มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (อังกฤษ: Nakhon Sawan Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เปิดทำการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตร ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
Logo nsru.png
ตราพระราชลัญจกร
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อย่อมรนว. (NSRU)
คติพจน์การดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เป็นชีวิตที่ประเสริฐที่สุด
ประเภทรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (18 ปี)
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไชยรัตน์ ปราณี
นายกสภามหาวิทยาลัยสมเชาว์ เกษประทุม[1]
ที่ตั้ง
เว็บไซต์www.nsru.ac.th
ดูบทความหลักที่: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ประวัติแก้ไข

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2465 โดยมีชื่อเดิมว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูมูลกสิกรรม" ประจำมณฑลนครสวรรค์ โดยรับนักเรียนที่จบชั้นประถมปีที่ 4 มาเรียน 2 ปี ตามหลักสูตรกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) นักเรียนที่จบแล้วจะได้รับวุฒิครูมูล โดยมีนายสวัสดิ์ กัณหเนตร เป็นครูใหญ่ ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "ขุณกัณหเนตรศึกษากร"

ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการยุบไปรวมกับโรงเรียนฝึกหัดครูมูลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2477 ได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม ปี พ.ศ. 2498 จัดตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูนครสวรรค์

ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 ได้ยกฐานะเป็น "วิทยาลัยครูนครสวรรค์" พร้อมกับเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา และประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง และต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้ให้วิทยาลัยครูนครสวรรค์เปิดสอนได้จนถึงระดับปริญญาตรี ตาม พรบ.วิทยาลัยครู พ.ศ. 2518

ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานนาม "ราชภัฎ" จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และได้รับการยกฐานะเป็น "สถาบันราชภัฏนครสวรรค์" มีการเปิดสอนจนถึงระดับปริญญาโท

และในปี พ.ศ. 2547 ได้ยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์" และเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก

คณะแก้ไข

คณะครุศาสตร์

  • หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.5 ปี) เปิดสอน 8 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

2.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

3.สาขาวิชาคณิตศาสตร์

4.สาขาวิชาอังกฤษ

5.สาขาวิชาภาษาไทย

6.สาขาวิชาสังคมศึกษา

7.สาขาวิชาพลศึกษา

8.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการศึกษา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.4 ปี) เปิดสอน 11 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

2.สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

3.สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย

4.สาขาวิชาคณิตศาสตร์

5.สาขาวิชาเคมี

6.สาขาวิชาชีววิทยา

7.สาขาวิชาฟิสิกส์

8.สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

9.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

10.สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (แขนงวิชาสาธารณสุขชุมชน)

11.สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (แขนงวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย)

  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.4 ปี) เปิดสอน 6 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

2.สาขาวิชาภาษาไทย

3.สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน

4.สาชาวิชาประวัติศาสตร์

5.สาขาวิชาภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนา

6.สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)

  • หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.4 ปี) เปิดสอน 2 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาดนตรี

2.สาขาวิชาศิลปกรรม

  • หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.4 ปี) เปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาการเมืองการปกครอง

2.สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น

3.สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

  • หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ

1.นิติศาสตร์

  • หลักสูตรสำหรับชาวต่างประเทศ 外国人课程

คณะวิทยาการจัดการ

  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.4 ปี) เปิดสอน 2 วิชาเอก คือ

1.วิชาเอกการท่องเที่ยว

2.วิชาเอกการโรงแรม

  • หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.4 ปี) เปิดสอน 2 วิชาเอก คือ

1.วิชาเอกการประชาสัมพันธ์

2.วิชาเอกการสื่อสารมวลชน

  • หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ

1.เศรษฐศาสตร์การเงิน

  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.4 ปี) เปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาการตลาด

2.สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์

3.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

  • หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาบัญชี

คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.4 ปี) เปิดสอน 4 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช)

2.สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์)

3.สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (แขนงวิชาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ)

4.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

  • หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.4 ปี) เปิดสอน 2 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาการออกแบบ (แขนงวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์)

2.สาขาวิชาการออกแบบ (แขนงวิชาการออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก)

  • หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.4 ปี) เปิดสอน 2 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม (แขนงวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม)

2.สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม (แขนงวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม)

  • หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

  • หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.2 ปี) ต่อเนื่อง เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.4 ปี) เปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต

2.สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน

3.สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม

บัณฑิตวิทยาลัยแก้ไข

บัณฑิตวิทยาลัย ได้จัดการศึกษาที่สูงกว่าปริญญาตรี คือ ปริญญาเอก ปริญญาโท ประกาศนียบัตรบัณฑิต และ รวมทั้งสิ้น 4 สาขา

  • หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
  1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
  1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  2. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต

  1. สาขาวิชาชีพครู

พื้นที่การศึกษาแก้ไข

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตั้งอยู่เลขที่ 398 หมู่ 9 ถนนสวรรค์วิถี ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 108 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ยังมีศูนย์การศึกษาอีก 3 ศูนย์ ได้แก่

  • ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ โดยศูนย์ดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างอาคารต่างๆ หลายอาคาร ตามแผนแม่บทของมหาวิทยาลัยระยะเวลา 20 ปี เพื่อเตรียมการเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ
  • ศูนย์การศึกษาตำบลเขาแรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งปัจจุบันได้จัดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการเกษตร มีเนื้อที่ประมาณ 63 ไร่ 3 งาน 64 ตารางวา
  • ศูนย์การศึกษาตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 16 ไร่ มหาวิทยาลัยได้ใช้พื้นที่นี้เพื่อดำเนินการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ

สำนัก/สถาบันแก้ไข

  • สำนักงานอธิการบดี
  • สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
  • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
  • สถาบันวิจัยและพัฒนา

หน่วยงานอื่นๆแก้ไข

  • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • สำนักงานสภามหาวิทยาลัย
  • ศูนย์พยาบาลและส่งเสริมสุขภาพ
  • ศูนย์ภาษา
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์
  • ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
  • โรงแรมต้นน้ำ
  • หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์แก้ไข

  • นายสมเชาว์ เกษประทุม ตำแหน่ง นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ดร.ผดุงชาติ สุวรรณวงศ์ ตำแหน่ง อุปนายกสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ ชำนาญกิจ ตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
  • นายอดุลย์ ศรีประทักษ์ ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย
  • อาจารย์นันทภัค ธนาอภินนท์ ตำแหน่ง ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกษม ศรีเดิมมา ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • นางจินตนา เสรีภาพ ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • รองศาสตราจารย์จรินทร์ เทศวานิช ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • ศาสตราจารย์ ดร.รัตนะ บัวสนธ์ ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรีชา สนธิรักษ์ ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • นายเสรี ชิโนดม ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร ไชยะ ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • ศาสตราจารย์ ดร.สมยศ พลับเที่ยง ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • นายสมหมาย ลักขณานุรักษ์ ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงดี ศรีนพรัตน์วัฒน ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากผู้บริหาร
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากผู้บริหาร
  • นางปราณี เนรมิตร ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากผู้บริหาร
  • ผศ.ว่าที่ร้อยตรีอภิเดช  มงคลปัญญา ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากผู้บริหาร
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ทวี ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาติ จันทร์ดอกไม้ กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ
  • นางณัฏฐิรา กาญจนศิลป์ ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ
  • นายชม ปานตา ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ
  • นายประยุทธ สุระเสนา ตำแหน่ง เลขานุการสภามหาวิทยาลัย

ทำเนียบผู้บริหารแก้ไข

  • พ.ศ. 2465 - พ.ศ. 2467 ขุนกัณหเนตรศึกษากร ตำแหน่ง ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2467 - พ.ศ. 2468 ขุนชิตพิทยากรรม ตำแหน่ง ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2475 นายเกษม พุ่มพวง ตำแหน่ง ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2486 นายจรูญ สุวรรณมาศ ตำแหน่ง ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2494 นายศิริ อาจละกะ ตำแหน่ง ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2498 นายศิริ ศุขกิจ ตำแหน่ง ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2503 นายพร้อม ปริงทอง ตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่
  • พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2508 นายเติม จันทะชุม ตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่
  • พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2518 นายประธาน จันทรเจริญ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ
  • พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2521 ดร.วิเชียร แสนโสภณ ตำแหน่ง อธิการ
  • พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2530 ดร.หอม คลายานนท์ ตำแหน่ง อธิการ
  • พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2536 รองศาสตราจารย์ วิทยา รุ่งอดุลพิศาล ตำแหน่ง อธิการ
  • พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2538 รองศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง ภูมิภัทราคม ตำแหน่ง อธิการ
  • พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2541 รองศาสตราจารย์ สุพล บุญทรง ตำแหน่ง อธิการบดี
  • พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2556 รองศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง ภูมิภัทราคม ตำแหน่ง อธิการบดี
  • พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2562 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ ชำนาญกิจ ตำแหน่ง อธิการบดี
  • พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2563 ศาสตราจารย์ ดร.สมยศ พลับเที่ยง ตำแหน่ง รักษาราชการแทนอธิการบดี
  • พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี ตำแหน่ง อธิการบดี

อ้างอิงแก้ไข

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข