บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Bangkok Expressway Public Company Limited) หรือชื่อย่อ BECL เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านการคมนาคมขนส่ง ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่จัดสร้างโดยความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน ประกอบด้วยทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ระบบทางด่วนขั้นที่ 1) สร้างโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2524 ถึงปี พ.ศ. 2530, ทางพิเศษศรีรัช (ระบบทางด่วนขั้นที่ 2) เป็นทางพิเศษขนาดยกระดับ 6 ช่องจราจร (ประกอบด้วยพื้นที่บริการ 2 โครงข่าย คือโครงข่ายในเมือง กับโครงข่ายนอกเมือง) และทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) โดยมอบหมายให้บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด (NECL) ดำเนินการก่อสร้างและบริหารโครงการ ภายใต้สัญญาทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด ร่วมกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย[1]

ทางด่วนกรุงเทพ
ประเภทมหาชน SET:BECL
อุตสาหกรรมบริการ
ก่อตั้งพ.ศ. 2530
สำนักงานใหญ่แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลักปลิว ตรีวิศวเวทย์
(ประธานกรรมการบริหาร)
พเยาว์ มริตตนะพร
(กรรมการผู้จัดการ)
รายได้ลดลง 9,700 ล้านบาท (2557)
รายได้สุทธิ
ลดลง 3,205 ล้านบาท (2557)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 55,275 ล้านบาท (2557)
เจ้าของช.การช่าง
เว็บไซต์บริษัททางด่วนกรุงเทพจำกัด (มหาชน)

ประวัติ

แก้

บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เริ่มก่อตั้งขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2530 และเริ่มโครงการสัญญาระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ในปี พ.ศ. 2531 ก่อนที่จะเริ่มดำเนินแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ในภายหลัง โดยจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ช่วงปี พ.ศ. 2538 และจัดตั้งบริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด (NECL) ขึ้นเพื่อดำเนินการในส่วนของทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด

ในปี พ.ศ. 2541 เปิดให้บริการสายบางปะอิน-ปากเกร็ด ตั้งแต่แจ้งวัฒนะถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพื่ออำนวยเส้นทางสู่มหกรรมกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 และดำเนินการให้บริการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ก่อนที่จะได้รับการประเมินจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ด้านการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยในระดับดีเลิศ เมื่อปีพ.ศ. 2552[2]

วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้ บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ (BECL) ควบรวมกิจการกับ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ในชื่อใหม่ว่า บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

แก้
  • ข้อมูล ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556 [3]
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) 116,669,550 15.15%
2 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 72,729,608 9.45%
3 BNY MELLON NOMINEES LIMITED 55,872,800 7.26%
4 ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 55,295,390 7.18%
5 ธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 38,500,550 5.00%

กิจกรรมเพื่อสังคม

แก้

บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นหน่วยงานที่จัดกิจกรรมเพื่อสังคมในแต่ละปี อาทิ การมอบทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนที่มีผลการเรียนดี มีความประพฤติดี, นำพนักงานของบริษัทร่วมปลูกป่าชายเลน, ส่งเสริมกิจกรรมด้านศิลปะ, กิจกรรมวอล์กแรลลี่, กิจกรรมขับขี่ปลอดภัย, กิจกรรมมอบหนังสือให้เยาวชนที่อยู่ในบริเวณชายแดนภาคใต้ และกิจกรรมฟื้นฟูระบบนิเวศน์ของทะเลไทย[4]

รางวัลที่ได้รับ

แก้
  • พ.ศ. 2538 - รางวัลทานากะ จากสมาคมวิศวกรรมโยธาแห่งประเทศญี่ปุ่น
  • พ.ศ. 2546 - รางวัล Disclosure Report Award 2003 จากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  • พ.ศ. 2549 - รางวัล Best Corporate Governance Report Awards ในงาน SET Awards 2006
  • พ.ศ. 2550 - รางวัล Best Treatment Shareholder Awards จากบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด
  • พ.ศ. 2550 - รางวัลประกาศเกียรติคุณคณะกรรมการแห่งปีดีเด่น (Board of the Year For Distinctive Practices) โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
  • พ.ศ. 2550 - รางวัล ASEAN Energy Awards 2007 ประเภทอาคารอนุรักษ์พลังงาน
  • พ.ศ. 2550 - รางวัลดีเด่นด้านการอนุรักษ์พลังงาน ประเภทอาคารนอกข่ายควบคุม จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน

อ้างอิง

แก้
  1. "ภาพรวมทางธุรกิจบริษัททางด่วนกรุงเทพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-16. สืบค้นเมื่อ 2010-07-08.
  2. "ประวัติความเป็นมาของบริษัททางด่วนกรุงเทพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-08. สืบค้นเมื่อ 2010-07-08.
  3. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  4. "กิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัททางด่วนกรุงเทพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-06. สืบค้นเมื่อ 2010-07-08.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้