คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Agricultural Technology, Rajabhat Mahasarakham University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 ในฐานะคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันราชภัฏมหาสารคาม ปัจจุบัน คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามเป็นหนึ่งในคณะที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย
Faculty of Agricultural Technology, Rajabhat Maha Sarakham University | |
ชื่อย่อ | ทลก. / AGT |
---|---|
สถาปนา | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 |
คณบดี | รศ.ดร.รภัสสา จันทาศรี |
ที่อยู่ | คณะเทคโนโลยีการเกษตร เลขที่ 80 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม |
วารสาร | วารสารเกษตรพระวรุณ |
สี | สีเขียว |
เว็บไซต์ | http://agt.esandev.com/ |
ประวัติ
แก้คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ก่อตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2468 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนประถมกสิกรรม จังหวัดมหาสารคาม จัดสอนรายวิชาเกษตรกรรมในกลุ่มวิชาพื้นฐานของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) พ.ศ. 2510 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) วิชาเอกเกษตรกรรม ต่อมาในปีพ.ศ. 2519 ยกฐานะเป็นภาควิชาเกษตรศาสตร์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยครูมหาสารคาม จัดการศึกษาทั้งภาคปกติและภาคนอกเวลา เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (คบ.) โปรแกรมวิชาเกษตรกรรม พ.ศ. 2527 นอกจากนี้ ภาควิชาเกษตรศาสตร์เปิดสอนสาขาวิชาชีพอื่นนอกจากวิชาชีพครู ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) โปรแกรมวิชาเกษตรศาสตร์ โปรแกรมวิชาส่งเสริมและสื่อสารการเกษตร และสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคอาชีพ สาขาวิชาพืชศาสตร์ และสาขาวิชาสัตวบาล[1]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 วิทยาลัยครูมหาสารคามเห็นว่าหลักสูตรสามารถพัฒนาขึ้นเป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาได้ จึงได้ดำเนินการโครงการจัดตั้งคณะเกษตรศาสตร์ ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 วิทยาลัยครูทุกแห่งได้รับพระราชทานนามว่า “สถาบันราชภัฏ” ซึ่งแปลว่า “คนของพระราชา” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “ Rajabhat Institute” และต่อท้ายด้วยชื่อเดิมหรือชื่อจังหวัด ทำให้ในวันที่ 25 มกราคม 2538 จึงได้มีการยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏมหาสารคาม และดำเนินงานตามพระราชบัญญติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538[2] และวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏจึงเกิดเป็น “สถาบันราชภัฏมหาสารคาม” ส่งผลให้โครงการจัดตั้งคณะเกษตรศาสตร์ต้องชะลอการจัดตั้งไปก่อน
ในปีพ.ศ. 2542 จึงได้มีการยกฐานะโครงการจัดตั้งคณะเกษตรศาสตร์ขึ้นเป็น “คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันราชภัฏมหาสารคาม” มีการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และสาขาวิชาสัตวบาล โดยที่สำนักงานคณะตั้งอยู่ริมห้วยคะคางฝั่งตะวันตกบนเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ ประกอบด้วยอาคารเรียน แปลงปฏิบัติการด้านพืช เรือนเพาะชำ สถานที่ปฏิบัติการด้านประมง และฟาร์มปฏิบัติการด้านเลี้ยงสัตว์
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547[3] ซึ่งส่งผลให้สถาบันราชภัฏมหาสารคามเปลี่ยน สถานะเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม” และคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันราชภัฏมหาสารคาม ก็ได้ยกฐานะเป็น “คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม” ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 จนถึงปัจจุบัน[4]
โครงสร้างหน่วยงาน
แก้โครงสร้างการบริหารงานของคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีดังนี้[5]
- สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
- กลุ่มงานอำนวยการ
- กลุ่มงานพัฒนานักศึกษา
- กลุ่มงานบริการการศึกษา
- กลุ่มงานการเงินและพัสดุ
หลักสูตร
แก้หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม[6] | |||
---|---|---|---|
ระดับปริญญาบัณฑิต | ระดับปริญญามหาบัณฑิต | ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต | |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
|
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติคณะเทคโนโลยีการเกษตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-14.
- ↑ พระราชบัญญติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547
- ↑ "ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-14.
- ↑ "โครงสร้างหน่วยงาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-14.
- ↑ "หลักสูตรการศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-14.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2021-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน