อมร แนวมาลี
พลอากาศเอก อมร แนวมาลี (16 กันยายน พ.ศ. 2480 -) เป็นกรรมการกฤษฎีกา เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารอากาศของประเทศไทย[2] และอดีต สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
อมร แนวมาลี | |
---|---|
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2540 | |
ก่อนหน้า | พล.อ.อ. ม.ร.ว.ศิริพงษ์ ทองใหญ่ |
ถัดไป | พล.อ.อ. ธนนิตย์ เนียมทันต์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 กันยายน พ.ศ. 2480 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงวาสนา แนวมาลี |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพอากาศไทย |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก[1] |
บังคับบัญชา | ผู้บัญชาการทหารอากาศ กองทัพไทย |
ประวัติ
แก้พล.อ.อ. อมร เกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2480 เป็นบุตรชายของพล.อ. เล็ก แนวมาลีกับนางถวิล แนวมาลี[3] สมรสกับคุณหญิงวาสนา แนวมาลีมีบุตร-ธิดาด้วยกัน 2 คน คือนางนฤวร รมยะนันท์และนายรวิน แนวมาลี
การศึกษา
แก้- 2502 นักเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 5
- 2503 ศิษย์การบิน รุ่น น.27
- 2506 โรงเรียนการบินสหรัฐอเมริกา
- 2514 โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ 23
- 2519 โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง ณ สหรัฐอเมริกา
- 2519 โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ 20
- 2528 วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 19
- 2535 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 34
การทำงาน
แก้- 2524 ผู้บังคับการกองบิน 1
- 2526 ผู้ช่วยเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ
- 2528 ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารอากาศไทย ประจำกรุงลอนดอน
- 2531 รองเจ้ากรมกำลังพลทหารอากาศ
- 2531 ราชองครักษ์ประจำ กรมราชองครักษ์
- 2533 ผู้ช่วยสมุหราชองครักษ์
- 2535 หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารอากาศ
- 2535 เจ้ากรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ
- 2535 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศฝ่ายยุทธการ
- 2536 รองเสนาธิการทหารอากาศ
- 2537 เสนาธิการทหารอากาศ
- 2539 ผู้บัญชาการทหารอากาศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[6]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[7]
- พ.ศ. 2539 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[8]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[9]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[10]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[11]
- พ.ศ. 2539 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ ได้รับพระราชทานยศ
- ↑ Air Chief Marshal Amorn Naewmalee Commander-in-Chief, RTAF
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๕๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๑ มิถุนายน ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑๗, ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๕๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๒๙ มีนาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๕, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๔๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๒ ข หน้า ๖๓, ๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๙