วินัย เสนเนียม
วินัย เสนเนียม (22 สิงหาคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 6 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
วินัย เสนเนียม | |
---|---|
ไฟล์:วินัย เสนเนียม.jpg | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2501 อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552 (51 ปี) สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2535–2552) |
คู่สมรส | แพทย์หญิง วนิดา เสนเนียม |
ญาติ | ถาวร เสนเนียม (พี่ชาย) |
ประวัติ
แก้วินัย เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2501 เป็นบุตรนายพวงแก้ว นางเริ่ม เสนเนียม[1] มีพี่ชาย คือถาวร เสนเนียม ด้านครอบครัวสมรสกับแพทย์หญิงวนิดา เสนเนียม มีบุตร 2 คน
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
งานการเมือง
แก้วินัย เริ่มเข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็นผู้ช่วยดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาเขต และประธานสภาเขตพญาไท ต่อมาลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 6 ครั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้วินัย เสนเนียม ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 6 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้วินัย เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งลำไส้ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552 สิริอายุ 51 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ณ วัดหงษ์ประดิษฐาราม ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ วินัย เสนเนียม เสียชีวิตแล้วด้วย โรคมะเร็งลำไส้
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕