แคล้ว นรปติ
นายแคล้ว นรปติ (1 กันยายน พ.ศ. 2460 - 8 เมษายน พ.ศ. 2549) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น 8 สมัย อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดขอนแก่น อดีตเลขาธิการพรรคเศรษฐกร[1] และอดีตหัวหน้าพรรคแนวร่วมสังคมนิยม[2]
แคล้ว นรปติ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 กันยายน พ.ศ. 2460 อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ |
เสียชีวิต | 8 เมษายน พ.ศ. 2549 (88 ปี) |
ประวัติแก้ไข
แคล้ว เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2460[3] เป็นบุตรของนายแก้ว และ นางตุ้ม นรปติ สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง รวมถึงได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
แคล้ว ถึงแก่อสัญกรรม ด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2549 สิริอายุรวม 88 ปี [4]
งานการเมืองแก้ไข
อดีตเคยเป็นทนายความ แคล้วเข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองขอนแก่น และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดขอนแก่นในปี พ.ศ. 2492 ตามลำดับ ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2495 และได้รับเลือกเรื่อยมารวม 8 ครั้ง
ต่อมา ใน พ.ศ. 2543 แคล้วได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดขอนแก่น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแก้ไข
แคล้ว นรปติ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 8 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จังหวัดขอนแก่น
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคเศรษฐกร[5]
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคเศรษฐกร[6]
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคแนวร่วม-เศรษฐกร
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคแนวร่วมสังคมนิยม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคแนวร่วมสังคมนิยมแห่งประเทศไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคสังคมประชาธิปไตย (พ.ศ. 2525)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคกิจประชาคม
สมาชิกวุฒิสภาแก้ไข
แคล้ว นรปติ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด 1 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2548 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมืองเศรษฐกร
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 193 ง พิเศษ หน้า 1 18 กันยายน พ.ศ. 2518
- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2528. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2528
- ↑ สิ้น "ปู่แคล้ว นรปติ" ส.ว.ขอนแก่น วัย89
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยิ่งมงกุฎไทย [ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๘ รวม ๗,๒๕๖ ราย