กองบิน 1 นครราชสีมา

ส่วนกำลังรบ หน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศไทย

กองบิน 1 (อังกฤษ: Wing 1 Royal Thai Air Force) เป็นกองบินขับไล่สกัดกั้นยุทธวิธี อยู่ในส่วนกำลังรบและเป็นหน่วยขึ้นตรงของกองทัพอากาศไทย[1] ประจำการอยู่ที่ฐานบินโคราช ตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2479[1]

กองบิน 1
กองทัพอากาศไทย
ประจำการกองบินใหญ่ทหารบกที่ 1 (พ.ศ. 2461–2464)
กองโรงเรียนการบินที่ 1 (พ.ศ. 2464–2479)
กองบินน้อยที่ 1 (พ.ศ. 2479–2506)
กองบิน 1 (พ.ศ. 2506–ปัจจุบัน)
ประเทศ ไทย
เหล่าFlag of the กองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศไทย
รูปแบบกองบิน
บทบาทกองบินขับไล่สกัดกั้นยุทธวิธี
ขึ้นกับส่วนกำลังรบ กองทัพอากาศไทย
กองบัญชาการฐานบินโคราช, ตำบลหนองไผ่ล้อม, อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
สัญลักษณ์นำโชคพยัคฆ์
วันสถาปนา15 เมษายน พ.ศ. 2479; 88 ปีก่อน (2479-04-15)
ปฏิบัติการสำคัญกรณีพิพาทอินโดจีน
สงครามมหาเอเชียบูรพา
กบฏแมนฮัตตัน
การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
สมรภูมิบ้านร่มเกล้า
อิสริยาภรณ์สายยงยศไหมเขียว
เว็บไซต์wing1.rtaf.mi.th
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันนาวาอากาศเอก พิชญาณ อะสีติรัตน์
เครื่องหมายสังกัด
ตราสัญลักษณ์กองบิน 1

ประวัติ

แก้

กองบิน 1 มีจุดเริ่มต้นมาจากการก่อตั้ง กองบินใหญ่ทหารบกที่ 1 ในปี พ.ศ. 2461 ขึ้นการบังคับบัญชากับ กรมอากาศยานทหารบก ประจำการเครื่องบินแบบ นิวเออร์ปอร์ต และแบบสปัด ตั้งอยู่ที่ฝั่งตะวันตกของฐานทัพอากาศดอนเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2464 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองโรงเรียนการบินที่ 1 และมีพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2479 เปลี่ยนชื่อเป็น กองบินน้อยที่ 1 ซึ่งปัจจุบันได้ยึดถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนากองบิน มีเครื่องบินประจำการอยู่ 4 แบบ คือ แอฟโร 504เอ็น (บ.ฝ.4) นิเออร์ปอรท์ เดอลาจ (บ.ข.4) เคอร์ติสฮอว์ค 2 (บ.ข.9) และเคอร์ติสฮอว์ค 3 (บ.ข.10)[2]

กรณีพิพาทอินโดจีน

แก้

จากนั้นในกรณีพิพาทอินโดจีน พ.ศ. 2483 กองบินน้อยที่ 1 ได้แบ่งกองบินออกเป็นฝูงบินออกเป็นฝูงบินอิสระไปปฏิบัติการในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความกล้าหาญและได้รับคำชมเชย ได้รับการประดับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ "สายยงยศไหมเขียว"[2]

สงครามมหาเอเชียบูรพา

แก้

จากนั้นไม่ได้ฝูงบินได้ร่วมเข้าปฏิบัติการผสมกับกองบินใหญ่ ร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยมีวีรกรรมที่โดดเด่น คือการนำเครื่องบิน 5 เครื่องขึ้นต่อสู้กับเครื่องบินของข้าศึก 21 เครื่องเหนือนครลำปาง[2]

เหตุการณ์ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ฝูงบินโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตรจำนวนกว่า 21 เครื่อง ประกอบไปด้วย เครื่องบินแบบ พี-51 (มัสแตง) และเครื่องบินแบบ พี-38 (ไลท์นิ่ง) เข้าปฏิบัติการและโจมตีในพื้นที่สนามบินลำปาง โดยกองบินใหญ่ผสมภาคพายัพได้ส่งฝูงบินขับไล่แบบโอตะ (บ.ข.12) จำนวน 5 เครื่องขึ้นสกัดกั้น นำโดย เรืออากาศเอก เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร, พันจ่าอากาศเอก จุลดิศถ์  เดชกุญชร, พันจ่าอากาศเอก วาสน์  สุนทรโกมล และจ่าอากาศเอก ธาดา เบี้ยวไข่มุก เป็นนักบิน โดยฝ่ายไทยสามารถสร้างความเสียหายให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยการยิงเครื่องบินตก 4 ลำ ขณะที่ฝ่ายไทยถูกยิงทั้ง 5 เครื่อง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตระหว่างการรบคือ พันจ่าอากาศเอก วาสน์  สุนทรโกมล นักบิน และเกือบเสียผู้บังคับฝูงบิน คือ เรืออากาศเอก เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร ที่ถูกยิงที่ขากระสุนฝังในตกลงมาพร้อมกับเครื่อง และถูกช่วยเหลือโดยราษฎร์ออกมาจากตัวเครื่องก่อนที่เครื่องจะระเบิด จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้กองบัญชาการทหารสูงสุดได้ขอพระราชทานเหรียญกล้าหาญให้กับนักบินและพลปืนทุกคนในเหตุการณ์นี้[2]

สงครามเย็น

แก้

ในปี พ.ศ. 2491 กองบินน้อยที่ 1 ได้ส่งอากาศยานแบบนาโกยา (บ.จ.2) จำนวน 3 เครื่องไปประจำการที่สนามบินสงขลาเพื่อปราบปรามโจรจีนคอมมิวนิสต์[2]

กองบินน้อยที่ 1 ได้มีส่วนร่วมในการปราบกบฏแมนฮัตตันด้วยการส่งอากาศยานจากฝูงบิน 2 และ 3 คือเครื่องบินสปิดไฟร์ และที-6 ผลการปฏิบัติคือกลุ่มกบฎพ่ายแพ้เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494[2]

ในปี พ.ศ. 2496 กองบินยุทธการมอบหมายให้กองบินน้อยที่ 1 จัดกำลังจากฝูงบิน 3 พร้อมด้วยอากาศยานแบบแบร์แคท (บ.ข.15) จำนวน 4 เครื่องไปประจำการที่สนามบินพิษณุโลก และจัดกำลังจากฝูงบิน 2 พร้อมด้วยอากาศยานแบบที-6 (บ.ฝ.8) จำนวน 5 เครื่องไปประจำการที่สนามบินแพร่ ในการปฏิบัติการสนับสนุนการปราบโจรฮ่อ ขึ้นตรงต่อ ผบ.ผส.9 ลำปาง[2]

กองบินน้อยที่ 1 ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น กองบิน 1 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2506[2]

ในปี พ.ศ. 2513 กองบิน 1 ได้สูญเสียอากาศยานแบบเอฟ-5 จำนวน 2 เครื่อง พร้อมด้วยนักบิน 2 นาย คือ เรืออากาศเอก ชาญชัย มหากาญจนะ และ เรืออากาศโท พงษณรงค์ เกษตรศุกร์ ระหว่างการบินเข้าตีที่หมายกลุ่มคอมมิวนิสต์บริเวณเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์[2]

จากดอนเมืองสู่โคราช

แก้

กองบิน 1 ได้ย้ายที่ตั้งจากฐานทัพอากาศดอนเมือง ไปยังฐานบินโคราช ซึ่งอยู่ทางใต้ของเมืองนครราชสีมาประมาณ 5 กิโลเมตรเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2519

กองบิน 1 ฝูงบิน 102 ได้ส่งอากาศยานเข้าร่วมปฏิบัติการโจมตีฐานที่ตั้งปืนใหญ่บริเวณบ้านบ่อล้าน ประเทศลาว ด้วยระเบิดแบบร็อกอาย เครื่องละ 4 ลูก สามารถทำลายเป้าหมายในพื้นที่ได้ทั้งหมด

ในช่วง พ.ศ. 2544 ได้เกิดการปะทะตามแนวชายแดนไทยและพม่า กองบิน 1 โดยฝูงบิน 103 ได้ปฏิบัติการลาดตระเวนทางอากาศตามแนวชายแดนพม่า และได้จัดหน่วยบิน 1032 ไปวางกำลังที่ฐานบินส่วนหน้าในฐานบินเชียงใหม่เพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้กำลังทางอากาศ

ระหว่างเหตุการณ์จลาจลในประเทศกัมพูชาเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2546 ฝูงบิน 103 ได้รับคำสั่งให้เตรียมความพร้อมในการใช้กำลังทางอากาศหากเกิดกรณีฉุกเฉินหรือเหตุการณ์รุนแรงขึ้นภายใต้ แผนปฏิบัติการโปเชนตง 2

การจัดหน่วย

แก้

กองบิน 1 แบ่งส่วนการบริหารราชการภายใน ดังนี้

กองบังคับการ

แก้
  • แผนกกำลังพล
  • แผนกการข่าว
  • แผนกส่งกำลังบำรุง
  • แผนกยุทธการ
  • แผนกกิจการพลเรือน
  • แผนกธุรการ
  • ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • หมวดจัดหา

ส่วนปฏิบัติการ

แก้
  • ฝูงบิน 102 "Stars"
  • ฝูงบิน 103 "Lightning"
  • กองพันทหารอากาศโยธิน
  • แผนกสนับสนุนการบิน
  • แผนกควบคุมการยุทธทางอากาศ

กองเทคนิค

แก้
  • แผนกช่างอากาศ
  • แผนกสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
  • แผนกสรรพาวุธ
  • หมวดบริการเชื้อเพลิง

หน่วยขึ้นตรง

แก้
  • มาตรฐานการบิน
  • นายทหารงบประมาณ
  • แผนกการเงิน
  • แผนกขนส่ง
  • แผนกช่างโยธา
  • แผนกพลาธิการ
  • แผนกสวัสดิการ
  • โรงพยาบาลกองบิน
  • กองร้อยทหารสารวัตร
  • ฝ่ายคลังรวมการ
  • นิรภัยการบิน
  • นิรภัยภาคพื้น
  • อนุศาสนาจารย์
  • นายทหารพระธรรมนูญ

อากาศยาน

แก้
อากาศยาน ผู้ผลิต บทบาท แบบ รุ่น ประจำการ หมายเหตุ
ฝูงบิน 102
ล็อกฮีด มาร์ติน     สหรัฐ ขับไล่/โจมตี F-16A/B Block 15 ADF 13 [4]ทอ.ได้คัดเลือกยาส 39 มาแทนที่[3]
ฝูงบิน 103
ล็อกฮีด มาร์ติน     สหรัฐ ขับไล่/โจมตี F-16A/B Block 15 OCU 22 [4]

อดีตอากาศยาน

แก้
 
แอล-39 ขณะยังประจำการอยู่ในฝูงบิน 101
 
เอฟ-5 ของฝูงบิน 103 ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ
  • นิเออร์ปอรท์ 13 ตารางเมตร (บ.ข.1)
  • นิเออร์ปอรท์ 15 ตารางเมตร (บ.ข.2)
  • สปัด (บ.ข.3)
  • แอฟโร 504เอ็น (บ.ฝ.4)
  • นิเออร์ปอรท์ เดอลาจ (บ.ข.4)
  • เคอร์ติสฮอว์ค 2 (บ.ข.9)
  • เคอร์ติสฮอว์ค 3 (บ.ข.10)
  • มิตซูบิชิ เอ็ม 103 นาโกยา (บ.จ.2)
  • โอตะ (บ.ข.12)
  • ฮายาบูซา (บ.ข.13)
  • ที-6 (บ.ฝ.8)
  • สปิดไฟร์ (บ.ข.14)
  • เอฟ-8 เอฟ แบร์แคท (บ.ข.15)
  • ที-33เอ (บ.ฝ.11)
  • เอฟ-84จี (บ.ข.16)
  • เอฟ-86เอฟ (บ.ข.17)
  • เอฟ-86แอล (บ.ข.17 ก)
  • เอฟ-5เอ/บี (บ.ข.18 /ก)
  • เอฟ-5อี/เอฟ (บ.ข.18 ข/ค)
  • เอฟ-16เอ/บี (บ.ข.19 /ก)
  • แอล-39 (บ.ขฝ.1)
  • เอฟ-16เอ/บี แบบ เอดีเอฟ (บ.ข.19 /ก)

ที่ตั้ง

แก้
  • กองบิน 1 มีที่ตั้งอยู่ที่ฐานบินโคราช โดยมีฝูงบินทั้งหมดประจำการอยู่ที่นี่เช่นเดียวกัน

ภารกิจ

แก้

กองบิน 1 มีภารกิจในการเตรียมความพร้อม ทั้งด้านของ กำลังพล อาวุธ ยุทโธปกรณ์ ให้มีความพร้อมรบ และการดำเนินการปฏิบัติการใช้กำลังทางอากาศ แบ่งขอบเขตของปฏิบัติการตามฝูงบินในสังกัดทั้ง 2 คือ ฝูงบิน 102 มีหน้าที่ในการขับไล่สกัดกั้นอากาศยานที่รุกล้ำน่านฟ้าไทยหรือปฏิบัติการตามที่ได้รับมอบหมาย และฝูงบิน 103 มีหน้าที่ในการขับไล่ยุทธวิธีต่ออากาศยานข้าศึก ดำเนินกลยุทธ์เพื่อใช้กำลังทางอากาศ และปฏิบัติการตามที่ได้รับมอบหมายเช่นกัน[5]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-05-24.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 "ประวัติความเป็นมา | Home of the Tiger". กองบิน 1 (นครราชสีมา).
  3. 3.0 3.1 "ทอ. จ่อเลือก 'Gripen' หลังเทียบออปชันเครื่องบินขับไล่โจมตีฝูงใหม่". THE STANDARD. 2024-08-27.
  4. 4.0 4.1 "กองทัพอากาศไทย มีเครื่องบินรบกี่ลำ (ในปี 64-68)". thaiarmedforce. 2021-04-23.
  5. "ภารกิจ | Home of the Tiger". กองบิน 1 (นครราชสีมา).

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้