หนึ่งในนิยามของ คนพื้นเมือง ชนเผ่าพื้นเมือง หรือ ชาวพื้นเมือง (อังกฤษ: indigenous peoples หรือ aboriginal peoples) ให้ความหมายของคำนี้ว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ มีกำเนิดในท้องถิ่นนั้น มีวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา เป็นของตนเอง มีเอกตลักษณ์การแต่งกายที่เป็นของตนเอง อย่างไรก็ดีไม่มีนิยามที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป[1]

คนพื้นเมืองนอร์เวย์
endorses Declaration on the Rights of Indigenous People, 2010
คนพื้นเมืองนิวซีแลนด์
คนพื้นเมืองCameroon
คนพื้นเมืองในแคนาดา

ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ยี่สิบ คำนี้มักใช้กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับแผ่นดินก่อนการล่าอาณานิคมหรือการก่อตั้งรัฐชาติและกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวคงไว้ซึ่งความแตกต่างทางวัฒนธรรมและการเมืองจากวัฒนธรรมและการเมืองกระแสหลักในรัฐชาติที่กลุ่มชาติพันธ์นั้นดำรงอยู่[2] ความหมายทางการเมืองของคำนี้หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่ง่ายต่อการถูกเอาเปรียบและกดขี่โดยรัฐชาติ ด้วยเหตุนี้จึงมีการกำหนดสิทธิพิเศษทางการเมืองให้กับชนพื้นเมืองโดยองค์การนานาชาติ อาทิเช่น สหประชาชาติ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ และธนาคารโลก[3] สหประชาชาติได้ประกาศ Declaration on the Rights of Indigenous Peoples เพื่อปกป้องสิทธิในวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ภาษา การจ้างงาน สุขภาพ การศึกษา และทรัพยากรธรรมชาติ ของชนพื้นเมือง ด้วยนิยามที่ต่างกันไป มีประมาณการณ์ว่าชนพื้นเมืองในโลกนี้มีอยู่ราว 220 ล้านคนใน ค.ศ. 1997[4]ถึง 350 ล้านคน ใน ค.ศ. 2004[2]

สิทธิ ปัญหา และความกังวล

แก้

ชนพื้นเมืองประสบปัญหาหลายอย่างเกี่ยวกับสถานะและการปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มวัฒนธรรมอื่น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ปัญหาบางอย่างก็เป็นปัญหาจำเพาะกลุ่ม บางปัญหาก็พบได้ทั่วไป Bartholomew Dean และ Jerome Levi (2003) ศึกษาหาสาเหตุว่าทำไมสภาพความเป็นอยู่ของชนพื้นเมืองในหลายส่วนของโลกพัฒนาขึ้น ในขณะที่อีกหลายส่วนยังตกอยู่ในสภาวะย่ำแย่และถูกกดขี่[5] ปัญหาเหล่านี้ได้แก่ การอนุรักษ์วัฒนธรรมและภาษา สิทธิในที่ดิน สิทธิในทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิทางการเมืองและการปกครองตนเอง การเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม ความยากจน สาธารณสุข และการเลือกปฏิบัติ

ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมชนพื้นเมืองและโลกภายนอกมีความซับซ้อนยิ่ง มีตั้งแต่ความยัดแย้งและการกดขี่อย่างเต็มรูปแบบ จนถึงการอยู่ร่วมกันและการถ่ายเทวัฒนธรรมอันก่อเกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย ในทางมานุษยวิทยาเรียกการที่สองวัฒนธรรมมาพบกันเป็นครั้งแรกว่า first contact

ปัญหาที่พบได้โดยทั่วไปในกลุ่มชนพื้นเมือง โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการเลือปฏิบัติและแรงกดดันให้ควบรวมกับสังคมส่วนใหญ่ มีข้อยกเว้นเพียงแต่ชนพื้นเมืองบางกลุ่มในรัสเซียและแคนาดาที่ได้รับสิทธิปกครองตนเอง (Sakha, Komi peoples และ Inuit) ในบางประเทศรัฐบาลก็แสดงความแข็งกร้าวและกดขี่ชนพื้นเมืองอย่างเด่นชัด เมื่อ ค.ศ. 2002 รัฐบาล บอตสวานา ขับไล่ชาว Kalahari จากแผ่นดินที่บรรพบุรุษของเขาอาศัยมาอย่างน้อยสองหมื่นปี[6] ประธานาธิบดี Festus Mogai เรียกคนเหล่านี้ว่า "สัตว์ยุคหิน"[7] และรัฐมนตรี Margaret Nasha เปรียบเปรยการวิพากษ์ของสาธารณชนในกรณีนี้ว่าก็คล้ายกับการวิพากษ์การฆ่าช้าง[8] ต่อมา ใน ค.ศ. 2006 จึงมีคำพิพากษาของศาลสูงว่าชนพื้นเมืองนี้มีสิทธิ์คืนสู่ที่ดินในบริเวณ Central Kalahari Game Reserve.[9][10]

เมื่อ ค.ศ. 2011 รัฐบาลบังกลาเทศประกาศว่า "ไม่มีชนพื้นเมืองในบังกลาเทศ"[11] สร้างความโกรธแค้นให้กับชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม[12] และถูกมองว่าเป็นความพยายามของรัฐบาลในการทำลายสิทธิ์ของชนพื้นเมืองซึ่งมีอยู่เพียงจำกัด[13] ผู้เชี่ยวชาญได้ประท้วงคำประกาศดังกล่าวและตั้งคำถามต่อนิยามของ "ชนพื้นเมือง" ที่รัฐบาลบังกลาเทศใช้[14][15]

ปัญหาสุขภาพ

แก้

องค์การอนามัยโลกพบว่าสถิติทางสุขภาพของชนพื้นเมืองมีค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะในแอฟริกา เอเชีย และยุโรปตะวันออก แต่ข้อมูลเบื้องต้นจากหลายประเทศที่มีการจัดเก็บข้อมูลต่างชี้ชัดว่าชนพื้นเมืองมีปัญหาสุขภาพมากกว่าประชากรทั่วไป ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา อาทิเช่น ชนพื้นเมืองเป็นโรคเบาหวานมากกว่าประชากรทั่วไปในออสเตรเลีย[16] มาตรฐานทางสาธารณสุขที่ย่ำแย่และการขาดน้ำสะอาดของชนพื้นเมืองในรวันดา[17] การเกิดของเด็กที่ไร้การดูแลของผู้ปกครองในเวียดนาม[18] อัตราการฆ่าตัวตายของเยาวชนชาวอินุอิตในแคนาดาสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึงสิบเอ็ดเท่า[19] และอัตราการตายของทารกแรกเกิดของชนพื้นเมืองสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประชากรทั่วไปในทุกแห่ง[20]

วันสากลของชนพื้นเมืองโลก

แก้

วันสากลของชนพื้นเมืองโลกตรงกับวันที่ 9 สิงหาคม อันเป็นวันที่มีการประชุมของ United Nations Working Group of Indigenous Populations เป็นครั้งแรก

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติเมื่อ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1994 ให้วันที่ 9 สิงหาคมเป็นวันสากลของชนพื้นเมืองโลก (resolution 49/214) เป็นเวลาสิบปี ต่อมาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2004 สมัชชาฯ มีมติให้ยืดเวลาของการฉลองวันสากลนี้ไปอีกทศวรรษหนึ่ง (ค.ศ. 2005–2014) (resolution 59/174).[21]

อ้างอิง

แก้
  1. "เพราะเงื่อนไขที่ชนพื้นเมืองอยู่ในแต่ละที่แตกต่างกันออกไปและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจึงไม่มีนิยามที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ในแต่ละประเทศอาจเรียกชนเผ่าพื้นเมืองด้วยคำที่ต่างกันออกไป อาทิเช่น "ชนพื้นเมืองกลุ่มน้อย" "อะบอริจิน" "ชาวเขา" "minority nationalities," "scheduled tribes," หรือ "ชนเผ่า"[1]
  2. 2.0 2.1 Coates 2004:12
  3. Sanders, Douglas (1999). "Indigenous peoples: Issues of definition". International Journal of Cultural Property. 8: 4–13. doi:10.1017/S0940739199770591.
  4. Bodley 2008:2
  5. Bartholomew Dean and Jerome Levi (eds.) At the Risk of Being Heard: Indigenous Rights, Identity and Postcolonial States University of Michigan Press (2003)[2] เก็บถาวร 2006-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. "afrol News – Botswana govt gets tougher on San tribesmen". Afrol.com. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
  7. Simpson, John (2 May 2005). "Africa | Bushmen fight for homeland". BBC News. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
  8. Monbiot, George (21 March 2006). "Who really belongs to another age – bushmen or the House of Lords?". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 5 May 2010.
  9. "Botswana bushmen ruling accepted". BBC News. 18 December 2006. สืบค้นเมื่อ 5 May 2010.
  10. Brigitte Weidlich Botswana Bushmen win eviction case. namibian.com.na. 14 December 2006
  11. No 'indigenous', reiterates Shafique เก็บถาวร 2012-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. bdnews24.com (18 June 2011). Retrieved on 2011-10-11.
  12. Ministry of Chittagong Hill Tracts Affairs. mochta.gov.bd. Retrieved on 2012-03-28.
  13. Disregarding the Jumma เก็บถาวร 2011-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Himalmag.com. Retrieved on 2011-10-11.
  14. INDIGENOUS PEOPLEChakma Raja decries non-recognition เก็บถาวร 2012-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. bdnews24.com (28 May 2011). Retrieved on 2011-10-11.
  15. 'Define terms minorities, indigenous' เก็บถาวร 2011-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. bdnews24.com (27 May 2011). Retrieved on 2011-10-11.
  16. Hanley, Anthony J. Diabetes in Indigenous Populations, Medscape Today
  17. Ohenjo, Nyang'ori; Willis, Ruth; Jackson, Dorothy; Nettleton, Clive; Good, Kenneth; Mugarura, Benon (2006). "Health of Indigenous people in Africa". The Lancet. 367 (9526): 1937. doi:10.1016/S0140-6736(06)68849-1.
  18. Health and Ethnic Minorities in Viet Nam, Technical Series No. 1, June 2003, WHO, p. 10
  19. Facts on Suicide Rates, First Nations and Inuit Health, Health Canada
  20. "Health of indigenous peoples". Health Topics A to Z. สืบค้นเมื่อ 17 April 2011.
  21. International Day of the World's Indigenous People – 9 August. www.un.org. Retrieved on 2012-03-28.