รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์

ศาสตราจารย์ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (เกิด 14 กันยายน พ.ศ. 2489) เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
เกิด14 กันยายน พ.ศ. 2489 (77 ปี)
ประเทศไทย
อาชีพนักเขียน, นักวิชาการ
สัญชาติไทย ไทย
ช่วงปีที่ทำงานพ.ศ. 2511 - ปัจจุบัน

ประวัติ แก้

ศาสตราจารย์ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ เกิดวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2489 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ โดยได้รับทุนพระศาสนโสภณ จากวัดบวรนิเวศ จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้รับทุนภูมิพล และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ด้วยคะแนนระดับ "เกียรตินิยมดีมาก" จากนั้นไปศึกษาต่อที่ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สาขาการเงินสาธารณะ หลังจากสำเร็จการศึกษา ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ กลับมาเป็นอาจารย์ประจำที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2511 จนถึงปัจจุบัน และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2544 มีความเชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์การคลัง และเศรษฐศาสตร์การพัฒนา

นอกจากนี้ผลงานทางวิชาการทางด้านการวิจัยของ ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ ยังมีความโดดเด่นจนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเลือกให้เป็นเมธีวิจัยอาวุโส พ.ศ. 2539 และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เลือกให้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2540 นอกจากงานด้านการสอนหนังสือและงานด้านการวิจัยแล้ว ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ ยังมีความสามารถในการบริหาร โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารหน่วยงานต่างๆในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หลายตำแหน่ง (โปรดดูรายละเอียดในหัวข้อ "ตำแหน่งงานบริหาร") นอกจากนี้ ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ ยังมีผลงานทางวิชาการออกสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเขียนหนังสือ การบรรยาย การแสดงปาฐกถา ฯลฯ

การศึกษา แก้

ปริญญาโท 2519 - M.A.(Cantab.), Public Finance, Churchill College, Cambridge University, สหราชอาณาจักร

ปริญญาตรี 2515 - B.A. (Cantab.), Churchill College, Cambridge University

ปริญญาตรี 2511 - ศ.บ. (เกียรตินิยมดีมาก) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มัธยมศึกษา 2506 - โรงเรียนวัดบวรนิเวศ

การรับทุนการศึกษา แก้

พ.ศ. 2506 - ทุนพระศาสนโสภณ วัดบวรนิเวศ

พ.ศ. 2507 - 2510 - ทุนภูมิพล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ. 2512 - 2514 ทุนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การทำงาน แก้

ตำแหน่งงานบริหาร แก้

    • พ.ศ. 2517 - ประธานคณะกรรมการห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • พ.ศ. 2518 - ประธานคณะกรรมการปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • พ.ศ. 2519 - ผู้อำนวยการรับนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • พ.ศ. 2523 - ประธานคณะกรรมการวางแผน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • พ.ศ. 2524 - รองผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • พ.ศ. 2525-2530 - ประธานคณะกรรมการส่งเสริมการสร้างตำรามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • พ.ศ. 2537-2538 - รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • พ.ศ. 2540-2546 - ประธานสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

งานส่งเสริมงานวิชาการอื่นๆ แก้

    • พ.ศ. 2516-2519 - บรรณาธิการ วารสารธรรมศาสตร์
    • พ.ศ. 2518-2519 - บรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ฉบับวิชาการ 2519 คณะบรรณาธิการ วารสารเศรษฐศาสตร์
    • พ.ศ. 2524 - คณะบรรณาธิการ วารสารธรรมศาสตร์ สมาคมเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย
    • พ.ศ. 2526-2538 - บรรณาธิการ วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์
    • พ.ศ. 2544 - คณะบรรณาธิการ วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์

ผลงานวิชาการ แก้

ตำราและหนังสือวิชาการ แก้

  • ทฤษฎีการภาษีอากร
  • ทัศนะทางการศึกษา
  • กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาความยากจนในประเทศไทย
  • เศรษฐศาสตร์การคลัง ว่าด้วยการศึกษา
  • ภาษีดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร
  • ระบบเศรษฐกิจไทย : ลักษณะและปัญหา
  • ภาษีอากรในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย : คลังข้อมูล และบทสำรวจสถานะทางวิชาการ
  • เงินคงคลังในระบบเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยพรีเมี่ยมข้าว
  • กระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศไทย : บทวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมือง พ.ศ. 2475 - 2530
  • สังคมเศรษฐกิจไทยในทศวรรษ 2550 : ยุทธศาสตร์การพัฒนาในกระแสโลกานุวัตร
  • นโยบายเสถียรภาพเศรษฐกิจในอนาคต
  • เศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญ: บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

หนังสือที่เขียนร่วมกับผู้อื่น แก้

  • “เศรษฐศาสตร์ของชาวพุทธ” ใน ประเวศ วะสี และรังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ สาธารณสุขกับพุทธธรรม และเศรษฐศาสตร์ของชาวพุทธ
  • เศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น : คลังข้อทดสอบโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2522
  • เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น : คลังข้อทดสอบสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2524
  • การวางแผนและการจัดการหน่วยวิชาการ เขียนร่วมกับ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์

หนังสือที่เป็นบรรณาธิการ แก้

หนังสือคลังข้อมูล แก้

  • มติสำคัญของคณะรัฐมนตรีว่าด้วยเศรษฐกิจยุครัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (สิงหาคม 2531 - กุมภาพันธ์ 2534)
  • การเปลี่ยนแปลงกฎหมายและมาตรการการคลังยุครัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (สิงหาคม 2531 - กุมภาพันธ์ 2534)
  • การเปลี่ยนแปลงกฎหมายและมาตรการการคลังยุครัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (มีนาคม 2534-พฤษภาคม 2535)

หนังสือกึ่งวิชาการ แก้

หนังสือรวมบทความจากนิตยสารและหนังสือพิมพ์ แก้

  • อนิจลักษณะของเศรษฐกิจไทย
  • อนิจลักษณะของการเมืองไทย : เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ว่าด้วยการเมือง
  • อนิจลักษณะของสังคมไทย
  • เศรษฐกิจการเมืองยุครัฐบาลชวน หลีกภัย
  • เศรษฐกิจการคลังกับบทบาทรัฐบาลไทย
  • สังคมเศรษฐกิจโลก โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงบริษัทสื่อเสรีจำกัด 2540
  • ระเบียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศกับสงครามการค้า
  • วิกฤติการณ์การเงินและเศรษฐกิจการเงินไทย
  • ถนนหนังสือ
  • คู่มือการเมืองไทย
  • กีฬาในระบบทุนวัฒนธรรม
  • สังคมเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤติการณ์ปี 2540
  • ทุนวัฒนธรรม : วัฒนธรรมในระบบทุนนิยมโลก เล่มที่ 1 และ 2

บทอภิปราย แก้

ปาฐกถา แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

รางวัลที่ได้รับ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๔, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2021-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๕๘๔, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗