สุกำพล สุวรรณทัต

พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต (เกิด 17 สิงหาคม พ.ศ. 2494) ชื่อเล่น โอ๋ เป็นทหารอากาศและนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตจเรทหารทั่วไป อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ และอดีตเสนาธิการทหารอากาศ

สุกำพล สุวรรณทัต
สุกำพล สุวรรณทัต ในนิวเดลี วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
18 มกราคม พ.ศ. 2555 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้ายุทธศักดิ์ ศศิประภา
ถัดไปยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าโสภณ ซารัมย์
ถัดไปจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 สิงหาคม พ.ศ. 2494 (73 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพลังประชาชน (2550—2551)
เพื่อไทย (2552—ปัจจุบัน)
คู่สมรสพิไลวรรณ สุวรรณทัต
ศิษย์เก่า
อาชีพ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพอากาศไทย
ประจำการพ.ศ. 2518–2555
ยศ พลอากาศเอก

ประวัติ

แก้

พลอากาศเอกสุกำพล สุวรรณทัต เกิดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2494 เป็นบุตรของนาวาอากาศเอก สุวัตถิ์ สุวรรณทัต กับนางราตรี สุวรรณทัต จบการศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 4, โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 (ตท.10), โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 17, โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ 45, โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ 29, วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 29, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 46 มีน้องชาย 2 คน ชื่อ พลอากาศเอก สุรจิต สุวรรณทัต ราชองครักษ์พิเศษ[1]และ พลอากาศโท สุรพันธ์ สุวรรณทัต เจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทหารอากาศ

ชีวิตครอบครัวสมรสกับนางพิไลวรรณ สุวรรณทัต (สกุลเดิม พลิกานนท์) มีบุตรสาว 3 คน คือ พิมลพรรณ สุวรรณทัต สันตยา สุวรรณทัต และสุภาวรรณ สุวรรณทัต[2]

การทำงาน

แก้

พลอากาศเอกสุกำพล ผ่านหน้าที่และการรับตำแหน่งสำคัญ ๆ ต่าง ๆ เช่น เจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ, ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศ ฝ่ายยุทธการ, รองเสนาธิการทหารอากาศ, เสนาธิการทหารอากาศ และผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ [3]

โดย พลอากาศเอกสุกำพลนั้นเป็นบุคคลที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่นั้น ได้วางตัวจะให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ ด้วยเหตุว่าเป็นเพื่อนนักเรียนร่วมรุ่นโรงเรียนเตรียมทหารด้วยกันมา แต่ทว่าหลังเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 แล้ว ได้มีการปรับเปลี่ยนสายการบังคับบัญชาในกองทัพใหม่ ทำให้ทางนายทหารรุ่นเตรียมทหาร 10 หลายคนต้องหลุดจากตำแหน่งคุมกำลังพล ในส่วนของ พลอากาศเอกสุกำพล ก็ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ ในปี พ.ศ. 2550[4] และปรับเปลี่ยนเป็นจเรทหารทั่วไป ในปี พ.ศ. 2551[5]

การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

แก้

ต่อมาได้เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554[6] กระทั่งเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ได้ปรับมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[7] และเป็นผู้ดำเนินการถอดยศของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนเป็นเหตุให้นำไปสู่การยื่นตรวจสอบคุณสมบัติของนายอภิสิทธิ์ กระทั่งเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 เขาจึงถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี[8]

คดีความ

แก้

กรณีโยกย้ายปลัดกระทรวงกลาโหม

แก้

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ตั้งคณะอนุไต่สวนกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ขณะที่พลอากาศเอกสุกำพล สุวรรณทัต ได้เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรณีแต่งตั้งนายทหารระดับสูงขึ้นมาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหมโดยในขณะนั้นได้มีคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๓๘๓/๒๕๕ ลว.๒๗ ส.ค. ๕๕ ย้าย 1.พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม 2.พล.อ.ชาตรี ทัตติ รองปลัดกระทรวงกลาโหม และ 3.พล.อ.พิณภาษณ์ สริวัฒน์ เจ้ากรมเสมียนตรา[9]โดยภายหลังศาลปกครองมีคำสั่งทุเลาคำสั่งกระทรวง[10]ในกรณีดังกล่าวพล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ได้ฟ้องต่อศาลปกครองในคดีหมายเลขดำที่ ๑๗๔๗/๒๕๕๕ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)มีมติ แจ้งข้อกล่าวหา ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558[11]และต่อมาในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติ ถอดถอน พลอากาศเอกสุกำพล ส่งผลให้ไม่สามารถรับราชการได้ 5 ปี

กรณีถอดยศอดีตนายกรัฐมนตรี

แก้

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองซึ่งศาลได้รับเป็นคดีหมายเลขดำที่ 2900/2555[12]คดีอยู่ระหว่างไต่สวน โดยคำฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ฉบับลงวันที่ 8 พ.ย. 55 ที่สั่งปลด ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกจากราชการฐานใช้เอกสารปลอมเข้ารับราชการทหารที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[13]ต่อมา วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชนะคดีส่งผลให้คำสั่งของ พลอากาศเอก สุกำพล เป็นโฆษะ อภิสิทธิ์ ได้ดำเนินการฟ้องร้อง สุกำพล สุวรรณทัต ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติ สุกำพล
  2. บัญชีทรัพย์สินของรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
  3. "ประวัติจากเว็บไซต์กองทัพอากาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-14. สืบค้นเมื่อ 2010-07-25.
  4. คลอดบัญชีโยกย้ายนายทหาร ล้างฐานทักษิณ รุ่น10เกลี้ยงเด้งเข้ากรุเรียบ[ลิงก์เสีย]
  5. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายทหาร ประจำปี 2551 เก็บถาวร 2008-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากสำนักข่าวไทย
  6. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 2
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
  9. "เจ้ากรมเสมียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-17. สืบค้นเมื่อ 2013-11-18.
  10. คำสั่งกระทรวง[ลิงก์เสีย]
  11. ข้อกล่าวหา
  12. ฟ้องต่อศาล[ลิงก์เสีย]
  13. ออกจากราชการ[ลิงก์เสีย]
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๓, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒๙ กันยายน ๒๕๒๑
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๙, ๔ สิงหาคม ๒๕๒๑
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๑ มกราคม ๒๕๓๐
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๒, ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
ก่อนหน้า สุกำพล สุวรรณทัต ถัดไป
โสภณ ซารัมย์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 60)
(9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 18 มกราคม พ.ศ. 2555)
  จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ครม.60)
(18 มกราคม พ.ศ. 2555 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556)
  ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร