ท่าอากาศยานแพร่

ท่าอากาศยานแพร่ หรือ สนามบินแพร่[1] (อังกฤษ: Phrae Airport) (IATA: PRHICAO: VTCP) ตั้งอยู่ที่ 72 หมู่ที่ 5 ถนนช่อแฮ ตำบลนาจักร อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่[2] ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[3]

ท่าอากาศยานแพร่
ป้ายหน้าอาคารผู้โดยสารหลังปัจจุบัน
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการจังหวัดแพร่
สถานที่ตั้งตำบลนาจักร อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
พิกัด18°07′54″N 100°09′52″E / 18.13167°N 100.16444°E / 18.13167; 100.16444พิกัดภูมิศาสตร์: 18°07′54″N 100°09′52″E / 18.13167°N 100.16444°E / 18.13167; 100.16444
เว็บไซต์https://minisite.airports.go.th/home.php?site=phrae
แผนที่
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
PRH
ตำแหน่งของท่าอากาศยานในประเทศไทย
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
PRH
PRH (ประเทศไทย)
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
01/19 1,500 4,921 ยางมะตอย
สถิติ (2563)
ผู้โดยสาร34,947
เที่ยวบิน758
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th

ประวัติ แก้

ท่าอากาศยานแพร่ เป็นท่าอากาศยานที่สร้างขึ้นในสมัยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งพื้นผิวทางวิ่งในช่วงแรกเป็นพื้นดินลูกรัง ภายหลังจากที่สงครามสงบลง จึงมอบหมายให้กองทัพอากาศดูแลและใช้ประโยชน์ ต่อมา สำนักงานการบินพลเรือน (กรมท่าอากาศยานในปัจจุบัน) กระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการพัฒนาเป็นท่าอากาศยานขนส่งผู้โดยสารและพัสดุในปี พ.ศ. 2495 โดยได้ดำเนินการปรับปรุงพื้นผิวทางวิ่งให้มีขนาด 30 x 1,200 เมตร และสร้างอาคารท่าอากาศยานเพื่อใช้ในกิจการการบินพลเรือน

ในปี พ.ศ. 2514 - 2516 กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยานในปัจจุบัน) ได้ปรับปรุงผิวทางวิ่ง ทางขับและ ลานจอดเป็นพื้นผิวแอสฟัลท์ติคคอนกรีต (asphaltic-concrete) ทำให้ทางวิ่งมีขนาดกว้าง 30 เมตร และยาว 1,500 เมตร และ พ.ศ. 2517 - 2518 ได้สร้างอาคารท่าอากาศยานแพร่ในพื้นที่ปัจจุบัน จากนั้นในปี พ.ศ. 2524 - 2525 ได้ต่อเติมอาคารท่าอากาศยานให้มีขนาด 250 ตารางเมตร และในปี พ.ศ. 2533 กรมการบินพาณิชย์ได้ปรับปรุงต่อเติมอาคารผู้โดยสารพร้อมเครื่องปรับอากาศ พื้นที่ 432 ตารางเมตร และในปี พ.ศ. 2539 ได้สร้างหอบังคับการบินใหม่แยกออกจากอาคารผู้โดยสาร มีความสูง 7 ชั้น[4]

อาคารสถานที่ แก้

อาคารผู้โดยสาร แก้

อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานแพร่เป็นอาคาร 3 ชั้น ใช้งานจริง 1 ชั้น มีพื้นที่ 1,550 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 374 คน/ชั่วโมง โดยแต่ละชั้นมีรายละเอียดดังนี้[5]

  • ชั้น 1 เป็นโถงผู้โดยสารขาเข้าและขาออก และที่ทำการท่าอากาศยาน
  • ชั้น 2 และ 3 เป็นหอบังคับการบินเดิม

ลานจอดเครื่องบิน มีขนาดกว้าง 60 เมตร ยาว 180 เมตร สามารถจอดเครื่องบินขนาด เอทีอาร์ 72 ได้จำนวน 3 ลำ และมีหลุมจอดเฮลิคอปเตอร์ทั้งหมด 6 หลุม[5][6]

ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์) แก้

ท่าอากาศยานแพร่มีทางวิ่ง 1 ทางวิ่ง พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต (asphaltic-concrete) ขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 1,500 เมตร[5] พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 45 เมตร และความยาวข้างละ 75 เมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่เหมาะสมต่อเครื่องบินขนาดใหญ่ กรมท่าอากาศยานจึงได้มีแผนที่จะขยายทางวิ่งให้มีความกว้าง 45 เมตร ยาว 2,100 เมตร ซึ่งจะช่วยให้มีสายการบินเปิดเส้นทางบินมายังแพร่เพิ่มมากขึ้น[7] เนื่องจากเป็นขนาดทางวิ่งที่สามารถรองรับเครื่องบินขนาด โบอิง 737 และ แอร์บัส เอ320 ที่สายการบินหลายสายในประเทศไทยนิยมใช้

ทางขับมีทั้งหมด 1 ทางขับ พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต (asphaltic-concrete) ขนาดกว้าง 15 เมตร ยาว 145 เมตร

รายชื่อสายการบิน แก้

รายชื่อสายการบินที่ให้บริการในปัจจุบัน แก้

ไม่มีสายการบินพาณิชย์เปิดให้บริการ

รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ แก้

สายการบิน จุดหมายปลายทาง[8] ปีที่ทำการบิน หมายเหตุ
นกแอร์[9] กรุงเทพฯ-ดอนเมือง พ.ศ. 2554 - 2566 ยกเลิกเส้นทางบิน
นกมินิ เชียงใหม่ พ.ศ. 2554 - 2557 ยกเลิกเส้นทางบิน
โซล่าแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง พ.ศ. 2553 - 2554 ยกเลิกเส้นทางบิน
แฮปปี้แอร์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ยกเลิกเส้นทางบิน
แอร์อันดามัน กรุงเทพฯ-ดอนเมือง พ.ศ. 2545 - 2547 ยกเลิกเส้นทางบิน
การบินไทย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ยกเลิกเส้นทางบิน
เดินอากาศไทย[4] กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ยกเลิกเส้นทางบิน

สถิติ แก้

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ แก้

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศในแต่ละปีปฏิทิน[10]
ปี (พ.ศ.) ผู้โดยสาร ความเปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน คาร์โก้ (ตัน)
2544 19,749 1,458 42.42
2545 12,558   36.41% 860 15.81
2546 10,592   15.66% 722 17.01
2547 828   92.18% 41 0.396
2548 13   98.43% 17 0.00
2549 13   4 0.00
2550 440   3284.62% 180 0.00
2551 0   100.00% 0 0.00
2552 0   0 0.00
2553 470   54 0.00
2554 3,494   643.40% 215 0.00
2555 9,056   159.19% 421 0.00
2556 13,690   51.17% 483 0.00
2557 23,371   70.72% 509 0.00
2558 48,673   108.26% 797 0.00
2559 72,274   48.49% 1,191 0.00
2560 80,961   12.02% 1,326 0.00
2561 88,971   9.89% 1,460 0.00
2562 70,069   21.25% 1,220 0.00
2563 34,947   50.12% 758 0.00

การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน แก้

ท่าอากาศยานแพร่ตั้งอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดิน 1022 เข้าไปประมาณ 330 เมตร โดยมีลานจอดรถยนต์กลางแจ้งหน้าอาคารผู้โดยสาร ซึ่งมีความจุ 60 คัน และที่ท่าอากาศยานมีบริการรถสาธารณะเข้าเมือง และบริการรถเช่า[5]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินแพร่ ในท้องที่อำเภอหนองม่วงใข่ อำเภอเมืองแพร่ อำเภอสูงเม่น และอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๕๔๓
  2. ติดต่อท่าอากาศยานแพร่
  3. รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน
  4. 4.0 4.1 ข้อมูลประวัติแบบสมบูรณ์ ท่าอากาศยานแพร่
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 ลักษณะทางกายภาพ ท่าอากาศยานแพร่
  6. ข้อมูลแสดงลักษณะกายภาพของท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยานจากเว็บไซต์ กรมท่าอากาศยาน
  7. "อธิบดีกรมท่าอากาศยานตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของท่าอากาศยานแพร่". สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่. 13 เมษายน 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  8. ประวัติ ท่าอากาศยานแพร่ บนเว็บไซต์กรมท่าอากาศยาน
  9. "นกแอร์ บอกลาเครื่องบิน Q400 หยุดบิน 3 เส้นทาง แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-04-10. สืบค้นเมื่อ 2023-11-26.
  10. "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2020-05-08.