นคร มาฉิม (เกิด 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2509) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

นคร มาฉิม
รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – มีนาคม พ.ศ. 2564[1]
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 (58 ปี)
อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2543–2556)
ชาติพัฒนา (2556–2560)
เพื่อไทย (2561–2564)
ภูมิใจไทย (2560–2561, 2565–2566)
คู่สมรสชลธิชา มาฉิม

ประวัติ

แก้

นคร มาฉิม เป็นบุตรของนายลา และนางจันทร์ทา มาฉิม[2] เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ที่อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และประกาศนียบัตรการเมืองการปกครองผู้บริหารระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า[3] ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ ชลธิชา มาฉิม ชื่อเดิมชื่อ สายชล แสงศรัทธา และมีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ อนันต์เชน มาฉิม[4]

การทำงานด้านการเมือง

แก้

นคร มาฉิม เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปี พ.ศ. 2556 ได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากทางพรรคประชาธิปัตย์ประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 แต่นครต้องการลงสมัคร ส.ส. ต่อ จึงได้ย้ายไปสังกัดพรรคชาติพัฒนา[5]

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[6]

ในการเลือกตั้งปีพ.ศ. 2566 นายนครได้สมัครรับเลือกตั้งสังกัดพรรคภูมิใจไทย

นายนคร มาฉิมยังเคยเป็นประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองสภาผู้แทนราษฎร รองประธานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ สภาผู้แทนราษฎร กรรมาธิการการแรงงาน และกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน)

การเคลื่อนไหวทางสังคม

แก้
 
นคร มาฉิม ขณะที่ปราศรัยอยู่ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

นคร มาฉิมกลับมาปรากฏเป็นข่าวอีกครั้งเมื่อนครโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวขอโทษ ดร.ทักษิณ ชินวัตร และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งตรงกับวันเกิดของ ทักษิณ โดยได้กล่าวยอมรับว่าเป็นส่วนในการล้มล้างรัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรีทั้งสอง และกล่าวถึงกลุ่มสมคบคิดเพื่อล้มล้างรัฐบาลจากการเลือกตั้ง[7] ซึ่งทำให้มีความพยายามจากพรรคประชาธิปัตย์ในการออกมาตอบโต้และกล่าวหาว่านครเอาความเท็จมานำเสนอ [8]

เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2561 คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ได้เข้าพบนครเพื่อขอข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยในขณะนั้น [9] ซึ่งต่อมา หนึ่งวันหลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ทหารจากมณฑลทหารบกที่ 39 สังกัดกองทัพภาคที่ 3 เข้ามาล้อมบ้านพักของนคร [10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. “นคร มาฉิม” ลาออกจาก “เพื่อไทย” ยัน ยังทำงานฝ่ายปชต. แต่ไม่ได้เข้าร่วมพรรค ”จาตุรนต์”-”สุดารัตน์”
  2. ประวัติ นคร มาฉิม
  3. "ประวัติการศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-11. สืบค้นเมื่อ 2018-07-31.
  4. บัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน
  5. "สุนารี ราชสีมา - นคร มาฉิม สวมเสื้อชาติพัฒนา ลงสมัครสส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2018-07-31.
  6. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ‘นคร มาฉิม’ อดีต ส.ส.พิษณุโลก ปชป.โพสต์ขอโทษ ‘แม้ว’ วันเกิด ร่ายยาวล้ม ‘ระบอบทักษิณ’
  8. งานเข้า! ปชป.จ่อเช็คบิล ‘นคร มาฉิม’ หลังแฉสารพัดวิธีกำจัด ‘แม้ว-ปู’ ตอนอยู่ร่วม!
  9. ‘อียู’ เข้าพบ นคร มาฉิม ที่พิษณุโลก พร้อมยันคำเดิม มีกลุ่มสมคบคิดล้ม ‘รัฐบาลยิ่งลักษณ์’
  10. ด่วน ‘นคร มาฉิม’ อดีต ส.ส.ปชป. โดนทหารล้อมบ้าน! หลัง ‘อียู’ เข้าพบเมื่อวานนี้!
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘