บุญรื่น ศรีธเรศ

บุญรื่น ศรีธเรศ (เกิด 10 ตุลาคม พ.ศ. 2486) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ 5 สมัย สังกัดพรรคเพื่อไทย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

บุญรื่น ศรีธเรศ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้านริศรา ชวาลตันพิพัทธ์
ถัดไปศักดา คงเพชร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
บุญรื่น มัธยมนันทน์

10 ตุลาคม พ.ศ. 2486 (80 ปี)
อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย
พรรคการเมืองความหวังใหม่ (2534–2543)
ไทยรักไทย (2543–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)
คู่สมรสสังข์ทอง ศรีธเรศ

ประวัติ

แก้

บุญรื่น ศรีธเรศ หรือ บุญรื่น มัธยมนันทน์ ซึ่งเป็นสกุลสืบสายมาจากหลวงประเวทย์อุธรณ์ขันธ์ (ลี มัธยมนันทน์) นายอำเภอกุฉินารายณ์คนแรก บุญรื่นเกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ที่ตำบลไผ่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สำเร็จการศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) และปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จากวิทยาลัยครูมหาสารคาม และสำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรการเมืองการปกครองของผู้บริหารระดับสูง จากสถาบันพระปกเกล้า เมื่อปี พ.ศ. 2545 และระดับปริญญาโท สาขาวิชารัฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ นายสังข์ทอง ศรีธเรศ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์ 7 สมัย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ มีบุตรรวม 3 คน คือ นายอัศวิน ศรีธเรศ (เสียชีวิต) นายสุรทิน ศรีธเรศ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิภารัตน์ ศรีธเรศ

การทำงาน

แก้

บุญรื่น ศรีธเรศ เคยรับราชการครู ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมือง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 (เขต 5) เป็นครั้งแรก ในสังกัดพรรคไทยรักไทย ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 (เขต 1 พรรคไทยรักไทย), พ.ศ. 2550 (เขต 1 พรรคพลังประชาชน เมื่อ พ.ศ. 2551 พรรคพลังประชาชนถูกยุบ ย้ายสังกัดพรรคเพือ่ไทย) และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 (เขต 1 พรรคเพื่อไทย) และยังได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[1] ดูแลรับผิดชอบการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[2] และถูกปรับออกจาตำแหน่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555[3]

นางบุญรื่น เป็นผู้มีบทบาทในการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ซึ่งมีการเสนอจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 [4] และวันที่ 8 กันยายน 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558" มีผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สิ้นสุดสถานะความเป็นสถาบันอุดมศึกษาในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา และเป็นการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ขึ้นในวันเดียวกัน [5]

การลงเลือกตั้ง

แก้

บุญรื่น ศรีธเรศ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคพลังประชาชน
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย

โดยมีสถิติคะแนนการลงสมัครรับเลือกตั้ง ดังนี้

การเลือกตั้ง เขต อันดับที่ 1 (ได้รับเลือกตั้ง) อันดับที่ 2 (ไม่ได้รับเลือกตั้ง) อันดับที่ 3 (ไม่ได้รับเลือกตั้ง)
พ.ศ. 2544 5 นางบุญรื่น ศรีธเรศ
(พรรคไทยรักไทย)
27,852 คะแนน
นายพนมพร เขตอนันต์
(พรรคความหวังใหม่)
19,491 คะแนน
นายชาญณรงค์ หวังมนตรี
(พรรคประชาธิปัตย์)
13,151 คะแนน
พ.ศ. 2548 1 นางบุญรื่น ศรีธเรศ
(พรรคไทยรักไทย)
42,093 คะแนน
นายวิรัช พิมพะนิตย์
(พรรคชาติไทย)
27,072 คะแนน
นายชัชวาล เชิญตระกูล
(พรรคมหาชน)
6,352 คะแนน
พ.ศ. 2550 1 นางบุญรื่น ศรีธเรศ
99,131 คะแนน
นายวีระวัฒน์ โอสถานุเคราะห์
95,719 คะแนน
นายคมเดช ไชยศิวามงคล
68,890 คะแนน
(พรรคพลังประชาชนทั้งหมด)
นายยงยุทธ หล่อตระกูล
63,281 คะแนน
(พรรคชาติไทย)
นายวิรัช พิมพะนิตย์
54,563 คะแนน
(พรรคชาติไทย)
นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง
53,992 คะแนน
(พรรคประชาราช)
27 คน
พ.ศ. 2554 1 นางบุญรื่น ศรีธเรศ
(พรรคเพื่อไทย)
34,127 คะแนน
นายชัย คูสกุลรัตน์
(พรรคภูมิใจไทย)
24,888 คะแนน
นางจารุณี พิมพะนิตย์ ณ นครพนม
(พรรคชาติไทยพัฒนา)
13,772 คะแนน
พ.ศ. 2562 1 นางบุญรื่น ศรีธเรศ
(พรรคเพื่อไทย)
37,532 คะแนน
นายวิรัช พิมพะนิตย์
(พรรคภูมิใจไทย)
32,275 คะแนน
นายปิยรัฐ จงเทพ
(พรรคอนาคตใหม่)
17,750 คะแนน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 3
  2. ศธ.แบ่งงาน3รมต.ดูแลรายภูมิภาค 'บุญรื่น'เล็งลงพื้นที่แก้ปัญหาครูทำคุณภาพเด็กต่ำ
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
  4. "หารือตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ท่ามกลางเสียงคัดค้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-28. สืบค้นเมื่อ 2012-10-02.
  5. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอน 86 ก หน้า 45 8 กันยายน 2558
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔