อัศวิน วิภูศิริ

อัศวิน วิภูศิริ (เกิด: 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรองหัวหน้าตามภารกิจ พรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตเลขาธิการพรรคมหาชน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคชาติไทย อดีตเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลพื้นที่ภาคเหนือ อดีตรองหัวหน้าพรรคตามภารกิจ พรรคประชาธิปัตย์

อัศวิน วิภูศิริ
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
17 ธันวาคม 2556 – 9 ธันวาคม 2566
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 (72 ปี)
จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
พรรคการเมืองมหาชน (2547–2550)
ชาติไทย (2550—2551)
ชาติไทยพัฒนา (2551–2554)
ประชาธิปัตย์ (2554—ปัจจุบัน)

ประวัติ แก้

นายอัศวิน วิภูศิริ เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เป็นบุตรของนายศักดิ์ และนางลำดวล วิภูศิริ มีพี่น้อง 5 คน เกิดที่อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร[2] สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านสากเหล็ก มัธยมศึกษาจากโรงเรียนพิจิตรพิทยาคม ปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโทสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สมรสและหย่า มีบุตร 3 คน หนึ่งในนั้นคือนายชาญวิทย์ วิภูศิริ อดีตส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคพลังประชารัฐ

งานการเมือง แก้

นายอัศวินเป็นคนสนิทของพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งแบบสัดส่วน กลุ่มที่ 2 ลำดับที่ 1 พรรคชาติไทย[3] ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ย้ายมาลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 33 พรรคประชาธิปัตย์ จากการทาบทามจากนายไพฑูรย์ แก้วทอง[4] ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พร้อมกันนี้ยังได้ส่งนายชาญวิทย์ วิภูศิริ บุตรชาย ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 17 ด้วย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยพ่ายในนายวิชาญ มีนชัยนันท์ จากพรรคเพื่อไทย ไป 3,000 คะแนน

ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 12 พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

นายอัศวิน วิภูศิริ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 สมัย คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แบบลัดส่วน กลุ่มที่ 2 ลำดับที่ 1 สังกัดพรรคชาติไทย ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[5] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย เช่นเดียวกับในปี พ.ศ. 2562[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
  2. "สายล่อฟ้า 20 07 59". ฟ้าวันใหม่. July 21, 2016. สืบค้นเมื่อ July 20, 2016.
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน
  4. "อัศวิน วิภูศิริ"รับ"ไพฑูรย์ แก้วทอง"ทาบซบ ปชป. ชิงพื้นที่พิจิตร
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  6. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 10 May 2019.
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓
  8. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-28. สืบค้นเมื่อ 2013-12-07.
  9. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๕ (จำนวน ๕,๘๒๖ ราย) เก็บถาวร 2014-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้