โสภณ ซารัมย์
นายโสภณ ซารัมย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ เขต 4 สังกัดพรรคภูมิใจไทย ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคมในสภาผู้แทนราษฎร[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
โสภณ ซารัมย์ | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | สันติ พร้อมพัฒน์ |
ถัดไป | พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 มีนาคม พ.ศ. 2502 จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ชาติไทย ไทยรักไทย พลังประชาชน ภูมิใจไทย |
คู่สมรส | นางอารีญาภรณ์ ซารัมย์ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ประวัติ แก้ไข
โสภณ เกิดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2502 ที่ บ้านหนองเก้าข่า ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ สมรสกับนางอารีญาภรณ์ ซารัมย์ มีบุตร 3 คน
นายโสภณ ซารัมย์ จบการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาการประถมศึกษา จากวิทยาลัยครูบุรีรัมย์
งานการเมือง แก้ไข
นายโสภณ ซารัมย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดบุรีรัมย์ ในปี พ.ศ. 2544 ในนามพรรคชาติไทย และการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 นายโสภณ ได้รับการเลือกตั้งในนามพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ภายหลังการยุบพรรคพลังประชาชน นายโสภณ ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดของนายเนวิน ชิดชอบ จึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย พ.ศ. 2553
ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แก้ไข
โสภณ ซารัมย์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[2] และในการร่วมรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[3]
ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี พ.ศ. 2553 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม และ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 มีรัฐมนตรีจำนวน 5 คนที่ถูกอภิปราย ซึ่งนายโสภณ ซารัมย์ ก็เป็นรัฐมนตรีที่ฝ่ายค้านเสนอญัตติอภิปรายเช่นกัน โดยการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายโสภณในครั้งนี้ มุ่งเน้นที่เรื่องการทุจริตการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ (สายสีม่วง) วงเงินลงทุน 36,055 ล้านบาท เนื่องจากนายโสภณได้ปรับเปลี่ยนวงเงินลงทุนจาก 4 โครงการ เหลือ 1 โครงการ แต่วงเงินลงทุนยังเท่าเดิม อีกทั้ง ยังเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชน 2 ราย คือ บริษัท ซิโน-ไทย จำกัด วงเงิน 3,233 ล้านบาท ซึ่งเป็นบริษัทเครือญาติของนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และบริษัท ช.การช่าง วงเงิน 2,658 ล้านบาท ทำให้รัฐสูญเสียเงินถึง 6,001 ล้านบาท [4] ภายหลังได้มีการลงมติไม่ไว้วางใจ โดยนายโสภณ ซารัมย์ ได้รับคะแนนเสียงไว้วางใจ 234 เสียง ไม่ไว้วางใจ 196 เสียง ผ่านการไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นที่มาของปัญหาการโหวตไม่ไว้วางใจของพรรคร่วมรัฐบาล (พรรคเพื่อแผ่นดิน) จนต้องมีการปรับพรรคเพื่อแผ่นดิน ออกจากการร่วมรัฐบาล [5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
- ↑ “ร.ต.อ.เฉลิม” ใช้เวลา 2 ชม. อภิปราย 3 รมต.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผลลงมติ “ชวรัตน์-โสภณ” รมต.จากภูมิใจไทย เจอ ส.ส.พรรคร่วมโหวตสวนไม่ไว้วางใจ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
ก่อนหน้า | โสภณ ซารัมย์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สันติ พร้อมพัฒน์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 59) (20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554) |
พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต |