พรรคเศรษฐกร
พรรคเศรษฐกร เป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 โดยจดทะเบียนก่อตั้งพรรค เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2498 โดยมีเทพ โชตินุชิต เป็นหัวหน้าพรรค และแคล้ว นรปติ เป็นเลขาธิการพรรค[2] และมีการจดทะเบียนขึ้นใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองอีก 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ในชื่อ "พรรคแนวร่วม-เศรษฐกร" และเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 ในชื่อ "พรรคเศรษฐกร"
พรรคเศรษฐกร | |
---|---|
หัวหน้า | เทพ โชตินุชิต |
เลขาธิการ | แคล้ว นรปติ |
ก่อตั้ง | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2498 |
ถูกยุบ | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 (21 ปี) |
อุดมการณ์ | สังคมนิยม[1] |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ประวัติ
แก้พรรคเศรษฐกร (พ.ศ. 2498)
แก้พรรคเศรษฐกร จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 โดยจดทะเบียนก่อตั้งพรรค เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2498 โดยมีนาย เทพ โชตินุชิต เป็นหัวหน้าพรรค และนาย แคล้ว นรปติ เป็นเลขาธิการพรรค จนกระทั่งพรรคเศรษฐกรถูกยุบเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 ตามคำสั่ง คณะปฏิวัติ ที่มี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ[3]
พรรคแนวร่วม-เศรษฐกร
แก้พรรคแนวร่วม-เศรษฐกร จดทะเบียนตาม พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 โดยได้จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2511 เป็นลำดับที่ 5/2511 มีนาย เทพ โชตินุชิต เป็นหัวหน้าพรรคนาย แคล้ว นรปติ เป็นรองหัวหน้าพรรคนาย พรชัย แสงชัจจ์ เป็นเลขาธิการพรรคและนาย ทองใบ ทองเปาด์ เป็นรองเลขาธิการพรรค [4]
พรรคแนวร่วม-เศรษฐกรถูกยุบตามประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 9 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 [5]
พรรคเศรษฐกร (พ.ศ. 2517)
แก้พรรคเศรษฐกร จดทะเบียนก่อตั้งอีกครั้งตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ. 2517 โดยจดทะเบียนจัดตั้งพรรคเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 มีนายทิม ภูริพัฒน์ เป็นหัวหน้าพรรค[6] ต่อมาถูกยุบพรรคเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ตามคำสั่งของ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
การเลือกตั้ง
แก้การเลือกตั้ง 26 กุมภาพันธ์ 2500
แก้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 พรรคเศรษฐกรได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งปรากฏว่าได้ที่นั่งในสภาทั้งสิ้น 9 ที่นั่งโดยนายเทพหัวหน้าพรรคและนายแคล้วเลขาธิการพรรคก็ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา
การเลือกตั้ง 15 ธันวาคม 2500
แก้ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 ทางพรรคก็ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งปรากฏว่าได้ที่นั่งในสภาทั้งหมด 7 ที่นั่งลดลงจากการเลือกตั้งครั้งก่อน 2 ที่นั่ง
การเลือกตั้ง 10 กุมภาพันธ์ 2512
แก้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พรรคแนวร่วม-เศรษฐกร ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งปรากฏว่าทางพรรคได้ที่นั่งในสภาเพียง 4 ที่นั่งและนายเทพ โชตินุชิต หัวหน้าพรรคก็ยังพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งที่ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นบ้านเกิด
ในการเลือกตั้งครั้งนั้น มีสมาชิกของพรรคได้รับเลือกตั้ง ประกอบด้วย แคล้ว นรปติ มีเดช วรสีหะ สนั่น ธีระศรีโชติ และ สว่าง ตราชู จากจังหวัดขอนแก่นทั้ง 4 คน
การเลือกตั้ง 26 มกราคม 2518
แก้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 พรรคเศรษฐกร ได้รับเลือกตั้งจำนวน 1 ที่นั่ง คือ เริ่มรัฐ จิตรภักดี จากจังหวัดศรีสะเกษ
อ้างอิง
แก้- ↑ "อุดมการณ์สังคมนิยม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2018-06-30.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมืองเศรษฐกร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2018-04-24.
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๘ (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๔๙๘ ให้บรรดาพรรคการเมืองที่ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลงไป)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2016-05-26.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 85 ตอน 119 ง หน้า 3610 24 ธันวาคม พ.ศ. 2511
- ↑ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 9 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 88 ตอน 126 ก พิเศษ หน้า 3 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517