ฐานบินเชียงใหม่

ฐานทัพอากาศในจังหวัดเชียงใหม่

ฐานบินเชียงใหม่[2] (อังกฤษ: Chiang Mai Air Force Base[3]) เป็นฐานบินปฏิบัติการหน้า[4]และที่ตั้งทางทหารของกองบิน 41 กองทัพอากาศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2464[5]

ฐานบินเชียงใหม่
ส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศไทย
เชียงใหม่
ฐานบินเชียงใหม่มองจากดอยสุเทพ
วี-22 ออสเปรย์ของนาวิกโยธินสหรัฐที่ฐานบินเชียงใหม่ ระหว่างการฝึกคอบร้าโกลด์ 2013
แผนที่
พิกัด18°46′17″N 98°57′46″E / 18.77133°N 98.96283°E / 18.77133; 98.96283 (ฐานบินเชียงใหม่)
ประเภทฐานทัพอากาศ
ข้อมูล
ผู้ดำเนินการFlag of the กองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศไทย
ควบคุมโดยกองบินน้อยผสมที่ 90 (พ.ศ. 2485–2488)
ฝูงบินผสมที่ 221 (พ.ศ. 2507–2512)
ฐานบินเชียงใหม่ (พ.ศ. 2512–2519)
ฝูงบิน 41 กองบิน 4 (พ.ศ. 2519–2520)
กองบิน 41 (พ.ศ. 2520–ปัจจุบัน)
สภาพปฏิบัติการ
เว็บไซต์wing41.rtaf.mi.th
ประวัติศาสตร์
สร้างพ.ศ. 2464; 103 ปีที่แล้ว (2464)
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์กองบิน 41
ข้อมูลลานบิน
ข้อมูลระบุIATA: CNX, ICAO: VTCC[1]
ความสูง1,036 ฟุต (316 เมตร) เหนือระดับ
น้ำทะเล
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาวและพื้นผิว
18/36 3,400 เมตร (11,155 ฟุต) คอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต

ประวัติ

แก้

ฐานบินเชียงใหม่ เดิมชื่อว่า สนามบินสุเทพ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2464 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับการก่อสร้างทางรถไฟสร้างมาถึงจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นรัชสมัยของ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามดำริของ นายพลโท หม่อมเจ้าบวรเดช ดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลพายับในเวลานั้น และเลือกพื้นที่บริเวณเชิงดอยสุเทพซึ่งขณะนั้นมีสภาพเป็นป่าไผ่ จนการก่อสร้างเสร็จสิ้นจึงส่งมอบให้กระทรวงกลาโหมเป็นผู้ดูแล รวมถึงได้รวบรวมเงินทุนจากเจ้าผู้ครองนคร เจ้านายทางฝ่ายเหนือ ข้าราชการ พ่อค้า และราษฎร์เพื่อซื้ออากาศยานให้กับกองทัพไว้ใช้งานในราชการโดยสามารถซื้อเครื่องบินแบบเบร์เกต 14 ขนาด 2 ที่นั่ง ปีกสองชั้นซึ่งออกแบบมาสำหรับการทิ้งระเบิด และถูกดัดแปลงเป็นเครื่องบินโดยสารในเวลาต่อมา ชื่อว่า จังหวัดเชียงใหม่ 1[5]

สนามบินสุเทพเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 โดยใช้เครื่องบินจังหวัดเชียงใหม่ 1 บินมาแตะพื้นรันเวย์เป็นปฐมฤกษ์ ซึ่งทางจังหวัดได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองสนามบินใหม่เป็นระยะเวลา 4 วัน 4 คืนติดต่อกัน ระหว่างวันที่ 16-19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 และสามารถรวบรวมเงินจากการจัดงานดังกล่าวจนสามารถซื้อเครื่องบินได้อีกลำ ชื่อว่า จังหวัดเชียงใหม่ 2[5]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพอากาศได้ใช้สนามบินเชียงใหม่ในการวางกำลังและจัดตั้งกองบินน้อยผสมที่ 90 สำหรับเป็นฐานบินในการปฏิบัติการทางอากาศและสนับสนุนการรบภาคพื้นดิน[5]ของกองทัพพายับ โดยนำกำลังมาประจำการเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 โดยใช้อากาศยานจากฝูงบินขับไล่ที่ 22 (จากฐานบินโคราช) คือเครื่องบินฮ๊อร์ค 2 (เครื่องบินขับไล่แบบที่ 8) จำนวน 9 ลำ ฝูงบินขับไล่ที่ 42 (จากสนามบินเนินพลอยแหวน จังหวัดจันทบุรี) คือเครื่องบินคอร์แซร์ (เครื่องบินโจมตีแบบที่ 1) จำนวน 10 ลำ รวมถึงเครื่องบินแฟรไซล์ด 24 เจ (เครื่องบินสื่อสารแบบที่ 1) ซึ่งเพื่อป้องกันการยิงฝ่ายเดียวกัน ทำให้อากาศยานของกองทัพอากาศไทยได้ใช้สัญลักษณ์ธงช้างแทนธงชาติไทยแบบวงกลมที่ใต้ปีกและตัวเครื่อง[6] นอกจากนี้กองทัพบกญี่ปุ่นได้นำเครื่องบินแบบฮายาบูซาจำนวน 2 กองบิน กองบินละ 3 ฝูงบิน ฝูงบินละ 25 ลำ พร้อมกับเครื่องบินขนาดหนักอีก 1 กองบิน รวม 27 ลำมาปฏิบัติการในพื้นที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง จึงทำให้ต้องสร้างสนามบินเพิ่มขึ้นในส่วนภูมิภาค เช่น ตำบลบ้านกลาง จังหวัดลำพูน บ้านสันข้าวแคบ อำเภอสันตำแพง และในจังหวัดเชียงราย ลำปาง แพร่[6]

วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2485 เวลาประมาณ 15.00 น. เครื่องบินรบฝ่ายสัมพันธมิตรแบบมัสแตง พี-51 จากฝูงบิน กองบินเสือสหรัฐจากฐานทัพเมืองคุณหมิง จำนวน 7 ลำ ได้ทิ้งระเบิดบริเวณสนามบินเชียงใหม่ และเกิดการโจมตีบริเวณสนามบินอีกไม่ต่ำกว่า 10 ครั้งหลังจากนั้น[6]

ในช่วงสงครามเย็น กองทัพอากาศได้ส่งเครื่องบินโจมตีแบบที่ 8 (เอที 6 จี) จากฝูงบินพิเศษที่ 2 กองบินน้อยที่ 1 ดอนเมือง จำนวน 4-6 ลำ มาปฏิบัติการชายแดนยังสนามบินเชียงใหม่ ผลัดละ 2-6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับการปรับปรุงเส้นทางวิ่งสนามบินเป็นทางวิ่งขนาดความยาว 1,100 เมตร (3,609 ฟุต) กว้าง 32 เมตร (105 ฟุต) ผิวหินลาดยาง มีหอบังคับการบินและฝ่ายดับเพลิง และส่งเครื่องบินขับไล่แบบที่ 15 (แบร์แคท) จากฝูงบินขับไล่ที่ 12 กองบินน้อยที่ 1 ดอนเมือง มาหมุนเวียนราว 4-6 ลำ[6]

ในช่วงสงครามเวียดนาม พ.ศ. 2500 รัฐบาลสหรัฐได้ให้ความช่วยเหลือด้านงบประมาณมายังกองทัพอากาศไทยในการปรับปรุงฐานบิน 4 แห่ง ที่อุดรธานี อุบลราชธานี โคราช และเชียงใหม่ ให้สามารถรองรรับเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ได้มากขึ้น และรองรับเครื่องบินได้มากขึ้น[6] โดยมีการปรับปรุงพื้นผิวทั้งทางวิ่งและลานจอดให้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ความยาว 2,130 เมตร (6,988 ฟุต) กว้าง 32 เมตร (105 ฟุต) สำรองหัวท้ายทางวิ่งเป็นดินบดอัดอีกข้างละ 160 เมตร (525 ฟุต) รวมถึงก่อสร้างอาคารสนามบินเป็นอาคาร 2 ชั้น พร้อมกับหอบังคับการบินด้านบน ซึ่งใช้เวลาในการปรับปรุง 3 ปี และกลับมาเปิดอย่างเป็นทางการอีกครั้งในวันนที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2503[5] โดยรัฐบาลไทยได้รับมอบสนามบินเชียงใหม่จากรัฐบาลสหรัฐ และกองทัพอากาศไทยได้ใช้ฐานบินเป็นที่ประจำการเครื่องบินขับไล่ไอพ่นที่ทันสมัยที่สุดในเวลานั้น คือเครื่องบินขับไล่แบบที่ 17 เอฟ-86 เอฟ จากฝูงบินขับไล่ที่ 12 และ 13 กองบินน้อยที่ 1 ดอนเมือง ผลัดกันส่งเครื่องบินมาวางกำลัง รวมถึงกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นพันธมิตรในองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีโต) ส่งเครื่องบินแบบ ฮันเตอร์ และเครื่องบินขับไล่แบบอื่น ๆ มาประจำการ[6]

กองทัพอากาศได้จัดตั้ง ฝูงบินผสมที่ 221 ขึ้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 เพื่อตอบสนองต่อภัยคอมมิวนิสต์ โดยประจำการที่สนามบินเชียงใหม่ โดยจัดเครื่องบินโจมตีแบบ 13 จำนวน 7 เครื่อง จากฝูงบินที่ 22 กองบิน 2 ลพบุรี โดยมีนาวาอากาศโท ชาญ ทองดี เป็นผู้บังคับฝูงบิน[6]

ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2512 กองทัพอากาศได้ยกฐานะฝูงบินผสมที่ 221 ขึ้นเป็นฐานบินเชียงใหม่ โดยมี นาวาอากาศตรี อาคม อรรถเวทวรวุฒิ เป็นผู้บังคับฐานบินเชียงใหม่คนแรก อยู่ภายใต้การบัญชาการของกองบิน 2 โดยมีการส่งเครื่องบินโจมตีแบบที่ 5 โอวี-10 บรองโก มาประจำการที่ฐานบินพิษณุโลกและฐานบินเชียงใหม่[6]

ฐานบินเชียงใหม่โอนไปขึ้นกับกองบิน 4 ตาคลีและเปลี่ยนชื่อหน่วยเป็นฝูงบิน 41 กองบิน 4 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2519[5] และยกฐานะฝูงบิน 41 ขึ้นเป็นกองบิน 41 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2520[6]

ในปี พ.ศ. 2525 ได้มีการเวนคืนที่ดินทางตอนใต้ของฐานบินเพิ่มเติมเพื่อขยายทางวิ่งและเพิ่มลานจอดอากาศยาน และมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2527 ให้แยกสนามบินเชียงใหม่ออกจากความดูแลของกรมการบินพาณิชย์ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2531 โดยแบ่งการดูแลออกเป็น 2 ส่วนคือ กองบิน 41 รับผิดชอบทางด้านการทหารของฐานบินเชียงใหม่ และการท่าอากาศยานเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลเรือนในการบินพาณิชย์[5]

บทบาทและปฏิบัติการ

แก้

กองทัพอากาศไทย

แก้

ฐานบินเชียงใหม่ เป็นฐานบินหลักสำหรับกองบิน 41 กองทัพอากาศไทยในการปฏิบัติงานในภาคเหนือรวมถึงเป็นฐานบินปฏิบัติการหน้า ซึ่งไม่มีเครื่องบินขับไล่ประจำการอยู่ถาวร แต่สามารถเคลื่อนย้ายมาวางกกำลังได้โดยมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกได้อย่างครบครัน[4] ซึ่งฐานบินเชียงใหม่ประกอบไปด้วยเครื่องบินโจมตีเบา 1 ฝูงบิน คือ

และส่วนสนับสนุนอื่น ๆ ได้แก่ สำนักงานผู้บังคับบัญชา, กองบังคับการ, แผนกการเงิน, แผนกสนับสนุนการบิน, กองเทคนิค, โรงพยาบาลกองบิน, แผนกช่างโยธา, แผนกขนส่ง, แผนกพลาธิการ, แผนกสวัสดิการ, กองร้อยทหารสารวัตร และฝูงบิน 416 (เชียงราย)[8]

หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดเชียงใหม่

แก้

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนบน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ใช้ฐานบินเชียงใหม่ในการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ สูงสุดจำนวน 8 ลำ[9] หมุนเวียนกันมาประจำการ เช่น คาซา ซี.212 อวิโอคาร์[10][11]

หน่วยในฐานบิน

แก้

หน่วยบินที่วางกำลังในฐานบินเชียงใหม่ ที่วางกำลังอยู่ในปัจจุบัน ประกอบไปด้วย

กองทัพอากาศ

แก้

กองบิน 41

แก้

ส่วนสนับสนุนการปฏิบัติการบินควบคุมไฟป่ากองทัพอากาศ (ส่วนหน้า)

แก้

ชุดปฏิบัติการบินควบคุมไฟป่ากองทัพอากาศ (ส่วนหน้า) ประกอบไปด้วย[12]

ฐานปฏิบัติการฝนหลวง กองบิน 41[15]

แก้
  • หน่วยบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวงกองทัพอากาศ[16]

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร

แก้

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนบน

แก้

สิ่งอำนวยความสะดวก

แก้

ฐานบินเชียงใหม่ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนด้วยกันคือ พื้นที่ฐานบินของกองทัพอากาศ และพื้นที่พลเรือนของท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ การท่าอากาศยาน

ลานบิน

แก้

ฐานบินเชียงใหม่ประกอบไปด้วยทางวิ่งความยาว 3,400 เมตร (11,155 ฟุต) ความกว้าง 45 เมตร (148 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 1,036 ฟุต (316 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 18/36 หรือ 180° และ 360° พื้นผิวคอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต[17]

โรงพยาบาลกองบิน 41

แก้

โรงพยาบาลกองบิน 41 เป็นโรงพยาบาลในกองบิน 41 อยู่ภายใต้สังกัดกรมแพทย์ทหารอากาศ กระทรวงกลาโหม ประกอบด้วยเตียงผู้ป่วยขนาด 30 เตียง[18] สำหรับตรวจรักษาข้าราชการทหาร ลูกจ้าง พนักงาน ครอบครัว และประชาชนบริเวณกองบิน และดำเนินการด้านเวชศาสตร์ป้องกันและเวชศาสตร์การบิน[8]

ชมรมอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย กองบิน 41

แก้

ชมรมอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย กองบิน 41 ตั้งขึ้นโดย นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน เพื่อเก็บรักษาอากาศยานแบบต่าง ๆ ของกองทัพอากาศไทยที่ปลดประจำการแล้ว[8]

สนามฝึกซ้อมกอล์ฟพิมานทิพย์

แก้

สนามฝึกซ้อมกอล์ฟพิมานทิพย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 เพื่อใช้ในการฝึกซ้อมกอล์ฟขนาด 9 หลุมพร้อมกันกับอาคารสโมสรสำหรับข้าราชการและประชาชนที่สนใจและต้องการฝึกการเล่นกอล์ฟ[8]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. รายชื่อสนามบินในประเทศไทย (โค้ด)
  2. "ประกาศกองทัพอากาศ เรื่อง กำหนดชื่อเรียกฐานที่ตั้งหน่วยบินต่าง ๆ". เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา แบบธรรมเนียมทหาร พ.ศ. 2567 (PDF). กรมสารวรรณทหารอากาศ. 2567. p. 329. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-05-31. สืบค้นเมื่อ 2024-05-31.
  3. "Thailand Launches International Orders For AT-6 | Aviation Week Network". aviationweek.com.
  4. 4.0 4.1 "Royal Thai Air Force | ยุทโธปกรณ์ในกองทัพอากาศไทย". thaiarmedforce. 2019-05-02.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 "สนามบินเชียงใหม่ เมื่อพ.ศ. 2513 - ภาพล้านนาในอดีต | ศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่". lannainfo.library.cmu.ac.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 6.8 "ประวัติความเป็นมากองบิน ๔๑". wing41.rtaf.mi.th.
  7. 7.0 7.1 "NBT CONNEXT". thainews.prd.go.thnull (ภาษาอังกฤษ).[ลิงก์เสีย]
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-05-30.
  9. "รมช.เกษตรฯ ลุยเชียงใหม่ ขึ้นบินตรวจปฏิบัติการทำฝนหลวงแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 มั่นใจสงกรานต์นี้ปลอดฝุ่น". chiangmai.prd.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 "ฝนหลวงฯ ตั้ง ๔ หน่วยปฏิบัติการ ช่วยเหลือพื้นที่เกษตรต้องการน้ำและบรรเทาปัญหาหมอกควัน-ลดความรุนแรงของพายุลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ". www.royalrain.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. 11.0 11.1 Nommaneewong, Muttira (2021-02-03). "กรมฝนหลวงฯ เปิดปฏิบัติการสู้ภัยแล้งปี 64 เร็วขึ้น หลังแนวโน้มรุนแรง : อินโฟเควสท์". สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  12. "'ผบ.ทอ. ตรวจเยี่ยมชุดสนับสนุน ทอ.ดับไฟป่าลด PM2.5 จ.เชียงใหม่". bangkokbiznews. 2024-04-12.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 หนึ่ง (2024-04-12). "'ผอ.ทอ.' ตรวจเยี่ยมหน่วยบิน สนับสนุนกำลังพล ยุทโธปกรณ์ ลุยดับไฟป่า-ฝุ่นพิษเชียงใหม่".
  14. admin (2020-02-14). "กองทัพอากาศทำการฝึกบินค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ (Combat SAR)". ข่าวเชียงราย หนังสือพิมพ์เชียงรายนิวส์.
  15. "พิธีส่งหน่วยบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวงกองทัพอากาศ ประจำปี 2567". welcome-page.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "ผบ.ทอ. ส่งหน่วยบิน 7 ลำ ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือภัยแล้ง". www.thairath.co.th. 2024-03-12.
  17. "Aedrome/Heliport VTCC". aip.caat.or.th (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-07-30.
  18. "รหัสหน่วยงานบริการสุขภาพ โรงพยาบาลกองบิน 41". hcode.moph.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)