ที-50 โกลเดนอีเกิล

เครื่องบินรบของทหารอากาศ
(เปลี่ยนทางจาก KAI T-50 Golden Eagle)

ที-50 โกลเดนอีเกิล (อังกฤษ: T-50 Golden Eagle) เป็นตระกูลอากาศยานฝึกหัดความเร็วเหนือเสียง และเป็นอากาศยานโจมตีเบาของเกาหลีใต้ พัฒนาโดยบริษัทอุตสาหกรรมอากาศยานเกาหลี (KAI) ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัท ล็อกฮีด มาร์ติน ของสหรัฐอเมริกา เครื่องบิน ที-50 ถือว่าเป็นเครื่องบินเหนือเสียงลำแรกของเกาหลีใต้ นอกจากนี้ ยังจัดว่าเป็นหนึ่งในเครื่องบินฝึกหัดไม่กี่รุ่นในโลกที่มีความเร็วเหนือเสียง[6] การพัฒนาเริ่มต้นขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1990 จนกระทั่งสามารถขึ้นบินได้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 2002 และเริ่มประจำการในกองทัพอากาศเกาหลีใต้ในปี ค.ศ. 2005 ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ที-50 มีโครงแบบส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับ เอฟ-16 ที่ประจำการในกองทัพอากาศเกาหลีใต้[7]

ที-50 โกลเดนอีเกิล
บทบาทเครื่องบินฝึกหัดขั้นสูง, เครื่องบินรบหลากบทบาท
ชาติกำเนิด เกาหลีใต้
บริษัทผู้ผลิตอุตสาหกรรมอากาศยานเกาหลี (KAI)
โดยความช่วยเหลือของ ล็อกฮีด มาร์ติน
บินครั้งแรก20 สิงหาคม พ.ศ. 2545
เริ่มใช้22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
สถานะในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี
กองทัพอากาศอินโดนีเซีย
กองทัพอากาศฟิลิปปินส์
กองทัพอากาศอิรัก
กองทัพอากาศไทย
จำนวนที่ผลิต210 ลำ[1]
มูลค่าT-50: 21 ล้านดอลล่าร์ (2008)[2]
TA-50: 25 ล้านดอลล่าร์ (2011)[3]
T-50TH: 27.5 ล้านดอลล่าร์ (2015)[4]
FA-50: 30 ล้านดอลล่าร์ (2012)[5]

ข้อมูลจำเพาะ แก้

 
T-50 ของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย

คุณลักษณะขั้นพื้นฐาน แก้

  • จำนวนนักบิน: 2
  • ความยาว: 13.14 เมตร
  • ช่วงปีก: 9.45 เมตร
  • ความสูง: 4.94 เมตร
  • พื้นที่ปีก: 23.69 ตารางเมตร
  • น้ำหนักบรรทุกเปล่า: 6,470 กิโลกรัม
  • น้ำหนักการทะยานสูงสุด: 12,300 กิโลกรัม
  • เครื่องยนต์: 1× เจเนอรัลอิเล็กทริก F404 afterburning turbofan

สมรรถนะ แก้

  • ความเร็วสูงสุด: 1,640 กิโลเมตร/ชั่วโมง (มัค 1.5)
  • พิสัยปฏิบัติการ: 1,851 กิโลเมตร
  • เพดานบิน: 14,630 เมตร
  • อัตราการไต่เพดานบิน: 11,887 เมตร/นาที

ผู้ใช้งาน แก้

 
ประเทศผู้ใช้งาน ที-50
  อินโดนีเซีย
  อิรัก
  • กองทัพอากาศอิรัก - ลงนามจัดซื้อเครื่องบินฝึกหัด T-50IQ จำนวน 24 ลำ เริ่มการส่งมอบใน เมษายน ค.ศ. 2016
  เกาหลีใต้
  ฟิลิปปินส์
  ไทย

อ้างอิง แก้

  1. "T-50 Golden Eagle". Deagel.com.
  2. "KAI T-50 Golden Eagle". AeroCorner.com.
  3. Sebastien Roblin (11 กันยายน 2016). "FA-50 Golden Eagle: The Low-Cost Fighter that Might See Some Serious Combat". Center for the National Interest.
  4. Wassana Nanuam (18 กันยายน 2015). "Air force buys Korean training jets". Bangkok Post.
  5. Greg Waldron (4 มกราคม 2012). "Seoul places $600m order for 20 FA-50s". FlightGlobal.
  6. Jung Sung-ki (30 ธันวาคม 2008). "Domestic Light Attack Jets Due in 2013". The Korea Times.
  7. "Korea's T-50 Family Spreads Its Wings". Defense Industry Daily. 11 มีนาคม 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2015.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  8. "T-50i Golden Eagle Siap Kawal NKRI". Markas Besar Tentara Nasional Indonesia (ภาษาอินโดนีเซีย). 27 มกราคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ธันวาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2015.
  9. "Philippines to get first two FA-50s early". IHS Jane's 360. 3 มีนาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 สิงหาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2015.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  10. "KAI Flies First FA-50PH for Philippines Air Force". Korea Aerospace Industries. defense-aerospace.com. 23 มิถุนายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 สิงหาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2015.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  11. "กองทัพอากาศสรุปการจัดหา T-50TH เพิ่ม 2 ลำ ล็อตสุดท้าย". ThaiArmedForce.com. 14 กรกฎาคม 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้