แกงเขียวหวาน เป็นอาหารไทยประเภทแกง ประกอบด้วยเนื้อ ปลา ไก่ หรือหมู และผัก ปรุงรสด้วยกะทิ มะเขือ น้ำตาล น้ำปลา ใบมะกรูด และใบโหระพา นิยมรับประทานกับข้าวสวยหรือขนมจีนน้ำพริกแกงมีสีเขียวเพราะใช้พริกขี้หนูสดสีเขียว บางท้องที่ใส่ใบพริกลงไปตำด้วย ในประเทศกัมพูชามีการรับแกงเขียวหวานไป เรียกว่า ซ็อมลอกะติ โดยมีลักษณะเป็นน้ำกะทิใส ๆ[1]

แกงเขียวหวาน
แกงเขียวหวานเสิร์ฟพร้อมโรตี
ประเภทเครื่องแกง
มื้ออาหารหลัก
แหล่งกำเนิดประเทศไทย
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักกะทิ, พริกแกงเขียว, น้ำตาลปี๊บ, น้ำปลา, ใบมะกรูด, โหระพา เนื้อสัตว์

ศัพทมูลวิทยา

แก้

คำว่า เขียว มาจากสีของแกงซึ่งได้จากพริกสีเขียว[2] ส่วนคำว่า หวาน ในที่นี้สื่อถึงลักษณะความเขียวของแกง ไม่ใช่รสชาติของแกง[3] เพราะแกงไทยชนิดนี้ทำมาจากกะทิและพริกสีเขียว สีของน้ำแกงที่ออกมาจึงเป็นสีเขียวอ่อนสดใส หรือ "เขียวหวาน"[4]

แกงเขียวหวานไม่มีส่วนผสมตายตัว และไม่ได้มีความหวานมากกว่าแกงไทยอื่น ๆ เสมอไป แต่มักมีความเผ็ดร้อนกว่าแกงแดง[4] แกงนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วง พ.ศ. 2451–2469[5]

การเสิร์ฟ

แก้

โดยทั่วไปมักกินแกงเขียวหวานเป็นกับข้าวร่วมกับอาหารชนิดอื่น ๆ ในมื้อหนึ่ง ๆ หรือกินกับขนมจีนเป็นอาหารจานเดียว[6]

ภาพ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. โสมเพ็ญ ขุทรานนท์ (3 กุมภาพันธ์ 2557). "รู้จักอาหารเขมรรู้นิสัยใจคอเพื่อนบ้าน". โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Easy Thai Green Curry, an Interview with Kasma Loha-unchit". SheSimmers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-27. สืบค้นเมื่อ 2021-11-22.
  3. "Authentic Thai Green Curry Paste, Krueang Kaeng Khiao Wan – Thai Curry Episode II". The High Heel Gourmet.
  4. 4.0 4.1 David Thompson, Thai Food (edition 2010), Pavilion Books, pages 218-220, ISBN 978-1-86205-514-8
  5. "แกงเขียวหวานเป็ดย่าง; Thai Green Curry with Roasted Duck and Young Chilies" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-10-04. สืบค้นเมื่อ 2016-10-04.
  6. "Khanom Jeen! - Austin Bush Photography". Austin Bush Photography. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-22. สืบค้นเมื่อ 2014-05-18.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้