สวนจตุจักร
สวนจตุจักร เป็นสวนสาธารณะระดับย่าน สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร ทิศตะวันออกจรดถนนพหลโยธิน ทิศเหนือจรดถนนวิภาวดีรังสิต ทิศตะวันตกและทิศใต้จรดถนนกำแพงเพชร 3
สวนจตุจักร | |
---|---|
ประเภท | สวนสาธารณะระดับย่าน |
ที่ตั้ง | ถนนกำแพงเพชร 1 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 |
เปิดตัว | 4 ธันวาคม พ.ศ. 2523 |
ผู้ดำเนินการ | กรุงเทพมหานคร |
เวลาให้บริการ | 04.30 - 21.00 น. ทุกวัน |
ขนส่งมวลชน | สถานีหมอชิต สถานีสวนจตุจักร |
สวนจตุจักรสร้างขึ้นโดย พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ในปี พ.ศ. 2521 และดำเนินการได้สำเร็จเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2521 เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งในขณะนั้น พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นประธานกรรมการรถไฟ โดยการเอากองขยะที่ดินแดง มาถมที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย แล้วย้ายตลาดนัดสนามหลวงมาที่นี่ โดยใช้ทหารช่างมาทำการสร้างขึ้น [1]
สวนจตุจักร เป็นสวนสาธารณะหลักของอุทยานสวนจตุจักร ประกอบด้วยสวนสาธารณะ 3 แห่งที่มีพื้นที่ติดต่อกันได้แก่ สวนจตุจักร พื้นที่ 155 ไร่[2] สวนวชิรเบญจทัศ พื้นที่ 375 ไร่ และสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พื้นที่ 196 ไร่ รวมทั้งหมด 727 ไร่
ประวัติ
แก้ปี พ.ศ. 2518 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน 100 ไร่ เพื่อสร้างสวนสาธารณะตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 4 รอบ 5 ธันวาคม 2518 ซึ่งเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามของสวนแห่งนี้ว่า "สวนจตุจักร" (ซึ่งเป็นชื่อภาษาสันสกฤต มีความหมายว่า "สี่รอบ") สวนจตุจักรเปิดทำการในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2523[3] และต่อมาถูกใช้เป็นชื่อของเขต และชื่อของแขวงที่เป็นที่ตั้งของสวน
ลักษณะเด่นและจุดที่น่าสนใจ
แก้อนุสรณ์เป็นประจักษ์พยานตั้งแต่เมื่อครั้งแรกสร้างเป็นสัญลักษณ์ของสวนสาธารณะ ได้แก่ หอนาฬิกา นาฬิกาดอกไม้ ประติมากรรมอาเซียน 6 ประเทศ นอกจากนี้แล้วในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน ซึ่งตรงกับช่วงฤดูร้อนในแต่ละปี บริเวณริมถนนพหลโยธินตรงช่วงด้านข้างของสวนจตุจักร รวมไปถึงสวนวชิรเบญจทัศ หรือสวนรถไฟที่อยู่ใกล้เคียง จะเป็นช่วงที่ดอกชมพูพันธุ์ทิพย์บานสะพรั่ง และร่วงหล่นลงพื้นเป็นสีชมพูตัดกับสีเขียวของพื้นหญ้า ก่อให้เกิดเป็นภาพที่สวยงามอย่างยิ่ง[4][5] [6]
จุดเชื่อมต่อการเดินทาง
แก้บริการ | สถานี/ป้ายหยุดรถ | สายทาง |
---|---|---|
รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน | หมอชิต | รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท |
สวนจตุจักร | รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล | |
รถโดยสารประจำทาง | สวนจตุจักร | ช่วงเวลาปกติ A1 A2 3 8 26 27 28 34 39 44 52 59 63 77 90 96 104 122 134 136 138 145 502 503 509 510 517 524 Y70E 1-1 (29) 1-3 (34) 1-5 (39) 2-17 2-34 2-38 (8) 2-42 (44) 2-48 (122) 3-45 (77) 4-29E (529) |
รถชัตเติลบัส | สวนจตุจักร | เชื่อมต่อไปยัง ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-25. สืบค้นเมื่อ 2020-03-25.
- ↑ ผู้จัดการ. (2562). 10 จุดสวยโดนใจ ใน “อุทยานจตุจักร”. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564
- ↑ "สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. สวนจตุจักร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-18. สืบค้นเมื่อ 2007-08-04.
- ↑ ธเนตร (2017-06-04). "สวยงาม! 'ดอกชมพูพันธุ์ทิพย์' บานสะพรั่งใจกลางเมืองกรุง". เอ็มไทยดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-22. สืบค้นเมื่อ 2018-03-15.
- ↑ jasminta (2015-03-10). "ชมพูพันทิพย์ บานสะพรั่งใจกลางกรุง ที่สวนจตุจักร". เอ็มไทยดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-29. สืบค้นเมื่อ 2018-03-15.
- ↑ "เต็มตา!! ชมพูพันธุ์ทิพย์สะพรั่งสวนรถไฟ อัปเดตล่าสุด". ผู้จัดการออนไลน์. 2018-01-25.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สวนจตุจักร
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°48′17″N 100°33′14″E / 13.804627°N 100.553956°E