อำเภอแม่สะเรียง

อำเภอในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย

แม่สะเรียง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นหนึ่งใน 7 อำเภอของจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดเป็นอำเภอที่มีความสำคัญของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัด (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน) มากถึงประมาณ 164 กิโลเมตร โดยสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหุบเขาสลับซับซ้อน ประกอบกับเป็นอำเภอที่ติดกับชายแดนไทยพม่า และเป็นเมืองผ่านไปยังอำเภออื่นๆของจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอนี้เป็นอำเภอที่อยู่ทางตะวันตกสุดของประเทศไทยอีกด้วย

อำเภอแม่สะเรียง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mae Sariang
อุทยานแห่งชาติสาละวิน
คำขวัญ: 
เทียนเหงพร่างตา ผ้าทอกะเหรี่ยง
เสนาะเสียงสาละวิน งามถิ่นธรรมชาติ
พระธาตุสี่จอม กล้วยไม้หอมเอื้องแซะ
แผนที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เน้นอำเภอแม่สะเรียง
แผนที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เน้นอำเภอแม่สะเรียง
พิกัด: 18°9′34″N 97°56′1″E / 18.15944°N 97.93361°E / 18.15944; 97.93361
ประเทศ ไทย
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
พื้นที่
 • ทั้งหมด2,587.4 ตร.กม. (999.0 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด55,290 คน
 • ความหนาแน่น21.37 คน/ตร.กม. (55.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 58110
รหัสภูมิศาสตร์5804
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียง หมู่ที่ 2 ถนนเวียงใหม่ ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แม่สะเรียงเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่กำลังได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ด้วยมีธรรมชาติ ขุนเขา ป่าไม้อันพิสุทธิ์สมบูรณ์ นอกจากนั้นยังมีวัฒนธรรมของชนเผ่าและประเพณีของท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากจะหลีกหนีความวุ่นวายของสังคมเมือง ลองแวะเข้าไปสัมผัสเมืองแม่สะเรียง ที่แวดล้อมด้วยป่าเขาเขียวขจีและย้อนรำลึกถึงอดีตของเมืองหน้าด่านแห่งอาณาจักรล้านนา เมืองแห่งนี้เป็นเสมือนประตูสู่แม่ฮ่องสอน เพราะเมื่อเดินทางมาจากเชียงใหม่ ตามถนนสาย 108 จากอำเภอฮอดก็จะถึงแม่สะเรียงก่อน คนที่เดินทางจะเข้าแม่ฮ่องสอนก็จะได้ผ่าน 1,864 โค้งบนเส้นทางนี้ที่สวยงามด้วยแมกไม้ธรรมชาติสองข้างทาง

ท่าอากาศยานแม่สะเรียง เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม
ถนน 108 ในช่วงอำเภอแม่สะเรียง สายเชียงใหม่–แม่ฮ่องสอน หรือที่นิยมเรียกว่า ถนนเชียงใหม่-หางดง (ภาพถ่ายปี พ.ศ. 2553)

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอแม่สะเรียงมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

 
ธารน้ำพุร้อนแม่อุมลองหรือบ่อน้ำพุร้อนแม่อุมลอง มีบ่อน้ำพุร้อนที่มีอุณหภูมิ 75-80 องศาเซลเซียส สามารถต้มไข่ให้สุกได้ มีห้องแช่น้ำแร่ทั้งแบบปิดและแบบกลางแจ้ง เป็นบ่อน้ำพุร้อนที่มีจุดเด่นตรงที่ไม่มีกลิ่นของกำมะถันเหมือนแหล่งอื่นๆ
 
แม่น้ำยวม
 
ทัศนียภาพของอำเภอแม่สะเรียง

ประวัติ

แก้

เมืองแม่สะเรียงมีชื่อในประวัติศาสตร์ว่า เมืองยวมใต้ หรือ เมืองยวม เคยเป็นที่ตั้งชุมชนมาไม่น้อยกว่า 600 ปี ชาวพม่าเรียกชื่อเมืองแห่งนี้ว่า “เมงลองยี” แปลว่าเมืองแห่งแร่หินใหญ่ จากพงศาวดารโยนก (พ.ศ. 1900) และเป็นเมืองหน้าด่านที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของอาณาจักรล้านนา คอยต้านทัพของพม่าที่จะยกทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ ในสมัยของพระเจ้าสามฝั่งแกน กษัตริย์ลำดับที่ 10 แห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ. 1944 – 1985) พระองค์ทรงมีราชบุตรหลายองค์ด้วยกัน ต่อมาเจ้าท้าวลก ราชบุตรลำดับที่ 6 ถูกเนรเทศให้ไปอยู่ที่เมืองยวม ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ทุรกันดารด้วยเหตุที่คิดจะแย่งชิงราชสมบัติ ระหว่างที่ครองเมืองยวมอยู่นั้นเจ้าท้าวลกได้ทำการติดต่อกับพระเจ้าสามเด็กย้อย ซึ่งเป็นอำมายต์ชั้นผู้ใหญ่ในล้านนา ซึ่งพระเจ้าสามเด็กย้อยมีความจงรักภักดีต่อเจ้าท้าวลกและคิดที่จะร่วมมือกันแย่งชิงราชสมบัติคืนจากพระเจ้าสามฝั่งแกน ขณะนั้นพระเจ้าสามฝั่งแกนได้แปรพระราชฐานประทับอยู่ที่เวียงเจ็ดริน บริเวณเชิงดอยสุเทพ เจ้าท้าวลกและพระยาสามเด็กย้อย จึงสั่งให้ทหารเข้าไปเผาเมืองในตอนกลางคืน พระเจ้าสามฝั่งแกนเข้าใจผิดคิดว่าศัตรูยกทัพเข้ามาตีเมืองจึงได้ทรงม้ากลับเข้าเมืองเชียงใหม่เพื่อจะไปรวบรวมไพร่พลทหาร ครั้นพอเข้าไปในเขตพระราชฐานจึงถูกเจ้าท้าวลกและพระยาสามเด็กย้อยจับตัวไปและแย่งชิงราชสมบัติได้สำเร็จ

ต่อมาพระเจ้าติโลกราช (ท้าวลก) ได้เป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรล้านนา ขยายอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ทิศเหนือตีได้เมืองเชียงรุ่ง (มณฑลยูนนาน ประเทศจีน) เมืองเชียงตุง (รัฐฉาน ประเทศพม่า) ทิศตะวันตกได้รัฐฉานทั้งหมด ทิศตะวันออกได้ล้านช้าง ทิศใต้จรดชายแดนกับอยุธยา โดยในปี พ.ศ. 2023 กองทัพหน้าของพระองค์จำนวน 40,000 นายอาจหาญสู้ศึกชนะกองทัพไดเวียต (เวียดนาม) ซึ่งยกพลมหึมาร่วม 200,000 นาย ยึดได้ล้านช้าง แล้วตรงเข้ามาเชียงใหม่ ครั้งนั้น กองทัพหน้าแสดงปรีชาสามารถในการรบจนทัพไดเวียตแตกพ่าย แม่ทัพนายกองถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก บ้างก็ถูกจับเป็นเชลย กิตติศัพท์เลื่องลือทราบถึงจักรพรรดิจีนพระนามเซี่ยนซงหรือเฉิงฮั่วแห่งราชวงศ์หมิง (พ.ศ. 2007-2030) ยอมรับในพระเดชานุภาพ จึงมีพระราชโองการแต่งตั้งให้พระเจ้าติโลกราช เป็นเสมือนรองจักรพรรดิ (ลำดับที่ 2) โดยจารึกในพระสุพรรณบัฏ (แผ่นทองคำ) ความว่า "...ที่ใดก็ตามที่ปรากฏศัตรูขึ้นในแปดทิศของจักรวรรดิ์แห่งจักรพรรดิ์อุทิปวา ผู้ครองทุกสิ่งภายใต้สวรรค์ ท้าวล้านนา เจ้าฟ้าแห่งนครเชียงใหม่ มีอำนาจจะปราบปรามและลงโทษศัตรูนั้นได้"[1] ในปี พ.ศ. 2522 ให้มีพระราชอำนาจจัดการปราบปรามกษัตริย์ต่าง ๆ ในด้านทิศตะวันตก พร้อมกับให้เสนาบดีผู้ใหญ่ 2 คน เดินทางมานครเชียงใหม่เพื่อมอบตราตั้งของจักรพรรดิจีนพร้อมเครื่องประกอบเกียรติยศจำนวนมาก อาทิ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องประดับเศียร ทับทรวง คาดหน้าผาก กรรเจียกจรจำหลักลาย ศิราภรณ์ สร้อยคอ เพชร ฯลฯ

นอกจากนั้นยังมีตำนานบันทึกเกี่ยวกับเมืองยวมในฐานะของเมืองหน้าด่านของอาณาจักรล้านนาว่า ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดเจ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงแต่งตั้งพระเจ้ากาวิละขึ้นเป็นพระยาวชิรปราการ พระองค์ได้ทรงเสด็จไปเจริญสัมพันธไมตรีกับเมืองยวมเลยไปจนถึงเมืองยางแดง (กะเหรี่ยง) ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคง (สาละวิน) โดยให้พระยาสามล้านนำเครื่องราชบรรณาการไปมอบให้กับ ยางก๊างหัวตาด นายด่านของชาวกะเหรี่ยงแดงซึ่งมีกำลังพลหลายร้อยคน เพื่อที่จะไปช่วยรบกับทัพพม่า ครั้นเมืองพม่ายกทัพจะเข้ามาตีเมืองเชียงใหม่ พระเจ้ากาวิละร่วมกับยางก๊างหัวตาด นำทัพกะเหรี่ยงออกสู่รบกับพม่าจนแตกกระเจิง

กระทั่งปี พ.ศ. 2352 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงได้ทรงแต่งตั้งพระยาวชิรปราการขึ้นเป็นพระเจ้าเมืองเชียงใหม่ พระองค์ได้ทรงมีรับสั่งให้เจ้าอุปราชธรรมลังกาไปตรวจเยี่ยมเมืองยวมและเลยไปจนถึงริมฝั่งแม่น้ำคง ทรงเห็นว่าเมืองยางแดงนั้นไม่ได้ขึ้นต่อกับพม่า จึงได้ทำการผูกไมตรีเพื่อให้คอยสอดส่องดูแลทัพของพม่าที่จะเข้ามาตีเมืองเชียงใหม่ โดยได้ทำพิธีดื่มน้ำพิพัฒนสัตยากันที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำคง แล้วฆ่าควายนำเลือดมาผสมกับเหล้าเป็นน้ำพิพัฒน์สัตยา ผ่าเขาควายออกเป็น 2 ซีกแล้วให้สัตยาบรรณต่อกันว่า “ตราบใดที่น้ำคงบ่แห้ง เขาควายบ่ซื่อ ถ้ำช้างเผือกบ่ยุบ เมืองเชียงใหม่กับเมืองยางแดงยังเป็นไมตรีกันตราบนั้น”

เมืองยวมเคยเป็นถิ่นฐานอาศัยของชนเผ่าดั้งเดิม คือ คนพื้นเมือง ละว้า และกะเหรี่ยง ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 ทางราชการได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเรียกชื่อว่า อำเภอเมืองยวม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2467 ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่าชื่ออำเภอเมืองยวมนั้นไปพ้องกับอำเภอขุนยวมซึ่งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอแม่สะเรียง ตามชื่อของลำน้ำแม่สะเรียงที่ไหลผ่านอำเภออีกสายหนึ่งแทน อำเภอแม่สะเรียงในอดีตยังเคยเป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย (ปัจจุบันคืออำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก)

  • วันที่ 1 มิถุนายน 2456 แยกพื้นที่ตำบลท่าสองยาง และตำบลแม่ต้าน อำเภอแม่สะเรียง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอท่าสองยาง[2] ขึ้นกับอำเภอแม่สะเรียง
  • วันที่ 17 มกราคม 2480 ยกฐานะศาลแขวงแม่สะเรียง ขึ้นเป็น ศาลจังหวัดแม่สะเรียง[3]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบ้านกาศ แยกออกจากตำบลแม่สะเรียง ตั้งตำบลแม่คง แยกออกจากตำบลแม่ยวม[4]
  • วันที่ 27 กรกฎาคม 2491 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดตาก โดยโอนพื้นที่กิ่งอำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปขึ้นกับ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก[5]
  • วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลแม่สะเรียง ในท้องที่บางส่วนของตำบลแม่สะเรียง และตำบลบ้านกาศ[6]
  • วันที 1 กุมภาพันธ์ 2510 แยกพื้นที่ตำบลแม่ลาน้อย และตำบลแม่ลาหลวง อำเภอแม่สะเรียง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอแม่ลาน้อย ขึ้นกับอำเภอแม่สะเรียง[7]
  • วันที่ 23 พฤศจิกายน 2510 โอนพื้นที่ตำบลแม่ลาหลวง อำเภอขุนยวม ไปขึ้นกับ กิ่งอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง[8]
  • วันที่ 7 กันยายน 2514 ตั้งตำบลท่าผาปุ้ม แยกออกจากตำบลแม่ลาน้อย ตั้งตำบลแม่โถ แยกออกจากตำบลแม่ลาหลวง[9]
  • วันที่ 30 มกราคม 2516 โอนพื้นที่หมู่ 6 บ้านท่าผาปุ้ม และพื้นที่หมู่ 7 บ้านแม่เตี๋ย (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง ไปขึ้นกับตำบลท่าผาปุ้ม กิ่งอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง[10]
  • วันที่ 3 มิถุนายน 2518 ตั้งตำบลแม่เหาะ แยกออกจากตำบลแม่สะเรียง[11]
  • วันที่ 21 สิงหาคม 2518 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง เป็น อำเภอแม่ลาน้อย[12]
  • วันที่ 5 กรกฎาคม 2520 ตั้งตำบลสบเมย แยกออกจากตำบลแม่ยวม [13]
  • วันที่ 26 สิงหาคม 2523 ตั้งตำบลเสาหิน แยกออกจากตำบลแม่คง[14]
  • วันที่ 16 มิถุนายน 2524 โอนพื้นที่หมู่ 15 บ้านแพะ, บ้านแม่ต้อบ, บ้านสล่าเชียงตอง (ในขณะนั้น) ของตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง ไปขึ้นกับตำบลเสาหิน[15]
  • วันที่ 1 พฤษภาคม 2527 แยกพื้นที่ตำบลสบเมย ตำบลแม่คะตวน และตำบลกองก๋อย อำเภอแม่สะเรียง ไปตั้งเป็นกิ่งอำเภอสบเมย ขึ้นกับอำเภอแม่สะเรียง[16]
  • วันที่ 25 กันยายน 2527 ตั้งตำบลแม่สวด แยกออกจากตำบลแม่คะตวน[17]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลป่าแป๋ แยกออกจากตำบลแม่สะเรียง ตั้งตำบลแม่สามแลบ แยกออกจากตำบลสบเมย ตั้งตำบลป่าโปง แยกออกจากตำบลกองก๋อย[18]
  • วันที่ 3 พฤศจิกายน 2536 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอสบเมย อำเภอแม่สะเรียง เป็น อำเภอสบเมย[19]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลแม่สะเรียง เป็นเทศบาลตำบลแม่สะเรียง

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอแม่สะเรียงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 ตำบล 77 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[20]
1. บ้านกาศ Ban Kat
13
11,954
2. แม่สะเรียง Mae Sariang
9
9,909
3. แม่คง Mae Khong
11
5,980
4. แม่เหาะ Mae Ho
13
8,114
5. แม่ยวม Mae Yuam
13
10,069
6. เสาหิน Sao Hin
6
3,408
7. ป่าแป๋ Pa Pae
12
5,871

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอแม่สะเรียงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลแม่สะเรียง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านกาศและตำบลแม่สะเรียง
  • เทศบาลตำบลแม่ยวม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ยวมทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเมืองยวมใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สะเรียง (นอกเขตเทศบาลตำบลแม่สะเรียง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาศ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกาศ (นอกเขตเทศบาลตำบลแม่สะเรียง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่คง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่คงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เหาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่เหาะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเสาหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสาหินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแป๋ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าแป๋ทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. เอกสารชุด ความรู้เรื่องพระญาติโลกราชะ โดย ศาสตราจาย์ ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี และคณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เอกสารประกอบการประชุมคณะทำงานเพื่อจัดเตรียมกิจกรรมในวาระครบรอบประสูติกาล 600 ปี ของพระญาติโลกราชะ
  2. [1]แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและยุบกิ่งอำเภอต่าง ๆ ในมณฑลพายัพ
  3. [2]พระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดศาลจังหวัดแม่สะเรียง พุทธศักราช ๒๔๘๐
  4. [3] เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ
  5. [4] เก็บถาวร 2012-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดตาก พ.ศ. ๒๔๙๑
  6. [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  7. [6] เก็บถาวร 2012-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ [แบ่งท้องที่อำเภอแม่สะเรียง ตั้งเป็น กิ่งอำเภอแม่ลาน้อย]
  8. [7] เก็บถาวร 2012-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอขุนยวมและกิ่งอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ. ๒๕๑๐
  9. [8]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  10. [9]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตกิ่งอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  11. [10]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  12. [11] เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอแวงน้อย อำเภอป่าแดด อำเภอเรณูนคร อำเภอคูเมือง อำเภอคุระบุรี อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอเสริมงาม อำเภอไพรบึง และอำเภหนองโดน พ.ศ. ๒๕๑๘
  13. [12]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  14. [13]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  15. [14]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  16. [15] เก็บถาวร 2012-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอสบเมย
  17. [16]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอสบเมย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  18. [17]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่สะเรียง กิ่งอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  19. [18] เก็บถาวร 2012-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลำทับ อำเภอร่องคำ อำเภอเวียงแหง อำเภอนาโยง อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านหลวง อำเภอกะพ้อ อำเภอศรีบรรพต อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองสูง อำเภอสบเมย อำเภอเมยวดี อำเภอโคกเจริญ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอผาขาว อำเภอวังหิน อำเภอดอนพุด อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอห้วยคต พ.ศ. ๒๕๓๖
  20. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้