นาวาตรี สุธรรม ระหงษ์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายจุติ ไกรฤกษ์)[1] เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรสาคร กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[2] และผู้อำนวยการพรรคประชาธิปัตย์

สุธรรม ระหงษ์
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ดำรงตำแหน่ง
13 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565
นายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 เมษายน พ.ศ. 2505 (62 ปี)
อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสนาวาเอกหญิง อิชยา ระหงษ์

ประวัติ แก้

สุธรรม ระหงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2505 ที่ ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรของ นายอุดม ระหงษ์ และนางมาลัย ระหงษ์[3] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี บัญชีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ รัฐศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การทำงาน แก้

สุธรรม ระหงษ์ เข้ารับราชการเป็นทหารเรือ ในปี พ.ศ. 2528 ต่อมาโอนย้ายมาเป็นปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง) สังกัดกรมการปกครอง ในปี พ.ศ. 2535 และลาออกมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในปี พ.ศ. 2543 และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544

และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ลงเลือกตั้งอีกครั้งแต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จนกระทั่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ลงสมัครรับเลือกตั้งแบบ 1 เขต 3 คน เขาได้คะแนนมาเป็นอันดับที่ 1 ได้เป็น ส.ส.สมัยที่ 2

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม สังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 31 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[4] จนเมื่อนายกนก วงษ์ตระหง่าน ลาออกเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565 นาวาตรีสุธรรม จึงได้เลื่อนลำดับในตำแหน่ง ส.ส. ในที่สุด[5]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

สุธรรม ระหงษ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 13 สิงหาคม 2562
  2. ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
  3. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 2013-08-28.
  4. เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
  5. เปิดชื่อ "4 ส.ส.บัญชีรายชื่อ"เลื่อนลำดับแทนที่ลาออก เข้าสภาฯลง"ราชกิจจาฯ"
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๒, ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๑๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๑๑ ตุลาคม ๒๕๓๖