ทิม ภูริพัฒน์ เป็นอดีตรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของพลโท ถนอม กิตติขจร (ยศขณะนั้น) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี 4 สมัย และจังหวัดขอนแก่น 1 สมัย

ทิม ภูริพัฒน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
8 เมษายน – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม – 8 เมษายน พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร

ประวัติ แก้

ทิม เป็นบุตรของนายชู นางหอม และเป็นพี่ชายของ ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ อดีตรัฐมนตรีที่ถูกสังหารโหดเมื่อปี พ.ศ. 2492 เขาได้รับการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) จากโรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศ ในปี พ.ศ. 2463 จากนั้นได้เข้ารับราชการครู

การเมือง แก้

ทิม ภูริพัฒน์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2480 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 (ต่อมาเข้าร่วมกับพรรคสหชีพ)[1] ย้ายมาลงสมัครในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น หลังจากน้นกลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี อีก 3 สมัย ในปี พ.ศ. 2495 และ พ.ศ. 2500 (2 ครั้ง) สังกัดพรรคเศรษฐกร ครั้งหนึ่ง และพรรคสหภูมิ อีกครั้งหนึ่ง

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2491 ทิม ภูริพัฒน์ พร้อมด้วยทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เตียง ศิริขันธ์ ถวิล อุดล และ ฟอง สิทธิธรรม ถูกจับกุมในข้อหา “กบฏแบ่งแยกดินแดน” ซึ่งทั้งหมดถูกปล่อยตัวในชั้นศาล เนื่องจากไม่มีหลักฐาน[2]

ทิม เคยเป็นรองหัวหน้าพรรคเศรษฐกร ในปี พ.ศ. 2498[3]

ทิม ภูริพัฒน์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง ในรัฐบาลของพลโท ถนอม กิตติขจร (ยศขณะนั้น) ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 สั่งราชการกระทรวงศึกษาธิการ[4] ต่อมาวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2501 จึงปรับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[5] และพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2501[6]

ทิม ภูริพัฒน์ จดทะเบียนจัดตั้งพรรคเศรษฐกร ขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2517 โดยเขารับหน้าที่เป็นหัวหน้าพรรค[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. [ https://cuir.car.chula.ac.th/dspace/bitstream/123456789/37102/1/Boontarika_bo_back.pdf]
  2. ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์, การรวมกลุ่มทางการเมืองของ ส.ส.อีสาน พ.ศ. 2476–2494 (กรุงเทพฯ: มติชน, 2546), หน้า 448.
  3. “ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการจดทะเบียนพรรคเศรษฐกร” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 72 ตอนที่ 86 วันที่ 8 พฤษจิกายน 2498 หน้า 2689-2694,
  4. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งรัฐมนตรีสั่งราชการ
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (นายเสวตร เปี่ยมพงษ์สานต์ นายชื่น ระวิวรรณ พลตรี เนตร เขมะโยธิน นายทิม ภูริพัฒน์ นายอารีย์ ตันติเวชกุล)
  6. http://www.soc.go.th/cab_28.htm[ลิงก์เสีย]
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง (39 พรรค)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.