กรมช่างอากาศ เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ ในส่วนส่งกำลังบำรุง โดยความรับผิดชอบหลักคือการทำให้เครื่องบินของกองทัพอากาศไทยพร้อมใช้งานตามเกณฑ์ของกองทัพอากาศเพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้ตามที่ได้มอบหมายจากกองทัพไทย โดยมีการดูแลกิจการหลัก 3 ระบบคือ การซ่อม สร้าง ดัดแปลงอากาศยาน การพัสดุช่างอากาศ และการพัสดุเชื้อเพลิง โดยเป็นงานด้านการบริหารงานซ่อมบำรุง ปฏิบัติและจัดการพัฒนาความรู้ กิจการต่าง ๆ ในสายวิทยาการด้านช่างอากาศ มีเจ้ากรมช่างอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

กรมช่างอากาศ
ประเทศ ไทย
รูปแบบกองทัพอากาศ
บทบาทส่งกำลังบำรุงสำหรับกองทัพอากาศไทย
คำขวัญรักศักดิ์ศรี มีจรรยาบรรณ มุ่งมั่นพัฒนา
วันสถาปนา19 เมษายน พ.ศ. 2465; 101 ปีก่อน (2465-04-19)
ผู้บังคับบัญชา
เจ้ากรมช่างอากาศพลอากาศโท เฉลิม เกตุรุ่ง
ผบ. สำคัญพลอากาศโท หลวงอธึกเทวเดช (บุญเจียม โกมลมิศร์)
พลอากาศโท ปอง มณีศิลป์
พลอากาศโท เฉลิม ชุ่มชื่นสุข
Aircraft flown
FighterGripen, F-16, F-5
เฮลิคอปเตอร์UH-1, Bell 412, S-92
ReconnaissanceLear 35A, Arava, Saab 340 AEW&C
TrainerAirtrainer, PC-9, DA42
TransportC-130, BT-67, Nomad, G222, Avro 748, ATR-72, 737-400/800, A319, A310

มีการแบ่งส่วนราชการเป็น 10 กองและ 1 แผนก มีข้าราชการสังกัดกว่า 3,000 คน กระจายอยู่ทั่วตามกองบินต่าง ๆ และกรมช่างอากาศ ที่บางซื่อ กรมช่างอากาศเป็นกรมที่ใหญ่ในส่วนส่งกำลังบำรุง และได้รับงบประมาณมากที่สุด ซึ่งกว่าครึ่งเป็นงบเชื้อเพลิง

นอกจากภารกิจหลักคือการซ่อมบำรุงอากาศยาน และพัสดุภาคพื้นเพื่อสนับสนุนภารกิจการบินแล้ว กรมช่างอากาศยังมีการประชาสัมพันธ์และจัดการแข่งขันเครื่องบินเล็ก รวมทั้งปัจจุบันมีการสร้าง เครื่องบินฝีกต้นแบบ (บ.ชอ.2) และการสร้าง บ.ทอ.๖ เพื่อใช้เป็นเครื่องบินฝึก, เครื่องบินธุรการ ต่อไป

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 พลอากาศโท[1] พงศ์สมิทธ์ สุขรวย​ ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมช่างอากาศ[2] พลอากาศตรี กฤษฎา เสียงก้อง และ พลอากาศตรี[3] ปราโมทย์ วันวาน[4] ดำรงตำแหน่งรองเจ้ากรมช่างอากาศ

ภารกิจ แก้

มีหน้าที่วางแผนการปฏิบัติอำนวยการ ประสานงาน ติดตาม กำกับดูแล พัฒนา และดำเนินการเกี่ยวกับกิจการ ช่างอากาศ รวมทั้งระบบ การพัสดุช่างอากาศ และการพัสดุเชื้อเพลิง กับมีหน้าที่จัดการความรู้ ควบคุม ประเมินผล และตรวจตรา กิจการในสายวิทยาการด้านช่างอากาศ มีเจ้ากรมช่างอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ[5]

การแบ่งส่วนราชการและหน้าที่ แก้

กองบังคับการ แก้

เป็นที่บริหารจัดการ และปกครองบังคับบัญชาของเจ้ากรมช่างอากาศ รวมทั้งอำนวยการ ประสานงาน ควบคุม กำกับการ และดำเนินการให้เป็นไปตามภารกิจของกรมช่างอากาศ แบ่งย่อยเป็น

  1. กองกำลังพล
  2. กองส่งกำลังบำรุง
  3. กองกรรมวิธีข้อมูล
  4. แผนกธุรการ
  5. แผนกยุทธการและการข่าว

แผนกการเงิน แก้

มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการเบิกเงิน การรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การบัญชีและหลักฐานประกอบบัญชีตลอดจนหลักฐานอื่น ๆ ในความรับผิดชอบ ให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ มีหัวหน้านายทหารการเงิน เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

กองวิทยาการ แก้

ภารกิจ มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดแผน และควบคุม การซ่อมบำรุง การกำหนด มาตรฐาน การแผนแบบ การค้นคว้า วิจัย ตรวจทดลอง ให้คำแนะนำและจัดทำเอกสารเทคนิค เผยแพร่วิทยาการ ตลอดจนตรวจตรากิจการในสายวิทยาการช่างอากาศ มีผู้อำนวนการกองวิทยาการเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ โดยมีหน่วยขึ้นตรง 1 กอง 6 แผนก และ 1 ฝ่าย ได้แก่

  1. กองการซ่อมบำรุง
  2. แผนกแผนแบบ
  3. แผนกวิศวการ
  4. แผนกวิจัยและตรวจทดลอง[6]
  5. แผนกวิทยาการ
  6. แผนกเอกสารเทคนิค
  7. แผนกบริหารกำลังพล
  8. ฝ่ายธุรการ

ที่ตั้ง เลขที่ 1 กรมช่างอากาศ ถนนประดิพัทธ์ แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ข้าราชการและลูกจ้างประมาณ 200 คน[7]

กองซ่อมอากาศยาน 1 แก้

มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการซ่อมบำรุง ดัดแปลง แก้ไข และประกอบปรับอากาศยาน มีผู้อำนวยการกอง กองซ่อมอากาศยาน 1 เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

กองซ่อมอากาศยาน 2 แก้

มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการซ่อมบำรุง ดัดแปลง แก้ไข ประกอบปรับอากาศยาน ของกองทัพอากาศ และส่วนราชการอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งการกู้อากาศยานประสบภัย มีผู้อำนวยการกอง กองซ่อมอากาศยาน 2 เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

กองซ่อมเครื่องยนต์ แก้

มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการซ่อมบำรุง ดัดแปลง แก้ไข ประกอบปรับเครื่องยนต์อากาศยาน เครื่องยนต์บริภัณฑ์ภาคพื้น และภาคอากาศ มีผู้อำนวยการกอง กองซ่อมเครื่องยนต์เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

กองซ่อมบริภัณฑ์ แก้

มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการซ่อมบำรุง ดัดแปลง แก้ไข ประกอบปรับ บริภัณฑ์อากาศยาน และบริภัณฑ์ภาคพื้น รวมทั้งการผลิตก๊าซ และการกู้อากาศยานประสบภัย มีผู้อำนวยการกอง กองซ่อมบริภัณฑ์ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

กองโรงงาน แก้

มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการซ่อม สร้าง ผลิต ประกอบ ติดตั้ง ดัดแปลงแก้ไขอากาศยาน เครื่องยนต์ และบริภัณฑ์มีผู้อำนวยการกอง กองโรงงาน เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

กองพัสดุช่างอากาศ แก้

มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหา จัดซื้อจัดจ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ควบคุมและจำหน่าย เบิกจ่าย ตรวจสอบ ยืม สะสม และบริการพัสดุสายช่างอากาศ มีผู้อำนวยการกอง กองพัสดุช่างอากาศ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

กองพัสดุเชื้อเพลิง แก้

มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาความต้องการ การสะสม เก็บรักษา ควบคุม แจกจ่าย ตรวจสำรวจ จำหน่าย บริการ และซ่อมบำรุงอุปกรณ์พัสดุเชื้อเพลิง มีผู้อำนวยการกอง กองพัสดุเชื้อเพลิง เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ โดยมีหน่วยขึ้นตรง 8 แผนก และ 1 ฝ่าย ได้แก่

  1. แผนกควบคุมพัสดุเชื้อเพลิง
  2. แผนกจัดดำเนินงาน
  3. แผนกตรวจสำรวจ
  4. แผนกบริการพัสดุเชื้อเพลิง
  5. แผนกคลังเชื้อเพลิงที่ 1
  6. แผนกคลังเชื้อเพลิงที่ 2
  7. แผนกคลังเชื้อเพลิงที่ 3
  8. แผนกคลังเชื้อเพลิงที่ 4
  9. ฝ่ายธุรการ

กองบริการ แก้

มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจให้กับหน่วยภายในของ กรมช่างอากาศ มีหัวหน้ากอง กองบริการ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

ประวัติ แก้

 
พันเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ (หลง สินศุข):เจ้ากรมช่างอากาศคนแรก

กิจการการบินของประเทศไทยได้ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งมีพระบรมราโชบายทำนุบำรุงกิจการทหารอย่างจริงจัง และ ทรงตระหนัก ถึงความจำเป็นทีประเทศไทยจะต้องมีเครื่องบินไว้ป้องกันภัย ที่จะบังเกิดแก่ชาติ ด้วยเหตุนี้ กระทรวงกลาโหมจึงได้จัดตั้ง แผนกการบินกองทัพบกอยู่ใน บังคับบัญชาของจเรทหารช่าง คือ นายพลโทพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุน กำแพงเพชรอัครโยธิน จนกระทั่งปีพ.ศ. 2480 แผนกการบิน ได้ยกฐานะเป็น กองทัพอากาศขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม เวลาต่อมาส่วนโรงงานของกรมอากาศยานได้ยกฐานะเป็น กองโรงงานกรมช่างอากาศ เมื่อ 19 เมษายน พุทธศักราช 2465 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมช่างอากาศ

เดือนธันวาคม พ.ศ. 2456 กระทรวงกลาโหมได้จัดตั้ง “แผนกการบิน” ขึ้นตรงต่อจเรทหารช่างและ เสนาธิการทหารบก โดยมีส่วนขึ้นตรงคือ นักบิน และโรงงาน (ซึ่งโรงงานนี้ ต่อไปจะเป็น กรมช่างอากาศ)

27 มี.ค. 2457 แผนกการบินยกฐานะเป็น“กองบินทหารบก”โรงงานจึงขึ้นตรงต่อกองบินทหารบก (27 มี.ค. 2457 เป็นวันที่กระทรวงกลาโหมออกคำสั่งตั้งเป็นกองบินทหารบก ซึ่งเริ่มเป็นปึกแผ่นแล้วจึงนับถือวันนี้เป็นวันสถาปนากองทัพอากาศ)

19 มี.ค. 2461 ยกฐานะจาก “กองการบินทหารบก” เป็น กรมอากาศยานทหารบก โรงงาน จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงงานกรมอากาศยานทหารบก"

1 ธ.ค. 2464 เปลี่ยน ชื่อจาก กรมอากาศยานทหารบก เป็น กรมอากาศยาน เนื่องจาก กห. พิจารณาเห็นว่ากำลังทางอากาศ มิได้เป็นกำลังเฉพาะในด้านยุทธศาสตร์ทางทหารเท่านั้น แต่มีประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อกิจการด้านอื่นๆ เช่นการพาณิชย์ และการคมนาคม เป็นต้น โรงงานจึงเปลี่ยนชื่อเป็น โรงงานของกรมอากาศยาน

19 เม.ย. 2465 ได้มีการจัดส่วนราชการของกรมอากาศยานใหม่ โดย โรงงานของกรมอากาศยาน ยกฐานะเป็น “กองโรงงานกรมอากาศยาน” ตั้งอยู่ที่ดอนเมือง ทางด้านตะวันตกของสนามบิน มีหน้าที่อำนวยการบริการการบินทั่วไปสร้างเครื่องบินตามแบบของต่างประเทศ บูรณะซ่อมแซมเครื่องบิน และเครื่องยนต์ให้พร้อมที่จะปฏิบัติการได้เสมอซึ่งวันนี้ถือเป็นวันที่ก่อตั้ง กรมช่างอากาศ เป็นต้นมา

พ.ศ. 2473 ได้ย้ายหน่วยงานจากที่ตั้งดอนเมืองมาอยู่ที่ บางซื่อ และเริ่มทำการผลิตเครื่องบินให้ข้าราชการ ในขั้นจัดเป็นสายการผลิต

12 เม.ย. 2478 เปลี่ยนชื่อจาก กองโรงงานกรมอากาศยาน เป็น “กองโรงงานกรมทหารอากาศ”

9 เม.ย. 2480 กรมทหาอากาศยกฐานะเป็น“กองทัพอากาศ”ดังนั้นกองโรงงานกรมทหารอากาศจึงได้ยกฐานะเป็น“กรมโรงงานทหารอากาศ”ขึ้นต่อตรงกองทัพอากาศ

พ.ศ. 2491 เปลี่ยนชื่อจาก กรมโรงงานทหารอากาศ เป็น กรมช่างอากาศ ขึ้นตรงต่อกองทัพอากาศ

ต.ค. 2539 กรมช่างอากาศ จัดอยู่ในสายยุทธบริการ 11 หน่วย ซึ่งอยู่ในสายการบังคับบัญชา ของกองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ หรือเรียกตามคำย่อว่า บนอ. ขึ้นตรงต่อกองทัพอากาศ

1 เม.ย.2552 กองทัพอากาศ ได้ปรับโครงสร้างใหม่ กรมช่างอากาศ จัดอยู่ในสายยุทธบริการ ขึ้นตรงกับกองทัพอากาศ มีหน้าที่วางแผนการ ปฏิบัติ อำนวยการ ประสานงาน ติดตาม กำกับการพัฒนาและดำเนินการเกี่ยวกับกิจการช่างอากาศ และการพัสดุเชื้อเพลิง กับมีหน้าที่จัดการความรู้ ควบคุม ประเมินผล และตรวจตรากิจการในสายวิทยาการด้านช่างอากาศ โดยมี 10 กอง และ 1 แผนกขึ้นตรง และมีเจ้ากรมช่างอากาศเป็นผู้บังคับ บัญชารับผิดชอบ[8]

ทำเนียบผู้บังคับบัญชา แก้

ระยะเวลา ชื่อและภาพ
9 มี.ค. 2461 – 10 ก.ค. 2472 พันเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ (หลง สินศุข)
10 ก.ค. 2472 – 21 ธ.ค. 2476 พันเอก พระยาทะยานพิฆาต (ทิพย์ เกตุทัต)
22 ธ.ค. 2476 – 11 เม.ย. 2484 พลอากาศโท หลวงอธึกเทวเดช (เจียม โกมลมิศร์)
12 เม.ย. 2485 – 31 ธ.ค. 2496 พลอากาศโท เพิ่ม ลิมปิสวัสดิ์
มี.ค. 2497 – พ.ย. 2500 พลอากาศตรี โอบศิริ วิเศษสมิต
7 ธ.ค. 2500 – 30 ก.ย. 2508 พลอากาศโท สวน สุขเสริม
1 ต.ค. 2508 – 30 ก.ย. 2518 พลอากาศโท สุนทร สุนทรากูล
1 ต.ค. 2518 – 30 ก.ย. 2522 พลอากาศโท ศิระ อิศรางกูล ณ อยุธยา
11 ต.ค. 2522 – 30 ก.ย. 2524 พลอากาศโท เฉลิม จิตินันทน์
1 ต.ค. 2524 – 30 ก.ย. 2528 พลอากาศโท วิจิตร ช่วงโชติ
1 ต.ค. 2528 – 30 ก.ย. 2529 พลอากาศโท บัญญัติ วงษ์ทองสุข
1 ต.ค. 2529 – 30 ก.ย. 2531 พลอากาศโท ลิขิต สุวรรณทัต
1 ต.ค. 2530 – 30 ก.ย. 2533 พลอากาศโท ทองล้วน วิเศษพจนกิจ
1 ต.ค. 2533 – 30 ก.ย. 2535 พลอากาศโท เกษม ทวีวัฒน์
1 ต.ค. 2535 – 30 ก.ย. 2537 พลอากาศโท บุญฉันท์ พันตาวงศ์
1 ต.ค. 2537 – 30 ก.ย. 2541 พลอากาศโท นพพร จันทรวานิช
1 ต.ค. 2541 – 30 ก.ย. 2542 พลอากาศโท ปอง มณีศิลป์
1 ต.ค. 2542 – 30 ก.ย. 2543 พลอากาศโท เฉลิม ชุ่มชื่นสุข
1 ต.ค. 2543 – 30 ก.ย. 2545 พลอากาศโท เสถียร ศรีรัฐ
1 ต.ค. 2545 – 30 ก.ย.2548 พลอากาศโท ณัฐพงศ์ เอี่ยมธรรมชาติ
1 ต.ค. 2548 – 30 ก.ย.2551 พลอากาศโท สุพสร เกษรมาลา
1 ต.ค. 2551 – 31 มี.ค.2554 พลอากาศโท จำลอง เขมะประภา
30 มี.ค. 2554 – 30 ก.ย.2555 พลอากาศโท อานนท์ วิรัชกุล
1 ต.ค.2555 – 30 ก.ย.2556 พลอากาศโท ธรรมนิตย์ สิงห์คะสะ
1 ต.ค. 2556 – 30 ก.ย.2557 พลอากาศโท บุญสืบ ประสิทธิ์
1 ต.ค. 2559 - 31 มี.ค. 2560 พลอากาศโท ปัทม สุทธิสรโยธิน
1 เม.ย. 2560 – 30 ก.ย.2560 พลอากาศโท หม่อมหลวงเทพสฤษดิ์ เทวกุล[9]
1 ต.ค.2560 – 30 ก.ย.2562 พลอากาศโท อภิรุม จันทรกุล
1 ต.ค.2562 – 31​ มี.ค.2564 พลอากาศโท ภาณุวัชร์ เปี่ยมศรี
1​ เม.ย.2564​ -​ 31 มี.ค.2565​ พลอากาศโท​ กิจสม​ พันธ์​ุโกศล
1 เม.ย.2565 - ปัจจุบัน พลอากาศโท เฉลิม เกตุรุ่ง

ที่ตั้ง แก้

กรมช่างอากาศ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1 ถนนประดิพัทธิ์ แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ใกล้กรมการทหารสื่อสาร, กรมการขนส่งทหารบก และกรมสรรพาวุธทหารบก นอกจากนี้อยู่ใกล้สำนักงานใหญ่บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), สวนจตุจักร และสถานีรถไฟบางซื่อ

  • การเดินทางทางบก มีรถประจำทางสาย 3, 52, 67, 97, 117, 524 ผ่าน
  • การเดินทางทางรถไฟ ลงรถไฟที่สถานีบางซื่อ
  • การเดินทางทางรถไฟฟ้าใต้ดิน ลงรถไฟที่สถานีบางซื่อ
  • การเดินทางทางเรือ สามารถลงเรือที่ท่าเกียกกายและต่อรถอีกประมาณ 0.7 กิโลเมตร

ขีดความสามารถการซ่อมบำรุงอากาศยานที่ประจำการ แก้

เครื่องบินขับไล่/โจมตี (บ.ข./บ.จ.) แก้

ผู้ผลิต แบบอากาศยาน ประเทศ ภารกิจ ขีดความสามารถการซ่อมบำรุง
Saab JAS-39C/D Gripen   สวีเดน ขับไล่อเนกประสงค์/โจมตีทางทะเล/ฝึก สามารถทำการตรวจและซ่อมบำรุงได้ทุกระดับ ยกเว้นการ overhaul เครื่องยนต์
Lockheed Martin F-16A/B block15 ADF   สหรัฐ ขับไล่อเนกประสงค์/โจมตี/ฝึก สามารถทำการตรวจและซ่อมบำรุงได้ทุกระดับ ยกเว้นการ overhaul เครื่องยนต์
Lockheed Martin F-16A/B block15 OCU   สหรัฐ ขับไล่อเนกประสงค์/โจมตี/ฝึก สามารถทำการตรวจและซ่อมบำรุงได้ทุกระดับ ยกเว้นการ overhaul เครื่องยนต์
Northrop F-5T Tigris   สหรัฐ ขับไล่สกัดกั้น/โจมตี/ฝึก กรมช่างอากาศ สามารถทำการตรวจและซ่อมบำรุงได้ทุกระดับ (ทั้งเครื่องบินและเครื่องยนต์) และยังสามารถปรับปรุงขีดความสามารถได้อีกด้วย
Northrop F-5E   สหรัฐ ขับไล่สกัดกั้น/โจมตี/ฝึก กรมช่างอากาศ สามารถทำการตรวจและซ่อมบำรุงได้ทุกระดับ (ทั้งเครื่องบินและเครื่องยนต์) และยังสามารถปรับปรุงขีดความสามารถได้อีกด้วย
Aero L-39ZA/ART Albatros   เช็กเกีย โจมตี/ฝึกขั้นก้าวหน้า สามารถทำการตรวจและซ่อมบำรุงได้ทุกระดับ ยกเว้นการ overhaul เครื่องยนต์
Dornier Alpha Jet   เยอรมนี โจมตี
Pilatus Aircraft AU-23A Peacemaker   สวิตเซอร์แลนด์ โจมตี/ตรวจการณ์ถ่ายภาพ/ธุรการ
Korea Aerospace Industry T-50TH เกาหลีใต้ โจมตี/ฝึกขั้นก้าวหน้า

เครื่องบินลำเลียง (บ.ล.) แก้

ผู้ผลิต แบบอากาศยาน ประเทศ ภารกิจ ขีดความสามารถการซ่อมบำรุง
Lockheed Corporation C-130   สหรัฐ ลำเลียงทางยุทธวิธี
Basler Turbo Conversions BT-67   สหรัฐ ลำเลียงทางยุทธวิธี
Saab SAAB340   สหราชอาณาจักร ลำเลียง
Airbus A320-214 CJ-WL   สหภาพยุโรป รับส่งบุคลลสำคัญ
Airbus A319-115X CJ   สหภาพยุโรป รับส่งบุคลลสำคัญ
Airbus A340-541   สหภาพยุโรป รับส่งบุคลลสำคัญ
ATR ATR-72-500   สหภาพยุโรป ลำเลียง
Sukhoi SSJ100-95LR สหพันธรัฐรัสเซีย รับส่งบุคคลสำคัญ

เครื่องบินตรวจการณ์ (บ.ต.) แก้

ผู้ผลิต แบบอากาศยาน ประเทศ ภารกิจ ขีดความสามารถการซ่อมบำรุง
Diamond Aircraft Industries DA42 MPP   ออสเตรีย ตรวจการณ์
Israel Aircraft Industries IAI Arava   อิสราเอล ตรวจการณ์
Saab Saab 340 with ERIEYE   สวีเดน ตรวจการณ์ / แจ้งเตือนล่วงหน้า
Piaggio Avanti P.180 อิตาลี ตรวจการณ์

เฮลิคอปเตอร์(ฮ.) แก้

ผู้ผลิต แบบอากาศยาน ประเทศ ภารกิจ ขีดความสามารถการซ่อมบำรุง
Bell Helicopter Textron UH-1 Iroquois   สหรัฐ ค้นหากู้ภัย / ลำเลียงทั่วไป สามารถทำการตรวจและซ่อมบำรุงได้ทุกระดับ ยกเว้นการ overhaul เครื่องยนต์
Bell Helicopter Textron Bell 412/HP/EP   สหรัฐ
  แคนาดา
รับ-ส่งเสด็จฯ/ค้นหาและช่วยชีวิต สามารถทำการตรวจและซ่อมบำรุงได้ทุกระดับ ยกเว้นการ overhaul เครื่องยนต์
Sikorsky Aircraft Corporation Sikorsky S-92   สหรัฐ รับ-ส่งเสด็จฯ/พยาบาลVVIP สามารถทำการตรวจและซ่อมบำรุงได้ทุกระดับ ยกเว้นการ overhaul เครื่องยนต์

เครื่องบินฝึก (บ.ฝ.) แก้

ผู้ผลิต แบบอากาศยาน ประเทศ ภารกิจ ขีดความสามารถการซ่อมบำรุง
Pacific Aerospace PAC CT/4   นิวซีแลนด์ ฝึกขั้นต้น บริษัทอุตสาหกรรมการบิน (TAI) เป็นผู้ดูแลทั้งเครื่องบินและเครื่องยนต์
Pilatus Aircraft PC-9   สวิตเซอร์แลนด์ ฝึกขั้นปลาย บริษัทอุตสาหกรรมการบิน (TAI) เป็นผู้ดูแลทั้งเครื่องบินและเครื่องยนต์
กองทัพอากาศไทย บ.ชอ.2   ไทย ฝึกขั้นต้น/ธุรการ/ต้นแบบ กรมช่างอากาศ ดูแลการซ่อมบำรุงทั้งหมด
กองทัพอากาศไทย บ.ทอ.6   ไทย ฝึกขั้นต้น/ธุรการ/ต้นแบบ กรมช่างอากาศ ดูแลการซ่อมบำรุงทั้งหมด
Diamond Aircraft Industries DA42 Twin Star   ออสเตรีย ฝึกขั้นปลาย
Cessna T-41   สหรัฐ ฝึกขั้นต้น

ผลงานที่สำคัญในอดีต แก้

24 พฤษภาคม 2458 สร้างเครื่องบินแบบ เบรเกต์ ชนิดปีก 2 ชั้น เป็นผลสำเร็จ โดย พันโท พระเฉลิมอากาศ ผู้บังคับการ กองบินทหารบก ได้ทำการบิน ในระดับความสูงประมาณ 100 เมตร

12 พฤษภาคม 2464 สร้างเครื่องบินนิออร์ปอร์ท และทำการบินได้สำเร็จ จำนวน 4 เครื่อง โดยได้ใช้พันธุ์ไม้ที่เกิดในประเทศไทยในการสร้าง ลำตัว ปีก หางและใบพัดของเครื่องบิน

ปี พ.ศ. 2470 ได้ทำการออกแบบและสร้างเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ บ.ท.2 ซึ่งต่อมาได้ชื่อเป็น เครื่องบินบริพัตร เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดสัญชาติไทย 2 ที่นั่ง ปีก 2 ชั้น ใช้เครื่องยนต์จูปิเตอร์ 400-600 แรงม้า 1 เครื่อง โดยในปี พ.ศ. 2472 ได้บินเดือนทางไปเยือนประเทศอินเดีย และในปี 2473 ได้บินไป ฮานอย ประเทศเวียดนาม ปัจจุบันได้ตั้งแสดง ตัวอย่างให้ชม ที่บริเวณช่องทางเข้า สโมสรนายทหารอากาศ บางซื่อ[10]

ปี พ.ศ. 2472 ได้ออกแบบ และสร้างเครื่องบินขับไล่ แบบ ข.5 ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "เครื่องบินประชาธิปก" ตามพระนาม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานชื่อไว้ นับเป็นเครื่องบินแบบที่สองที่ออกแบบและสร้างเองโดยคนไทย

15 มิถุนายน 2472 สร้างเครื่องบินนิออร์ปอร์ท โดยใช้เครื่องยนต์ เลอโรน 80 แรงม้า 1 เครื่อง

ปี 2490 พัฒนาการสร้าง บ.ทอ.2 ดัดแปลงชุดหางจากบ. สื่อสารแบบที่ 5 ซึ่งเดิมเป็น V TYPE ให้เป็นแบบใช้ แพนหางดิ่ง และแพนหางระดับ,แผนแบบ บ.ทอ.3 และผลิตหุ่น จำลอง ขนาด 1:6 ไปทดลองที่ประเทศญี่ปุ่น, บ.ทอ.4 ใช้แบบจากบ.ฝึกแบบที่ 9 โดยเปลี่ยนเครื่องยนต์ และแผ่นโครงสร้างบริเวณปีก และลำตัว จำนวน 12 เครื่อง เข้าประจำการ กองทัพอากาศเป็น บ.ฝึก แบบ 17

23 กุมภาพันธ์ 2514 พัฒนาเครื่องบิน แบบ บ.ทอ.4 เป็นเครื่องบินแบบฝึก ปีกชั้นเดียว 2 ที่นั่งตามกัน ฐานพับเก็บไม่ได้ ใช้เครื่องยนต์ คอนติเนนตัลไอโอ-360 ดี กำลัง 210 แรงม้า จำนวน 12 เครื่อง โดยกรมช่างอากาศได้ทำการสร้างชิ้น ส่วนย่อย ๆเป็นจำนวน 567 ชิ้น สร้าง GIC และเครื่องมือแบบขึ้นรูปต่างๆ 266 ชิ้น ใช้ชั่วโมงคน 8,530 ชั่วโมงคน ทำการบินครั้งแรกเมื่อ 25 กันยายน 2515 ใช้เวลาประมาณ 18 เดือน นับจากเริ่มโครงการ

ในปี 2517 แผนแบบ ด้านโครงสร้าง และอากาศพลศาสตร์ บ.ทอ.5 โดยสร้างหุ่นจำลอง ขนาด 1:6 ไปทำการทดลองที่ประเทศออสเตรเลีย

ในปี 2526 สร้างเครื่องบิน FANTRINER โดยร่วมกับ บริษัท RHEIN FLUGZEUGBAU GMBH จากประเทศเยอรมันและได้บรรจุเข้าประจำการกองทัพอากาศ เป็น บ. ฝึกแบบ 18/ก (FT 400 และ FT 600) จำนวน 20 เครื่อง[11]

ในปี 2542 ได้ออกแบบสร้างและติดตั้งอุปกรณ์ดับไฟป่า บน บ.ล.2ก เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการบิน ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค

ในปี 2549 กรมช่างอากาศ ได้จัดทำโครงสร้าง บ.ทอ.6 ขึ้น โดยได้ทำโครงสร้าง บ.ชอ.2 ขี้นก่อน จำนวน 1 เครื่อง โดยเป็นการ reverse engineering จากเครื่องบินแบบ Marchetti และ บ.ชอ.2 ได้ทำการบินเมื่อ เดือนกันยายนปี 2550 ปัจจุบันได้ทำการเตรียมพร้อมสำหรับเที่ยวบินแรกของเครื่องบิน กองทัพอากาศแบบที่ 6 ปัจจุบัน บรรจุราชการในกองทัพอากาศ จำนวน 3 เครื่อง

ในปี 2553 กองทัพอากาศ โดยกรมช่างอากาศ ได้สนับสนุนงบประมาณงานวิจัยให้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ในโครงการ การสังเคราะห์น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานสำหรับอากาศยานของกองทัพอากาศ โดยโครงการจะมุ่งเน้นการศึกษาและผลิตเชื้อเพลิงไบโอเจ็ท ในระดับแล็บสเกลเพื่อทดสอบคุณสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้ มุ่งเน้นกระบวนการในการผลิตทั้งหมดสองกระบวนการ คือ น้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์โดยกระบวนการ ฟิชเชอร์-ทรอปซ์(Fischer-Tropsch Synthetic Fuel)และ การสังเคราะห์ด้วยกระบวนการแตกตัวด้วยไฮโดรเจนของพลังงานเชื้อเพลิงหมุนเวียนกลุ่มน้ำมันจากพืช (Hydro-treated Renewable Jet fue, HRJ from Plant Oil)[12]

งานโครงการที่สำคัญ แก้

  1. โครงการ Falcon Star ของเครื่องบิน F-16 ทั้ง 3 ฝูงบิน จำนวน 57 เครื่อง เป็นเวลา 52 เดือน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2550- มีนาคม 2554 เป็นการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อให้เครื่องบินสามารถทำการบินได้ถึง 8,000 ชม.บิน
  2. โครงการ PDM + Avionics Upgrade (AUP) สำหรับเครื่องบินลำเลียง C-130 จำนวน 6 เครื่องบิน เวลา 35 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550- กันยายน 2553 โครงการนี้เป็นโครงการซ่อมใหญ่และปรับปรุงโครงสร้าง
  3. โครงการ ECTM (Engine Condition Trend Monitor) สำหรับเครื่องบินลำเลียง C-130 จำนวน 12 เครื่องบิน ทยอยดำเนินการดัดแปลงเมื่อ บ.ไม่ติดภารกิจ
  4. โครงการ PDM สำหรับเครื่องบินขับไล่ฝึก L-39 จำนวน 26 เครื่องบิน เวลา 59 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2553- กรกฎาคม 2558 โครงการนี้เป็นโครงการซ่อมใหญ่และปรับปรุงโครงสร้าง

อ้างอิง แก้

  1. โปรดเกล้าฯ "พระราชทานยศทหารชั้นนายพล" จำนวน 530 ราย ประกาศลงราชกิจจาฯ
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ". ราชกิจจานุเบกษา. 2022-09-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-12. สืบค้นเมื่อ 2022-09-10.
  3. โปรดเกล้าฯ "พระราชทานยศทหารชั้นนายพล" จำนวน 530 ราย ประกาศลงราชกิจจาฯ
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ". ราชกิจจานุเบกษา. 2022-09-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-12. สืบค้นเมื่อ 2022-09-10.
  5. "website กรมช่างอากาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-13. สืบค้นเมื่อ 2011-04-22.
  6. แผนกวิจัยและตรวจทดลอง http://www.research.dae.mi.th เก็บถาวร 2016-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. "กองวิทยาการ กรมช่างอากาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-27. สืบค้นเมื่อ 2011-04-27.
  8. "กรมช่างอากาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-03. สืบค้นเมื่อ 2011-04-22.
  9. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/075/1.PDF
  10. "กรมช่างอากาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-03. สืบค้นเมื่อ 2011-04-22.
  11. "กรมช่างอากาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-03. สืบค้นเมื่อ 2011-04-22.
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-05.