ศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์

ศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ (เกิด 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี 2 สมัย และอดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์[1] ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ

ศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 (55 ปี)
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2554–2566)
พลังประชารัฐ (2566–ปัจจุบัน)
คู่สมรสรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์

ประวัติ

แก้

ศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ (ชื่อเล่น : เจน) เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 จบการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการจัดการภาครัฐ จาก มหาวิทยาลัยสยาม [2] สมรสกับ นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี

งานการเมือง

แก้

ศรีสมร เข้าสู่งานก่ารเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ในช่วงปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2547 ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งเป็น เลขานุการรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ในช่วงปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2548 และได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลวังกะ อำเภอสังขละบุรี ในช่วงปี พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2554[3]

ศรีสมร ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกติดต่อกันจนถึง พ.ศ. 2562 รวม 2 สมัย ต่อมาในปี 2566 เธอได้ยื่นหนังสือลาออกและเข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ[4]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

ศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
  2. นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์
  3. "ประวัติฐานข้อมูล จาก thaipoliticwiki". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-22. สืบค้นเมื่อ 2021-03-18.
  4. 'ศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ 'ลาออกส.ส.ปชป.ย้ายค่ายซบพลังประชารัฐ
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔