มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (อังกฤษ: Suratthani Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดการเรียนการสอนในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีจำนวนนักศึกษามากที่สุดหนึ่งใน 10 ของประเทศ และเป็นหนึ่งใน 4 มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ของภาคใต้

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
Suratthani Rajabhat University
ตราพระราชลัญจกร
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อเดิมสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ชื่อย่อมรส. / SRU
คติพจน์สร้างปัญญา พัฒนาท้องถิ่น
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-06-15)
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ735,910,200 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
นายกสภาฯวิชัย ศรีขวัญ
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ วัฒนา รัตนพรหม
ที่ตั้ง
เลขที่ 272 หมู่ 9 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84100
เพลงดาวราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ต้นไม้ราชพฤกษ์
สี████ สีฟ้า สีแดง
เว็บไซต์เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

ประวัติ

แก้

ในปี พ.ศ. 2516 ได้มีการจัดตั้ง "วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี" โดยเปิดสอนในสาขาวิชาครุศาสตร์ หลังจากนั้น พ.ศ. 2528 ได้เพิ่มการเรียนการสอนในสาขาอื่น ๆ นอกจากครุศาสตร์ และได้รวมกับกลุ่มวิทยาลัยครูทางภาคใต้ 5 แห่ง จัดตั้ง "สหวิทยาลัยทักษิณ" โดยมีสำนักงานของสหวิทยาลัยครูอยู่ที่วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี

ต่อมา ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” แทนชื่อ "วิทยาลัยครู" มีผลให้ "วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี" เปลี่ยนชื่อเป็น"สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี" และยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา และเคยมีโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน โดยเป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีเข้าด้วยกัน แต่มีการยกเลิกโครงการไป

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

แก้

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนาม “ราชภัฏ” ซึ่งหมายความว่าปราชญ์ของพระราชาและพระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้สถาบันราชภัฏได้อัญเชิญมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย มีลักษณะเป็นวงรีสองวงซ้อนกัน โดยวงรีวงนอกเป็นเส้นเดี่ยว ส่วนวงรีวงในเป็นเส้นคู่ ภายใต้วงรีด้านในมีตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็นอุหรือเลข ๙ รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้น ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่าทรงมีพระบรม เดชานุภาพในแผ่นดิน ระหว่างวงรีทั้งสองด้านบนเป็นอักษรภาษาไทยมีรูปทรงอักษรเป็นแบบล้านนาและอักษรขอมว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษ รูปทรงเป็นแบบอักษรโรมัน แบบ Gothic หรือตัวอักษรแบบ Old English ความว่า Suratthani Rajabhat University ความหมายของชุดอักษรไทยและอังกฤษดังกล่าวแทนค่าถึงความรู้สึกในการสื่อสารร่วมสมัยและแสดงความสูงส่งแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ สีของตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมี 5 สี โดยมีความหมาย ดังนี้

สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม “มหาวิทยาลัยราชภัฏ”

สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งอยู่ในแหล่งธรรมชาติและมีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม

สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา

สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกลในมหาวิทยาลัยราชภัฏ

สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

คณะ

แก้
ไฟล์:หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.jpg
หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย 9 คณะ มากกว่า 50 สาขาวิชา[2]

คณะครุศาสตร์

แก้

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาศิลปศึกษา
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาชีววิทยา
  • สาขาวิชาสังคมศึกษา
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
  • ประถมศึกษาจิตวิทยาและการแนะแนว

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

แก้

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • สาขาวิชาภาษาไทยธุรกิจ
  • สาขาวิชาภาษาไทย (สำหรับนักศึกษาจีน)
  • สาขาวิชาภาษาจีน (สำหรับนักศึกษาไทย)
  • สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
  • สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและองค์กร

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาดนตรีสากล
    • แขนงโยธวาทิต
    • แขนงดนตรีสมัยนิยม
  • สาขาวิชาจิตกรรม

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)

แก้
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาการเมืองการปกครอง

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

แก้

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาชีววิทยา
  • สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
  • สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • สาขาวิชาพืชศาสตร์
  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
  • สาขาวิชาการจัดการภัยพิบัต
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม (หลักสูตรเทียบ)
  • สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม (หลักสูตรเทียบ)

คณะวิทยาการจัดการ

แก้

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการตลาด 3+1 (เรียน 3 ปี ฝึกงาน 1 ปี)
  • สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
  • สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก
  • สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

หลักสูตรบัณชีบัณฑิต (บช.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาบัญชี

หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.)

แก้
  • สาขาวิชานิเทศศาสตร์
    • แขนงวิชานิเทศศาสตร์ประชาสัมพันธ์
    • แขนงวิชานิเทศศาสตร์การสื่อสารมวลชน

คณะนิติศาสตร์

แก้

หลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต (น.บ.)

แก้
  • สาขาวิชานิติศาสตร์
  • สาขาวิชานิติศาสตร์ (ภาคบัณฑิต)

คณะพยาบาลศาสตร์

แก้

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.)

แก้
  • สาขาพยาบาลศาสตร์

บัณทิตวิทยาลัย

แก้

หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

แก้
  • สาขาวิชาภาวะผู้นำการจัดการศึกษา

หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต

แก้
  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
  • สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา
  • สาขาการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวิชาการและงานอาชีพ
  • สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

แก้
  • สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
  • สาขาการจัดการชุมชนท้องถิ่น

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

แก้
  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

แก้
  • สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

แก้
  • สาขารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

แก้
  • สาขาสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต

แก้
  • สาขาวิชาการเมืองการปกครอง

หลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.บัณฑิตวิชาชีพครู)

แก้
  • สาขาวิชาชีพครู (สำหรับผู้ที่ไม่ได้จบวุฒิครูในปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ แต่ต้องเป็นครูอัตราจ้างสอนในสถานศึกษาเท่านั้น)

วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว

แก้

วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นคณะที่ 6 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เมื่อเดือนเมษายน 2548 ดำเนินการจัดการเรียนการสอน สำหรับนักศึกษาภาคปกติและนักศึกษา ภาค กศ.บท. เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนในท้องถิ่น ทั้งในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แขนงธุรกิจการบิน ให้แก่พนักงานของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่กรุงเทพมหานคร ตามข้อตกลงโครงการความร่วมมือทางวิชาการและเทคโนโลยีระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อีกด้วย

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)

แก้
  • สาขาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบริการระหว่างประเทศ
    • แขนงวิชาการจัดการโรงแรม

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

แก้
  • สาขาธุรกิจการบิน
  • สาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย

แก้

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจเรือสำราญ
  • สาขาวิชาศิลปะการประกอบอาหารไทยและอาหารนานาชาติ

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

แก้

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (สาธิต มรส.) เป็นโรงเรียนหลักสูตร 3 ภาษาในบรรยากาศห้องเรียนแบบ Smart Classroom เริ่มเปิดรับสมัครนักเรียนรุ่นแรกในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ในปีการศึกษา 2567 และเปิดรับเพิ่มเติมในระดับชั้นปฐมวัย ในปีการศึกษา 2568

หอประชุมวชิราลงกรณ

แก้

หอประชุมดังกล่าวเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๑ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๓ ซึ่งใช้เป็นที่จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคใต้ทั้ง 5 แห่ง โดยหอประชุมดังกล่าวเป็นหอประชุมทรงศรีวิชัยประยุกต์โดดเด่น คงคุณค่าและความงดงามตามแบบสถาปัตยกรรมศรีวิชัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดความสูง ๒ ชั้น มีพื้นที่ใช้สอบประมาณ ๕,๐๐๐ คน นับเป็นหอประชุมที่มีพื้นที่ใช้สอยกว้างขวางที่สุดในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาคใต้            

  • ชั้นที่ ๑ ประกอบด้วย ลานจอดรถสำหรับรถยนต์ ๑๘๐ คัน และสำนักงานกองพัฒนานักศึกษา            
  • ชั้นที่ ๒ ประกอบด้วย โถงนิทรรศการ ห้องประชุมใหญ่ ความจุขนาด ๕,๐๐๐ ที่นั่ง ห้องสำนักงาน ห้องสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียง ห้องพยาบาล ห้องรับรอง ๑ ห้องรับรอง ๒ ห้องเตรียมปริญญาบัตร และห้องผู้ติดตาม            
  • ชั้นลอย ประกอบด้วย ห้องประทับรับรอง ห้องเปลี่ยนฉลองพระองค์ และห้องเสวย ห้องประชุม ๒๐๐ ที่นั่ง และห้องเจ้าหน้าที่ควบคุมระบบ ภายหลังหอประชุมสร้างเสร็จ            

มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้มีหนังสือถึงสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ กองกิจการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร วังศุโขทัย เพื่อขอให้นำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เรื่อง ขอพระราชทานกราบบังคมทูลเสร็จฯ พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ มาทรงเปิดหอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีตามวันและเวลาสุดแต่จะทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ  พร้อมทั้งขอพระราชทานนามหอประชุมดังกล่าวว่า “หอประชุมวชิราลงกรณ”            

ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๓ สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ กองกิจการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีหนังสือถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี แจ้งว่าได้นำความกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงรับเชิญเสด็จฯ ไปในการนี้ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ และพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๗.๐๐ น. และพระราชทานนามหอประชุมดังกล่าวว่า “หอประชุมวชิราลงกรณ” ตามที่ขอรับพระมหากรุณาธิคุณ

หน่วยงาน

แก้
  • สภามหาวิทยาลัย
  • สำนักงานอธิการบดี
  • สำนักจัดการทรัพย์สิน
  • สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
  • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
  • สำนักงานกิจการภายนอก
  • สถาบันวิจัยและพัฒนา
  • สำนักประกันคุณภาพการศึกษา
  • โครงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนและพัฒนา

ศูนย์

แก้
  • ศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
  • ศูนย์ภาษา
  • หอสมุดกลาง
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์
  • ศูนย์เอกสารตำรา
  • ศูนย์วิทยสนเทศ AIC
  • ศูนย์สหกิจศึกษา
  • ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ศูนย์เครือข่าย สมศ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ฝ่าย/กอง

แก้
  • กองแผนงาน
  • กองกลาง
  • กองการเจ้าหน้าที่
  • กองคลัง
  • งานพัสดุ
  • กองพัฒนานักศึกษา
  • กองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น
  • กองตรวจสอบภายใน
  • ฝ่ายสื่อสารองค์กร

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓๐, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. "หลักสูตรที่เปิดสอน". SRU Campus Hub (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).