สะพานพระราม 7
สะพานพระราม 7 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเส้นทางถนนรัชดาภิเษกช่วงถนนวงศ์สว่างและถนนจรัญสนิทวงศ์ ตั้งอยู่คู่ขนานด้านเหนือน้ำของสะพานพระราม 6 เชื่อมระหว่างตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี กับแขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร ความกว้างของสะพาน 29.10 เมตร และมีความยาว 934 เมตร
สะพานพระราม 7 | |
---|---|
สะพานพระราม 7 | |
เส้นทาง | ถนนจรัญสนิทวงศ์, ถนนวงศ์สว่าง |
ข้าม | แม่น้ำเจ้าพระยา |
ที่ตั้ง | ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี, แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร |
ชื่อทางการ | สะพานพระราม 7 |
ผู้ดูแล | กรมโยธาธิการ (พ.ศ. 2535 - 2545) กรมทางหลวงชนบท (พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน) |
รหัส | ส.007 |
เหนือน้ำ | สะพานพระราม 5 |
ท้ายน้ำ | สะพานพระราม 6 |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | สะพานชนิดต่อเนื่อง |
วัสดุ | คอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง |
ความยาว | 290 เมตร |
ความกว้าง | 29.10 เมตร |
ความสูง | 8.90 เมตร |
ช่วงยาวที่สุด | 120.00 เมตร |
จำนวนช่วง | 3 |
ประวัติ | |
วันเริ่มสร้าง | 18 มกราคม พ.ศ. 2533 |
วันสร้างเสร็จ | 23 กันยายน พ.ศ. 2535 |
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามสะพานแห่งใหม่ที่ตั้งอยู่คู่ขนานกับสะพานพระราม 6 ว่า สะพานพระราม 7[1] เพื่อให้สอดคล้องกับสะพานพระปกเกล้าที่พระราชทานไปก่อนหน้าซึ่งตั้งอยู่คู่ขนานกับสะพานพระพุทธยอดฟ้าเช่นกัน[2] และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535 เวลา 16:00 น.[3] หลังจากนั้นจึงปิดการจราจรของรถยนต์บนสะพานพระราม 6 และปรับเป็นสะพานรถไฟทางคู่เต็มรูปแบบ ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท
ข้อมูลทั่วไป
แก้- วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2533
- วันเปิดการจราจร : วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535
- บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : บริษัท สุมิโตโม คอนสตรัคชั่น จำกัด, บริษัท โอบายาชิ คอร์โปเรชั่น จำกัด และบริษัท นันทวัน จำกัด
- ราคาค่าก่อสร้าง : 1,008,000,000 บาท
- แบบของสะพาน : เป็นสะพานชนิดต่อเนื่อง
- โครงสร้างส่วนบน : คานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง
- สูงจากระดับน้ำ : 8.90 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
- จำนวนช่วงสะพานกลางน้ำ : 3 ช่วง (85.00+120.00+85.00)
- ความกว้างของสะพาน : 29.10 เมตร (2 * 14.55)
- ความยาวของสะพาน : 290 เมตร
- เชิงลาดสะพาน ฝั่งธนบุรี : 335.87 เมตร
- เชิงลาดสะพาน ฝั่งพระนคร : 184.80 เมตร
- รวมความยาวทั้งหมด : 933.19 เมตร
- จำนวนช่องทางวิ่ง 6 ช่องทางจราจร : (ด้านละ 3 ช่องจราจร)
- ความกว้างผิวจราจรสะพาน : 19.50 เมตร (6 * 3.25)
- ความกว้างของสะพาน : 29.10 เมตร
- ความกว้างของทางเท้าแต่ละด้าน : 2.50 เมตร
- ออกแบบรับน้ำหนัก : H-20-44
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "คนไทยควรรู้!! ไขข้อข้องใจ..ความเป็นมาของชื่อของ "สะพานพระราม..." และชื่อถนน...ในย่านสำคัญของสยาม!!". ทีนิวส์. 10 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2025.
- ↑ "ทำความรู้จัก สะพานพระราม ทั้ง 9 สะพาน อยู่ตรงไหน (?) และมีที่มาอย่าไร (?)". HOMEZOOMER. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2025.
- ↑ "ข่าวในพระราชสำนัก [วันที่ ๒๓ - ๓๐ กันยายน ๒๕๓๕]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (132): 11505. 13 ตุลาคม 1992 – โดยทาง ราชกิจจานุเบกษา.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สะพานพระราม 7
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°48′50″N 100°30′52″E / 13.813775°N 100.514442°E
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน | |||
---|---|---|---|
เหนือน้ำ สะพานพระราม 5 |
สะพานพระราม 7 |
ท้ายน้ำ สะพานรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน |