กองบิน 3 วัฒนานคร

ส่วนกำลังรบ หน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศไทย

กองบิน 3 (อังกฤษ: Royal Thai Air Force Wing 3) เป็นกองบินอากาศยานไร้คนขับ อยู่ในส่วนกำลังรบและเป็นหน่วยขึ้นตรงของกองทัพอากาศไทย[1] ประจำการอยู่ที่ฐานบินวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2563[2]

กองบิน 3
เครื่องบินไร้คนขับตรวจการณ์และฝึกแบบที่ 1 RTAF U-1 ขณะอยู่บนเส้นทางวิ่งของฐานบินวัฒนานคร
ประจำการกองบินใหญ่ทหารบกที่ 3 (พ.ศ. 2461–2464)
กองบินใหญ่ที่ 3 (พ.ศ. 2464–2469)
กองบินน้อยที่ 2 (พ.ศ. 2469–2478)
กองบินน้อยที่ 3 (พ.ศ. 2469–2492)
กองบิน 3 (พ.ศ. 2510–2520)
กองบิน 3 (พ.ศ. 2563–ปัจจุบัน)
ประเทศ ไทย
เหล่าFlag of the กองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศไทย
รูปแบบกองบิน
บทบาทอากาศยานไร้คนขับ
ขึ้นกับส่วนกำลังรบ กองทัพอากาศไทย
กองบัญชาการฐานบินวัฒนานคร, อำเภอวัฒนานคร, จังหวัดสระแก้ว
สมญาบน.3 Wing 3
คำขวัญกองบินอากาศยานไร้คนขับแห่งความเป็นเลิศ[1]
UAV Wing of Excellence
ปฏิบัติการสำคัญกรณีพิพาทอินโดจีน
สงครามมหาเอเชียบูรพา
อิสริยาภรณ์เครื่องหมายเชิดชูเกียรติสายโยงยศไหมสีเขียว
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันนาวาอากาศเอก อำนาจ สิงหพันธ์
เครื่องหมายสังกัด
ตราสัญลักษณ์กองบิน 3

ประวัติ

แก้

ช่วงเริ่มต้น

แก้

กองบิน 3 กองทัพอากาศ มีจุดเริ่มต้นมาจากการยกฐานะกองบินทหารบก ขึ้นเป็นกรมอากาศยานทหารบก เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2461[3] และแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็นดังนี้[2]

  • กองบินทหารบก แบ่งออกเป็น กองบินใหญ่ทหารบก 3 กองบิน ตั้งอยู่ที่ดอนเมือง คือ
    • กองบินใหญ่ทหารบกที่ 1 (ประจำการเครื่องบินขับไล่)
    • กองบินใหญ่ทหารบกที่ 2 (ประจำการเครื่องบินตรวจการณ์)
    • กองบินใหญ่ทหารบกที่ 3 (ประจำการเครื่องบินทิ้งระเบิด)
  • โรงเรียนการบินทหารบก
  • โรงงานของกรมอากาศยานทหารบก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2463 กองบินใหญ่ทหารบกที่ 3 มีความจำเป็นต้องหาที่ตั้งใหม่เนื่องจากขนาดและภารกิจของกองบินทั้งในด้านยุทธศาสตร์และยุทธวิธี โดยเลือกที่ตั้งที่ ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2464 เปลี่ยนชื่อจาก กองบินใหญ่ทหารบกที่ 3 เป็น กองบินใหญ่ที่ 3 จากนั้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2469 ได้เปลี่ยนอัตราการจัดใหม่ เปลี่ยนชื่อเป็น กองบินน้อยที่ 2 อยู่ในที่ตั้งเดิมจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยอัตรากำลัง 3 ฝูงบิน มีพันตรีหลวงเทวัญอำนวยเดช เป็นผู้บังคับกองบิน[2]

จากนั้น พ.ศ. 2478 กรมอากาศยานทหารบกได้ยกฐานะขึ้นเป็น กรมทหารอากาศ ขณะที่กองบินน้อยที่ 2 ได้เปลี่ยนเป็น กองบินน้อยที่ 3 โดยมีนายร้อยเอกหลวงอิศรางกรูเสนีย์ (หมอมหลวงแช่ม อิศรางกรู ณ อยุธยา) ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองบินจนถึงปี พ.ศ. 2484 กระทั่งกรมทหารอากาศได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น กองทัพอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2480 และแยกตัวออกมาจากกองทัพบก ทำให้จำเป็นต้องหาที่ตั้งของกองบินใหม่ เนื่องจากพื้นที่เดิมเป็นของกองทัพบก ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาจึงได้มีการสร้างฐานบินของกองทัพอากาศขึ้นใหม่ที่ตำบลทุ่งกุดทอง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา[2]

ระหว่างปี พ.ศ. 2483 - 2484 ได้เกิดกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส กองบินน้อยที่ 3 ได้สนับสนุนกำลังจำนวน 1 ฝูงบินไปประจำการที่สนามบินจังหวัดปราจีนบุรี และสนามบินจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อสนับสนุนการราบของกองทัพภาคบูรพา และปฏิบัติการจนได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติสายโยงยศไหมสีเขียว[2]

ระหว่างปี พ.ศ. 2484 - 2488 ได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา โรงเรียนการบินได้ย้ายที่ตั้งจากดอนเมืองไปรวมกับที่ตั้งของกองบินน้อยที่ 3 แต่ยังคงแยกสายการบังคับบัญชา และกองบินน้อยที่ 3 ได้ส่งกำลังไปร่วมกับฝูงบินผสมหลายแห่ง ปฏิบัติการจนกระทั้งสิ้นสุดสงครามจึงได้กลับมายังที่ตั้ง และในปี พ.ศ. 2492 กองทัพอากาศได้โอนกิจการภายในหน่วยของกองบินน้อยที่ 3 ให้กับโรงเรียนการบินทั้งหมด[4] ทำให้กองบินน้อยที่ 3 ไม่เหลืออัตรากำลัง เหลือเพียงโครงสร้าง[2]

ช่วงที่ 2

แก้
 
เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 5 ที่เคยประจำการในกองบิน 3 ช่วงปี พ.ศ. 2510-2520

กองบินน้อยที่ 3 ถูกจัดอัตราขึ้นมาอีกครั้งในชื่อกองบิน 3 ในปี พ.ศ. 2510[5] โดยการโอนอัตราอากาศยานและเจ้าหน้าที่ รวมถึงเฮลิคอปเตอร์จากกองบิน 6 ฝูงบิน 63 มาตั้งเป็นขึ้นเป็น กองบิน 3 ฝูงบิน 31 และฝูงบิน 33 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2510[2]

ต่อมา พ.ศ. 2512 กองทัพอากาศได้สั่งการให้กองบิน 3 ย้ายจากดอนเมืองไปยังที่ตั้งปกติ ณ ฐานบินนครราชสีมาเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 และมีคำสั่งให้ฝูงบิน 33 ยุบรวมกับฝูงบิน 31 และปลดประจำการเฮลิคอปเตอร์แบบที่ 5 เอช-43 บี ฮัสกี ให้เหลือเพียง 2 ฝูงบินคือฝูงบิน 31 ประจำการเฮลิคอปเตอร์แบบที่ 4 จำนวน 1 ฝูง และฝูงบิน 32 ประจำการเฮลิคอปเตอร์แบบที่ 6 จำนวน 1 ฝูง[2]

กองบิน 3 ถูกยุบเลิกการปฏิบัติการในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2520[6][7] และโอนฝูงบิน 31 และ 32 ไปประจำการที่กองบิน 2 [2]

ยุคปัจจุบัน

แก้

ในปี พ.ศ. 2563 กองทัพอากาศได้ปรับปรุงอัตรากำลังของกองทัพอากาศเพื่อจัดตั้งกองบิน 3 ขึ้นมาอีกครั้ง[8]เพื่อรองรับภารกิจที่เพิ่มมากขึ้น โดยมีภารกิจหน้าที่ในการใช้กำลังทางอากาศ มีผู้บังคับการกองบิน 3 เป็นผู้บังคับบัญชา[2]

การจัดหน่วย

แก้

กองบิน 3 แบ่งส่วนการบริหารราชการภายใน[1] ดังนี้

ส่วนอำนวยการ

แก้
  • กองบังคับการ
    • แผนกธุรการ
    • แผนกกำลังพล
    • แผนกการข่าว
    • แผนกยุทธการ
    • แผนกส่งกำลังบำรุง
    • แผนกิจการพลเรือน
    • ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    • หมวดจัดหา
  • แผนกการเงิน

ฝูงบิน

แก้
  • ฝูงบิน 301 "Firefox"
    • หมวดสนับสนุน
    • ฝ่ายบริหารการฝึกศึกษา
    • ฝ่ายการข่าวเฝ้าตรวจและลาดตระเวน
    • ฝ่ายยุทธการและการฝึก
  • ฝูงบิน 302 "Wolfpack"
    • หมวดสนับสนุน
    • ฝ่ายการข่าวเฝ้าตรวจและลาดตระเวน
    • ฝ่ายยุทธการ
    • ฝ่ายการช่าง
    • ฝ่ายสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
    • ฝ่ายสรรพาวุธอิเล็กทรอนิกส์
    • หมวดคลังพัสดุ
  • ฝูงบิน 303
    • หมวดสนับสนุน
    • ฝ่ายการข่าวเฝ้าตรวจและลาดตระเวน
    • ฝ่ายยุทธการ
    • ฝ่ายการช่าง
    • ฝ่ายสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
    • ฝ่ายสรรพาวุธอิเล็กทรอนิกส์
    • หมวดคลังพัสดุ

กองพัน

แก้
  • กองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน 3
    • กองบังคับการกองพัน
    • กองร้อยทหารอากาศโยธิน
    • กองร้อยทหารต่อสู้อากาศยาน
    • กองร้อยรักษาการณ์
    • กองร้อยสนับสนุน

กองร้อย

แก้
  • กองร้อยสารวัตรทหาร
    • หมวดสารวัตรทหาร
    • หมวดรักษาการณ์
    • หมวดควบคุมและรักษาความปลอดภัย
    • เรือนจำ

ส่วนสนับสนุน

แก้
  • แผนกสนับสนุนการบิน
    • ฝ่ายข่าวอากาศ
    • ฝ่ายบังคับการพิน
  • กองเทคนิค
    • ฝ่ายจัดดำเนินงานและควบคุมมาตรฐาน
    • แผนกช่างอากาศ
    • แผนกสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
    • แผนกสรรพาวุธ
    • แผนกสนับสนุนการวิจัยและทดสอบ
    • หมวดบริการเชื้อเพลิง
  • โรงพยาบาลกองบิน
  • แผนกช่างโยธา
    • ฝ่ายอาคาร
    • หมวดโยธา
    • ฝ่ายสาธารณูปการ
    • หมวดดับเพลิงและกู้ภัย
    • หมวดคลังพัสดุ
  • แผนกขนส่ง
    • ฝ่ายพาหนะ
    • หมวดขนส่ง
    • หมวดซ่อมบำรุง
    • หมวดคลังพัสดุ
  • แผนกพลาธิการ
  • แผนกสวัสดิการ

อากาศยาน

แก้
อากาศยาน ผู้ผลิต บทบาท แบบ รุ่น ประจำการ รวม หมายเหตุ
อากาศยานไร้คนขับ
Aeronautics Defense Dominator   อิสราเอล ลาดตระเวน บร.ต.3[a] Dominator XP 3 3 [9][10]
RTAF U-1   ไทย บร.ตฝ.1[b] RTAF U-1 17 17 ติดตั้ง EO/IR[11]
Aerostar Tactical UAS   อิสราเอล ลาดตระเวน บร.ต.1[c] Aerostar BP 4 4 ติดตั้ง EO/IR
Sapura Cybereye   มาเลเซีย ลาดตระเวน Cybereye II 3 3[12] ติดตั้ง EO/IR

อดีตอากาศยาน

แก้

อากาศยานที่เคยประจำการในกองบิน 3 ก่อนจะถูกปลดประจำการหรือโอนไปสังกัดกองบินอื่น[1] ประกอบไปด้วย

ที่ตั้ง

แก้

ภารกิจ

แก้

ด้านการทหาร

แก้

กองบิน 3 เป็นหน่วยขึ้นตรงของกองทัพอากาศที่ดูแลปฏิบัติการที่ใช้งานอากาศยานไร้คนขับ โดยมีความพร้อมทั้งด้านการทำการบินและการบำรุงรักษาอากาศยานไร้คนขับของกองทัพอากาศ[13]ให้มีความพร้อมในการสนับสนุนปฏิบัติการทางอากาศ[1]

ด้านพลเรือน

แก้

กองบิน 3 ได้ส่งอากาศยานไร้คนขับเข้าร่วมปฏิบัติงานช่วยเหลืองานด้านพลเรือนหลากหลายภารกิจ เช่น

  • ภารกิจสนับสนุนการดับเพลิงไหม้ ส่งอากาศยานไร้คนขับในหมวดอากาศยานไร้คนขับ กองพันทหารนาวิกโยธิน กองบิน 3 สนับสนุนภาพถ่ายทางอากาศในภารกิจการดับเพลิงไหม้บ่อขยะในพื้นที่ตำบลหนองบอน อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2566[14]
  • ภารกิจสนับสนุนการเฝ้าระวังอุทกภัยในพื้นที่สระแก้ว โดยใช้อากาศยานไร้คนขับแบบ RTAF U1 ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว[15]
  • ภารกิจสนับสนุนการอำนวยความสะดวกการจราจรช่วงปีใหม่ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว[11]
  • ภารกิจสนับสนุนพื้นที่ปฏิบัติการฝนหลวงของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม[16]

หมายเหตุ

แก้
  1. เครื่องบินไร้นักบินตรวจการณ์แบบที่ 3
  2. เครื่องบินไร้คนขับตรวจการณ์และฝึกแบบที่ 1
  3. เครื่องบินไร้นักบินตรวจการณ์แบบที่ 1

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 "ประวัติความเป็นมา". web.archive.org. 2022-08-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-10. สืบค้นเมื่อ 2024-05-24.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  3. คำสั่งทหารบก ที่ 218/29941 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2461
  4. ตามคำสั่ง กองทัพอากาศ ที่ 2123/92 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2492
  5. คำสั่งกองทัพอากาศ (เฉพาะ) ที่ 32/10 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2510
  6. พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกองทัพอากาศ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ.2520 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2520
  7. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอน 74 เมื่อ 16 สิงหาคม 2520
  8. คำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ลับที่ 328/63 ลงวันที่ 29 กันยายน 2563 เรื่อง แก้ไขอัตรากองทัพอากาศ พ.ศ.2552 (ครั้งที่ 112) เป็นส่วนราชการขึ้นตรงกองทัพอากาศ (ตามอัตราเฉพาะกิจหมายเลข 2161)
  9. "เสริมเขี้ยวเล็บ! กองบิน 3 รับอากาศยานไร้คนขับ รองรับภารกิจการรบ-หนุนภารกิจรัฐบาล". www.khaosod.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 ""ทัพฟ้า" เสริมเขี้ยว เครื่องบินลาดตระเวนไร้คนขับ 3 ลำ เข้าประจำการ ฝูงบิน 302". เนชั่นทีวี. 2023-09-02.
  11. 11.0 11.1 "กองทัพอากาศ จัด UAV แบบ RTAF U1 บินสำรวจเส้นทางคมนาคมช่วงปีใหม่ 2565 ที่สระแก้ว". thaiarmedforce. 2021-12-30.
  12. "UAV in Royal Thai Air Force".
  13. "กองบิน 3 จัดพิธีสำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรช่างเทคนิค อากาศยานไร้คนขับ". www.khaosod.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "ทอ. กองบิน 3 ส่งโดรนบินถ่ายภาพทางอากาศ เหตุเพลิงไหม้บ่อขยะ สระแก้ว". www.khaosod.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "กองบิน 3 ใช้อากาศยานไร้นักบิน RTAF U1 บินตรวจพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม". thaiarmedforce. 2021-10-09.
  16. "กองบิน3 หนุนพื้นที่ฐานบิน ปฏิบัติการฝนหลวง โครงการพระราชดำริ ช่วยประชาชน". bangkokbiznews. 2023-06-16.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้