เสียชีวิต21 เมษายน พ.ศ. 2520 (54 ปี)
เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
สาเหตุเสียชีวิตประหารชีวิตด้วยการยิง
สัญชาติไทย
การศึกษาโรงเรียนนายร้อยทหารบก
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
อาชีพทหาร
มีชื่อเสียงจากผู้ก่อกบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520
สถานะทางคดีถูกประหารชีวิต
พิพากษาลงโทษฐาน
  • บ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน
  • ร่วมกันเป็นตัวการสำคัญในการสะสมกำลังพลและอาวุธเพื่อเป็นกบฎ
  • ฆ่าเจ้าพนักงานโดยทารุณโหดร้าย
บทลงโทษประหารชีวิต
รายละเอียด
ผู้เสียหายรัฐบาลไทย
วันที่26 มีนาคม พ.ศ. 2520
ประเทศประเทศไทย
รัฐกรุงเทพมหานคร
ตำแหน่งสวนรื่นฤดี ถนนนครราชสีมา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต
ตายพล.ต. อรุณ ทวาทศิน , 54 ปี
อาวุธปืนพกขนาด.38
วันที่ถูกจับ
26 มีนาคม พ.ศ. 2520
จำคุกที่เรือนจำกลางบางขวาง
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัด กองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2484 – 2520
ชั้นยศ พลเอก (ถอดยศ)[1]
บังคับบัญชารองผู้บัญชาการทหารบก
การยุทธ์สงครามอินโดจีน
สงครามมหาเอเชียบูรพา
สงครามเกาหลี
การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
สงครามเวียดนาม

การรับราชการทหาร

แก้

ในปี พ.ศ. 2483 พล.อ. ฉลาด เริ่มรับราชการในตำแหน่งรองผู้บังคับกองร้อย ในยศร้อยตรี ที่จังหวัดอุดรธานี โดยมี ร.อ. ประภาส จารุเสถียร เป็นผู้บังคับกองร้อย ต่อมาเมื่อเกิดสงครามเกาหลี พล.อ. ฉลาด จึงได้อาสาสมัครไปรบในตำแหน่งงานยุทธศาสตร์ แผน และงบประมาณ (ฝอ.3) ของกองกำลังทหารไทยในเกาหลี ต่อมาในปี พ.ศ. 2506 เขาได้รับตำแหน่งเสนาธิการ กรมยุทธศึกษาทหารบก อัตรายศ"พลตรี" ในปี พ.ศ. 2511 จึงได้รับยศ"พลโท" ในตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 2 พล.อ. ฉลาด ปฏิบัติราชการสนามในสงครามเวียดนามได้อย่างดี จนได้รับหนังสือสดุดีวีรกรรมจากประธานาธิบดีเวียดนามใต้ หลังกลับจากราชการสงครามในเวียดนามใต้ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการสถาบันวิชาทหารบกชั้นสูง และก้าวสู่ตำแหน่งราชการในระดับสูงของกองทัพบกในระยะเวลาต่อมา ในสมัยของรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อเขาอายุ 52 ปีเขาได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกในปี พ.ศ. 2518[2] และได้รับการสนับสนุนให้ขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก แต่สุดท้ายก็ผิดหวังเพราะรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ประกาศยุบสภาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2519 และหลังจากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช แล้ว พล.อ. ฉลาด จึงถูกย้ายออกจากกองทัพบกไปประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519[3][4]

การศึกษา

แก้

พล.อ. ฉลาด จบการศึกษา ดังนี้

ตำแหน่งทหาร

แก้
  • พ.ศ. 2506 - ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก[5]
  • พ.ศ. 2507 - เสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารบก[6]
  • พ.ศ. 2509 - เจ้ากรมยุทธการทหารบก[7][8]
  • พ.ศ. 2511 - ผู้บัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 2
  • พ.ศ. 2517 - รองเสนาธิการทหารบก[9]
  • พ.ศ. 2518 - ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก[10]

การก่อกบฏ

แก้

ในเช้ามืดของวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 กำลังทหาร 1 กองร้อยในกรุงเทพฯ นำโดย พ.ต. อัศวิน หิรัญศิริ (บุตรชายของ พล.อ. ฉลาด) เข้ายึดศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก สวนรื่นฤดี เป็นกองบัญชาการ ในส่วนของ พ.ต. บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ กับ พ.ต. วิศิษฐ์ คงประดิษฐ์ นำกำลังทหารจากกาญจนบุรีเข้ามาสมทบตามแผน[4] หลังจากคณะผู้ก่อการที่นำโดย พล.อ. ฉลาด ได้ออกแถลงการณ์ฉบับแรก พล.ต. อรุณ ทวาทศิน ได้เเย่งปืนเอ็ม 16ไปจาก ร.ท. ชูชีพ ปานวิเชียร พล.อ. ฉลาด ได้สั่งให้ พล.ต. อรุณ วางปืนและเมื่อพูดจบเขาก็ใช้ปืนพกขนาด.38 ยิงใส่ พล.ต. อรุณไป 1 นัด เเต่หลังจาก พล.ต. อรุณถูกยิง มือของ พล.ต. อรุณ ยังถือปืนเอ็ม16อยู่ในท่าพร้อมยิง เขาจึงยิงใส่ พล.ต. อรุณอีก 3 นัดจนทรุดตัวลงกับพื้น หลังจากนั้นเขาก็เรียกรถพยาบาลให้นำ พล.ต. อรุณ ไปส่งโรงพยาบาล แต่ก็เสียชีวิตในเวลาต่อมา[11][12]

ช่วงสาย ฝ่ายรัฐบาลเริ่มควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ และออกประกาศแจ้งให้ประชาชนทราบสถานการณ์ พร้อมกับสั่งการให้นำกำลังทหารเข้าปิดล้อมกองบัญชาการของคณะรัฐประหารที่สวนรื่นฤดี โดยกำหนดแนวทางปฏิบัติว่า ทำอย่างไรก็ได้แต่ต้องไม่ให้เสียเลือดเนื้อ [4]

ตกบ่าย กำลังฝ่ายคณะรัฐประหารหมดทางสู้ กำลังทหารที่ออกไปยึดพื้นที่ต่าง ๆ เริ่มวางอาวุธมอบตัวกับฝ่ายรัฐบาล จนเหลือเฉพาะที่สวนรื่นฤดีที่ถูกล้อมด้วยกำลังรถถัง แต่ไม่มีการยิงต่อสู้กัน รัฐบาลจึงส่งตัวแทนเข้าเจรจา คือ พ.ต. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายทหารรุ่นเดียวกับ พ.ต. อัศวิน โดย พ.ต. สุรยุทธ์ แจ้งคณะรัฐประหารว่า พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด จะเป็นผู้แทนฝ่ายรัฐบาลมาเจรจาเพื่อทำข้อตกลง โดยรัฐบาลยื่นข้อเสนอให้ พล.อ. ฉลาด และพวกผู้ก่อการยอมแพ้ และจะให้ลี้ภัยไปอยู่ที่ไต้หวัน นายทหารของคณะรัฐประหาร ซึ่งประกอบด้วย[4]

  1. พล.อ. ฉลาด หิรัญศิริ
  2. พ.ต. สนั่น ขจรประศาสน์
  3. พ.ต. บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์
  4. พ.ต. วิศิษฐ์ คงประดิษฐ์
  5. พ.ต. อัศวิน หิรัญศิริ

ก็ออกจากสวนรื่นฤดีไปยังบ้านพัก พล.อ. ฉลาด ย่านลาดพร้าวเพื่อเตรียมตัวออกเดินทางไปไต้หวัน โดยจะขึ้นเครื่องบินที่สนามบินดอนเมือง แต่ว่าเครื่องบินกลับไม่เดินทาง ก่อนที่ผู้ก่อการทั้งหมดก็ถูกจับกุมเเละถูกดำเนินคดี ซึ่งพล.อ. ฉลาดถูกตัดสินประหารชีวิต ส่วน พ.ท. สนั่น ขจรประศาสน์, พ.ต. บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์, พ.ต. วิศิษฐ์ ควรประดิษฐ์ และพ.ต. อัศวิน หิรัญศิริ ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต แต่ภายหลังก็ได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคมของปีเดียวกัน[13][14][15][16]

เสียชีวิต

แก้

วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2520 เวลาประมาณ 14.00 น. เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงจึงได้เบิกตัว พล.อ. ฉลาด ออกจากแดนพิเศษไปยังห้องทำการแผนกควบคุม เขาได้ถามเชาวเรศน์ จารุบุศย์ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยง ในห้องทำการแผนกควบคุมว่า

"เชาวเรศน์ ญาติมาเยี่ยมผมเหรอ เขาอนุญาตให้เยี่ยมแล้วใช่ไหม"

เชาวเรศน์ก้มหน้าหลบสายตาของเขา และไม่ยอมตอบคำถาม พล.อ. ฉลาดจึงพูดกับเชาวเรศน์ว่า

"ถ้าวันนี้ ผมออกมาแล้วไม่ได้กลับเข้าไปในแดนอีก ผมฝากน้องนักศึกษาด้วยนะ" (นักศึกษาหมายถึงวิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ และอภินันท์ บัวหะภักดี)[17]

ในเวลา 14.20 น. หัวหน้าฝ่ายควบคุมกลางได้อ่านคำสั่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 21 แห่งรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2519 ให้เขาฟัง พล.อ. ฉลาดฟังด้วยควาสงบก่อนจะเอื้อมมือไปหยิบคำสั่งมาดูแล้วเซ็นรับทราบ[17]

พล.อ. ฉลาดได้เขียนพินัยกรรมลงในกระดาษจำนวน 4 แผ่น พล.อ. ฉลาด ปฎิเสธที่จะรับประทานอาหารมื้อสุดท้าย โดยขอดื่มน้ำส้ม 1 ขวด หรือบางแหล่งระบุว่าน้ำเย็นแก้วเดียว[17]

ในเวลา 14.50 น. พระมหาเจียม อุตฎรา ได้เทศนาธรรมเรื่อง "ผลแห่งกรรมที่ทุกคน ได้ก่อไว้ จะต้องได้รับผลกรรมนั้นตามสนอง" เขาได้รับฟังอย่างสงบ โดยในการเทศน์ใช้เวลาทั้งหมด 15 นาที หลังจากพระมหาเจียมเทศน์จบ เขากล่าวสาธุและก้มกราบ 3 ครั้ง ก่อนจะประเคนดอกไม้ธูปเทียนและเงินติดกัณฑเทศน์ถวายพระเป็นจำนวน 100 บาท เขายังได้ถอดนาฬิกาโอเมกาจากข้อมือแล้วพนมมือขึ้นเหนือหัวพร้อมกับอธิษฐานสักครู่ก่อนถวายให้แก่พระมหาเจียม ถัดจากนั้นเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงได้พาตัวของเขาไปยังสถานที่หมดทุกข์เพื่อทำการประหารชีวิต เขาเดินด้วยสีหน้าปกติและไม่มีอาการวิตกกังวลหรือหวาดกลัว เมื่อถึงศาลาแปดเหลี่ยม เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงจึงได้เข้าผูกตาของเขาเพื่อเตรียมเข้าสู่สถานที่ประหารชีวิต และเขาถามเชาวเรศน์ว่า "เชาวเรศน์...ไม่ต้องปิดตาผมได้มั้ย" เชาวเรศน์จึงตอบกลับว่า"ต้องขออภัยด้วยครับท่านเป็นระเบียบ ผมขออนุญาตครับท่าน" เขาจึงพูดว่า

"ถ้าอย่างนั้นเชาวเรศน์ก็ท่าตามหน้าที่เถอะนะ แต่ขออะไรส้กอย่าง ก่อนยิง ผมขอเป็นคนให้สัญญาณเอง ถ้าหากผมพร้อมเมื่อไหร่ จะเขย่าดอกไม้ในมือ" เชาวเรศน์จึงตอบตกลง[17]

โดยคำพูดสุดท้ายของ พล.อ. ฉลาด ระหว่างที่ประถม เครืองเพ่งซึ่งเป็นเพชฌฆาตกำลังเตรียมการประหารชีวิต คือ "ถ้าพร้อมแล้วบอกนะ" ก่อนจะยกมือกระดกขึ้นเพื่อเขย่าดอกไม้ในมือ หลังจากนั้นประถม เครื่องเพ่งได้เหนี่ยวไกปืนประหารชีวิต พล.อ. ฉลาด เมื่อเวลา 15.24 น.[17][18] ซึ่งเขาเป็นบุคคลล่าสุดที่ถูกประหารชีวิตด้วยข้อหากบฏในประเทศไทย[19][20][21][22]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้
  •   สหรัฐ:
  •   ลาว :
  •   เวียดนามใต้ :
    • พ.ศ. 2512 –   เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชาติเวียดนาม ชั้นที่ 3
    • พ.ศ. 2512 –   เครื่องอิสริยาภรณ์ราชการดีเด่นเวียดนาม ชั้นที่ 1 (ทหารเรือ)
    • พ.ศ. 2512 –   เหรียญรณรงค์เวียดนาม
    • พ.ศ. 2512 –   เหรียญบริการโยธาธิการ สื่อสาร และขนส่ง ชั้นที่ 1
    • พ.ศ. 2512 –   เหรียญเชิดชูเกียรติทหารผ่านศึก ชั้นที่ 1

ดูเพิ่ม

แก้

บรรณานุกรม

แก้
  • เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (2547). เพชฌฆาตคนสุดท้าย. กรุงเทพ: ดอกหญ้ากรุ๊ป. ISBN 974-924-446-X.

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดยศทหาร, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓๔ ง หน้า ๑๘๒๔, ๒๖ เมษายน ๒๕๒๐
  2. คณะทหารหนุ่ม (6) พล.อ.ฉลาด ‘ดาวรุ่ง’ แห่งกองทัพบก | บทความพิเศษ
  3. 40 ปี รัฐประหาร 26 มีนาคม (1) รำลึก “พลเอกฉลาด หิรัญศิริ” | สุรชาติ บำรุงสุข
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 “กบฏ เสธ. ฉลาด” ความพยายามรัฐประหารซ้อนหลัง 6 ตุลาฯ เหลวไม่เป็นท่าเพราะนัดแล้วไม่มา
  5. โรงเรียนเสนาธิการทหารบก, อดีตผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๘๗ ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๑ กันยายน ๒๕๐๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๘๓ หน้า ๒๙๗๗, ๒๗ กันยายน ๒๕๐๙
  8. กรมยุทธศึกษาทหารบก, ทำเนียบผู้บังคับบัญชาในอดีต
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๕๙ ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๒๕ กันยายน ๒๕๑๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๐๓ ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓๐ กันยายน ๒๕๑๘
  11. “กบฏ เสธ. ฉลาด” ความพยายามรัฐประหารซ้อนหลัง 6 ตุลาฯ เหลวไม่เป็นท่าเพราะนัดแล้วไม่มา
  12. อรุณ ทวาทศิน : วันดับกับเหตุการณ์ดุ[ลิงก์เสีย]
  13. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2520
  14. 26 มี.ค.2520 เหตุการณ์ที่นำมาสู่ การประหารชีวิตกบฏคนสุดท้าย!
  15. รัฐประหารซ้ำซ้อน ฉีก”รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย2519 (ฉบับที่ 11)EP.10
  16. สนั่น ขจรประศาสน์ ทหารกับการเมือง
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 เพชฌฆาตคนสุดท้าย, p. 76-92
  18. คณะทหารหนุ่ม (16) | ทำไมต้องประหาร พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ
  19. 26 มี.ค.2520 เหตุการณ์ที่นำมาสู่ การประหารชีวิตกบฏคนสุดท้าย!
  20. รัฐประหารซ้ำซ้อน ฉีก”รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย2519 (ฉบับที่ 11)EP.10
  21. คณะทหารหนุ่ม (16) | ทำไมต้องประหาร พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ
  22. ข้าพเจ้าเห็นการยิงเป้า
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๔
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๔๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๑๔
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๘๓๐, ๙ ธันวาคม ๒๔๘๔
  27. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  28. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๓๘ ง หน้า ๑๑๘๕, ๒๔ พฤษภาคม ๒๔๙๘
  29. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
  30. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๓
  31. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
  32. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐๕, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๘
  33. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๘๘๓, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๑
  34. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๕๑ ง หน้า ๒๓๕๑, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๖
  35. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๗๗๔, ๒๙ มีนาคม ๒๔๙๘
  36. AGO 1969-85 — HQDA GENERAL ORDER: MULTIPLE AWARDS BY PARAGRAPHS
  37. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๓ กรกฏาคม ๒๕๑๐