ถิรชัย วุฒิธรรม

นายถิรชัย วุฒิธรรม เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ถิรชัย วุฒิธรรม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 มีนาคม พ.ศ. 2493 (74 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย

ประวัติ

แก้

ถิรชัย เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2493 จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ระดับปริญญาตรี สาขาจิตวิทยา จากCornell สหรัฐอเมริกา และปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ และปริญญาตรี สาขาการบริหารจัดการกอล์ฟ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ สาขาการศึกษาต่อเนื่อง จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร(วปอ.)รุ่นที่4 (ปี 2534-2535) มีเพื่อนร่วมรุ่นเช่น ประชา มาลีนนท์ , พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฎฐ์ , ห้างทอง ธรรมวัฒนะ, พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ , พล.อ.นฤนาท กัมปนาทแสนยากร เป็นต้น

มีบุตรชาย ได้แก่ นายธันว์ วุฒิธรรม อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

การทำงาน

แก้

ถิรชัย วุฒิธรรม มีบทบาทในวงการกีฬาหลายชนิด เคยดำรงตำแหน่งอุปนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อุปนายกสมาคมรักบี้ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมกีฬาอีกนับสิบสมาคม เป็นคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในส่วนของงานการเมืองเขาเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เคยดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง ดำรงตำแหน่งเลขาธิการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน) เป็นผู้มีบทบาทในการพัฒนากรุงเทพมหานครในทุกยุคสมัย เป็นกรรมการบริหารบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) กรรมการบริหารบริษัทการท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และดำรงตำแหน่งบอร์ดบริษัทรัฐวิสาหกิจอีกหลายแห่ง เขายังเป็นพลเรือนผู้มีบทบาทในแวดวงทหารหลายยุคสมัย โดยเฉพาะช่วงปี 2532-2550 ไล่ตั้งแต่ยุคของ พล.อ.อ. เกษตร โรจนนิล จนถึง ผบ.เหล่าทัพหลายยุคสมัย เป็นผู้มีประสบการณ์และความรู้ในแวดวงกีฬาและการเมือง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท M picture entertainment จำกัด (มหาชน) ในเครือ Major Cineplex

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ถิรชัย วุฒิธรรม ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ในสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน (กลุ่มพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก) แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่ต่อมาได้เลื่อนขึ้นมาแทนตำแหน่งที่ว่างของหม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ไชยันต์ ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 74 และได้เลื่อนขึ้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ แทนนายยุรนันท์ ภมรมนตรี ที่ลาออกไปลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่างในเขตเลือกตั้งที่ 12 กรุงเทพมหานคร[1] ต่อมาเขาได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้