เจิมมาศ จึงเลิศศิริ

เจิมมาศ จึงเลิศศิริ เหรัญญิกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ประจำคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช)[1] อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์[2] อดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตที่ 1 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 3 สมัย และอดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 2 สมัย

เจิมมาศ จึงเลิศศิริ
เจิมมาศ ใน พ.ศ. 2555
ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
13 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 5 เมษายน พ.ศ. 2565
นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ก่อนหน้าศิริ หวังบุญเกิด
ถัดไปยุบเขต
เขตเลือกตั้งเขตพระนคร และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ก่อนหน้ากฤษฎา สัจจกุล
ประจวบ อึ๊งภากรณ์
หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล
ถัดไปตัวเธอเอง
อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์
ลีลาวดี วัชโรบล
เขตเลือกตั้งเขตดุสิต, เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตปทุมวัน และเขตราชเทวี
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ก่อนหน้าหม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล
อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์
ตัวเธอเอง
ถัดไปกานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ
เขตเลือกตั้งเขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตสัมพันธวงศ์
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 25 เมษายน พ.ศ. 2545
ดำรงตำแหน่ง
16 มิถุนายน พ.ศ. 2545 – 6 มีนาคม พ.ศ. 2548
ก่อนหน้าศิริ หวังบุญเกิด
ถัดไปเอก จึงเลิศศิริ
เขตเลือกตั้งเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 (64 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2528–ปัจจุบัน)
คู่สมรสเอก จึงเลิศศิริ

ประวัติ แก้

นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีน ที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจาก โรงเรียนคริสต์ธรรมวิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจาก โรงเรียนสีตบุตรบำรุง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอัสสัมชัญพณิชยการ (ACC) ระดับปริญญาตรี จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ชีวิตส่วนตัว สมรสกับนายเอก จึงเลิศศิริ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

การเมือง แก้

นางเจิมมาศ เริ่มเข้าสู่วงการการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และชนะการเลือกตั้งติดต่อกัน 2 สมัย ต่อมาในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 นางเจิมมาศจึงได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เขตเลือกตั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย เขตพระนคร - เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สังกัด พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งสามารถเอาชนะ นายศิริ หวังบุญเกิด เจ้าของพื้นที่เดิมจากพรรคไทยรักไทย และเป็น 1 ใน 4 ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ที่ชนะการเลือกตั้งพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550 นางเจิมมาศ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยลงประกบคู่กับ หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล และนางสาวอรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ ซึ่งได้รับเลือกตั้งไปหมดทั้ง 3 คน ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2554 นางเจิมมาศได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อีกครั้งในเขตเลือกตั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร - เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย - เขตสัมพันธวงศ์) ในนามพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 นางเจิมมาศ สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งในเขตเลือกตั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร เขตพระนคร - เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย - เขตสัมพันธวงศ์ และ เขตดุสิต ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่แพ้การเลือกตั้งเป็นครั้งแรก จากนั้นจึงเข้าดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ประจำคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ต่อมาได้ลงรับสมัครในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 แต่มิได้รับการเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 13 สิงหาคม 2562
  2. เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒

แหล่งข้อมูลอื่น แก้