ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ

บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Bangkok Expressway and Metro Public Company Limited ย่อว่า BEM) เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจคมนาคมขนส่งที่เป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยบริษัทแห่งนี้เป็นคู่สัมปทานกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)

บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
Bangkok Expressway and Metro Public Company Limited
ทุนจดทะเบียน15,285,000,000 บาท
ประเภทมหาชน SET:BEM
อุตสาหกรรมบริการ
ก่อตั้ง30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (8 ปี)
สำนักงานใหญ่587 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
บุคลากรหลักปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหารและรองประธานกรรมการ
สมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ
พเยาว์ มริตตนะพร กรรมการผู้จัดการ
เว็บไซต์http://www.bemplc.co.th/

ประวัติ

แก้

บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) เกิดจากการควบรวมกิจการกันระหว่าง บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ (BECL) กับ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยทางบริษัทได้ยื่นจดทะเบียนก่อตั้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และเปิดทำการซื้อขายวันแรกเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559

ธุรกิจ

แก้

ธุรกิจของบริษัทคือการให้บริการทางพิเศษและระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้า รวมถึงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบทางพิเศษ และรถไฟฟ้า[1] แบ่งออกเป็น 4 ธุรกิจหลัก

ธุรกิจทางพิเศษ

แก้

บริษัทและบริษัทย่อย คือ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด เป็นผู้รับสัมปทานในการก่อสร้างและบริหารทางพิเศษประกอบด้วย ทางพิเศษศรีรัช, ทางพิเศษประจิมรัถยา และทางพิเศษอุดรรัถยา[2]

ธุรกิจระบบราง

แก้

บริษัทให้บริการในเส้นทางต่อไปนี้[2]

ธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์

แก้

บริษัทและบริษัทย่อย คือ บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด (BMN) เป็นผู้ดำเนินธุรกิจพัฒนาเชิง พาณิชย์ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ดำเนินการจัดหาหรือทำสื่อโฆษณาบริเวณรถไฟฟ้า รวมถึงให้เช่าพื้นที่ร้านค้าและให้บริการและดูแลรักษาอุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคมภายในสถานีรถไฟฟ้า

การลงทุนในบริษัทอื่น

แก้

บริษัทลงทุนในธุรกิจสาธารณูปโภค ได้แก่ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด และธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานทางระบบราง ได้แก่ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด

การลงทุนบริษัทย่อย และบริษัทอื่น

แก้

จากข้อมูลการลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560[1] มีดังนี้

บริษัทย่อย
  • บจก. ทางด่วนกรุงเทพเหนือ ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  • บจก. แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ ถือหุ้นร้อยละ 65.19
บริษัทอื่น
  • บมจ. ซีเค พาวเวอร์ ถือหุ้นร้อยละ 19.40
  • บมจ. ทีทีดับบลิว ถือหุ้นร้อยละ 19.45
  • บจก. ไซยะบุรี พาวเวอร์ ถือหุ้นร้อยละ 7.50
  • บจก. เอเชีย เอราวัน ถือหุ้นร้อยละ 10.00

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

แก้
  • ข้อมูล ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2565
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) 4,859,133,929 31.79%
2 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 1,256,259,584 8.22%
3 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 999,117,415 6.54%
4 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 815,356,075 5.33%
5 สำนักงานประกันสังคม 563,922,600 3.69%

รางวัล

แก้
  • SET Awards 2017 ประเภทรางวัลธุรกรรมทางการเงินยอดเยี่ยมในตลาดทุน ประจำปี 2560[1]
  • รางวัล Issuer of the Year 2016 จากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย[1]
  • รางวัล Thailand Energy Awards 2014 การอนุรักษ์พลังงานดีเด่น ประเภทขนส่ง
  • รางวัล Thailand Energy Awards 2019 การอนุรักษ์พลังงานดีเด่น ประเภทขนส่ง
  • รางวัล Thailand Zocial Awards 2023 Best Brand Performance on Social Media กลุ่มธุรกิจบริการขนส่งสาธารณะ[3]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 รายงานประจำปี 2560
  2. 2.0 2.1 "ผ่าอาณาจักร "BTS-BEM" 2 บิ๊กรถไฟฟ้าชิง "สายสีส้ม"". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 19 February 2021.
  3. "ประกาศผล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 แบรนด์และผู้ทรงอิทธิพลบนโลกโซเชียลยกทัพร่วมงานคับคั่ง". ไทยรัฐ. 2023-02-24. สืบค้นเมื่อ 2023-02-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้