พฤฒิชัย ดำรงรัตน์
นายแพทย์ พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายแพทย์ พฤฒิชัย เป็นผู้ร่วมบุกเบิกก่อตั้ง “มูลนิธิทานตะวัน 19” รักษาคนไข้ที่มีฐานะยากจน และผู้ด้อยโอกาส จนได้รับฉายา “หมอ 19 บาท”
พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 | |
ก่อนหน้า | ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี |
ถัดไป | มั่น พัธโนทัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มกราคม พ.ศ. 2506 กรุงเทพ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2544 – 2550) เพื่อแผ่นดิน (2550 – 2554) ชาติไทยพัฒนา (2556-ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ปานบัว บุนปาน |
ประวัติ แก้ไข
นายแพทย์ พฤฒิชัย เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2506 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายจรัล และนางพงษ์เพ็ญ ดำรงรัตน์ เจ้าของกิจการบริษัท กำแพงเพชรวิวัฒน์ก่อสร้าง จำกัด มีน้องชาย คือ นายธนการ ดำรงรัตน์ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 6 พรรคเพื่อแผ่นดิน
นายแพทย์ พฤฒิชัย สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท ระดับปริญญาตรีแพทยศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2532 และระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2542)
การทำงาน แก้ไข
นายแพทย์ พฤฒิชัย เคยทำงานเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลสุรินทร์ จากนั้นจึงหันเหเข้าสู่วงการการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคไทยรักไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (เขตบึงกุ่ม) และได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 นายแพทย์พฤฒิชัย ได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรค ซึ่งในการร่วมรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ [1] ซึ่งการทำงานของนายแพทย์พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ ได้รับฉายาจากพรรคเพื่อไทย เป็น 1 ใน 10 รัฐมนตรีไร้ผลงาน ว่า "รัฐมนตรีเงียบสงัด เหงา"[2]
ในการปรับคณะรัฐมนตรีหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 นายแพทย์พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ ถูกปรับออกจากตำแหน่ง [3]
นายแพทย์ พฤฒิชัย ได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552 และได้ลาออกจากตำแหน่งพร้อมกับกรรมการบริหารพรรคจำนวนหลายคน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ต่อมาในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554 ได้รับตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน แทนนายถิรชัย วุฒิธรรม ที่ลาออกไปร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
- ↑ เพื่อไทย ตั้งฉายา 10 รมต. ไร้ผลงาน[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รวม 18 ราย)
- ↑ ""พฤฒิชัย" รายงานตัว ส.ส.เสียบแทน "ถิรชัย"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-11. สืบค้นเมื่อ 2011-05-01.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข
- ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง เก็บถาวร 2009-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน