วิทยากร เชียงกูล

รองศาสตราจารย์ วิทยากร เชียงกูล เกิดเมื่อ พ.ศ. 2489 ที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี คณบดีกิตติคุณและอดีตคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต เรียนจบชั้นมัธยมปลายที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 และปริญญาโท จากสถาบันศึกษาสังคม เมืองเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

เป็นผู้เขียนบทกลอน "เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน" เมื่อ พ.ศ. 2511 ซึ่งมีท่อนติดปากว่า "ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ม ฉันจึง มาหา ความหมาย ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว" บทกลอนนี้ได้กลายเป็นข้อเขียนหนึ่งในหลายชิ้น ที่มีอิทธพลต่อการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาในช่วงนั้น ซึ่งต่อมาได้พัฒนาไปสู่การเรียกร้องประชาธิปไตย ในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 และ เหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519

การทำงาน

แก้

งานประจำที่เคยทำคือ กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, นักเศรษฐศาสตร์ ฝ่ายวิจัยและวางแผน ที่ธนาคารกรุงเทพ, อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, นักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ, ผู้ชำนาญการคณะกรรมาธิการ การคลังฯ ประจำรัฐสภา, รองอธิการบดี คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ และคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

มีผลงานเขียนและแปลมาแล้วประมาณ 50 เล่ม ที่เป็นบันเทิงคดี ก็มีเรื่อง ฝันของ เด็กชายชาวนา และฤดูใบไม้ผลิจักต้องมาถึง นอกจากนั้น เป็นงานประเภทบทความ และการ วิเคราะห์เชิงวิชาการ เช่น เราจะไปทางไหนกัน ปัญหาพื้นฐานของประเทศด้อยพัฒนา แนวคิด ใหม่ทางการศึกษา ปัญหาพื้นฐานของชาวนาไทย การพัฒนาทุนนิยมในประเทศไทย ปัญญาชน กับการเปลี่ยนแปลงสังคม ทางออกการเมืองไทย ศึกษาบทบาทและความคิดของ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช กุหลาบ สายประดิษฐ์ และ ส. ศิวรักษ์ วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง สังคมไทย การกอบกู้ฟื้นฟูชาติจากพันธนาการของ IMF

ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และคณบดีกิตติคุณวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับรางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2541

ดูเพิ่ม

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้