อำเภอสบเมย
สบเมย (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นหนึ่งในอำเภอของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
อำเภอสบเมย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Sop Moei |
แม่น้ำสาละวินที่หมู่บ้านแม่สามแลบชายแดนไทย | |
คำขวัญ: สุดแดนสาละวิน แดนดินพริกกะเหรี่ยง ลือเลี่องครูบาผาผ่า งามตาแม่น้ำเงา ขุนเขาธรรมชาติ ใจสะอาดคนสบเมย | |
แผนที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เน้นอำเภอสบเมย | |
พิกัด: 17°57′43″N 97°56′0″E / 17.96194°N 97.93333°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | แม่ฮ่องสอน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,412.7 ตร.กม. (545.4 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 45,694 คน |
• ความหนาแน่น | 32.35 คน/ตร.กม. (83.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 58110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5806 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอสบเมย หมู่ที่ 1 ถนนแม่สะเรียง-แม่สวด ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอสบเมยมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอแม่สะเรียง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอฮอดและอำเภออมก๋อย (จังหวัดเชียงใหม่)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภออมก๋อย (จังหวัดเชียงใหม่) และอำเภอท่าสองยาง (จังหวัดตาก)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า)
ประวัติ
แก้เดิมอำเภอสบเมยเป็นส่วนหนึ่งของตำบลกองก๋อย ตำบลแม่ยวม และตำบลแม่คะตวน อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2520 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลแม่ยวม รวมตั้งเป็นตำบลสบเมย[1] สบเมย มาจากคำว่า “สบ” หมายถึง การพบกัน การบรรจบ ปลายสุดแม่น้ำหรือปากน้ำ และคำว่า “เมย” หมายถึง ชื่อแม่น้ำเมย ที่ใช้แบ่งอาณาเขตระหว่างประเทศไทยในจังหวัดตากและจังหวัดแม่ฮ่องสอน บางส่วนกับสหภาพเมียนมา ซึ่งไหลมาบรรจบกับแม่น้ำสาละวิน ที่บ้านสบเมยหมู่ที่ 4 ตำบลแม่สามแลบ ก่อนที่จะไหลเข้าสู่ประเทศสหภาพเมียนมา
ในปี พ.ศ. 2526 ราษฎรในพื้นที่ได้ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ขอให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่ตำบลแม่คะตวน โดยกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าราษฎรทั้งสามตำบล ได้แก่ ตำบลแม่คะตวน ตำบลกองก๋อย และตำบลสบเมย เป็นตำบลที่อยู่ไกลท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากตัวอำเภอ เจ้าหน้าที่มีโอกาสตรวจเยี่ยมเยือนดูแลทุกข์สุขของราษฎรน้อยมาก เพราะทางคมนาคมไม่สะดวก ซึ่งอาจเป็นการเสียหายในด้านการปกครอง ประกอบกับหมู่บ้านดังกล่าวมีโอกาสที่จะเจริญในอนาคต เพราะราษฎรอาศัยอยู่กันหนาแน่นมาก และมีพื้นที่ทำมาหากินได้ โดยเฉพาะมีทรัพยากรทางธรรมชาติ พอที่จะยกระดับการครองชีพของราษฎรทั้งสามตำบลดังกล่าวนี้ให้ดียิ่งขึ้น จึงแนะนำประชุมชี้แจงร่วมกับทางอำเภอแม่สะเรียง รายงานต่อกระทรวงมหาดไทย ขอจัดตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอขึ้น และเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 จึงแยกออกมาเป็น กิ่งอำเภอสบเมย[2] ซึ่งตั้งตามชื่อตำบลสบเมยและแม่น้ำที่บรรจบแม่น้ำสาละวินที่บ้านสบเมย โดยตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอสบเมยที่โรงเรียนชุมชนบ้านผาผ่า (หมู่ที่ 1 ตำบลแม่คะตวน) และได้ย้ายส่วนราชการ มาปฏิบัติราชการ ณ ที่ว่าการกิ่งอำเภอสบเมยแห่งใหม่ หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สวด ในปี พ.ศ. 2528
ในท้ายปี พ.ศ. 2527 ได้ตั้งตำบลแม่สวด โดยแยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลแม่คะตวน ในปี พ.ศ. 2527[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 ได้มีการตั้งตำบลเพิ่มอีก 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่สามแลบ โดยแยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลสบเมย และตั้งตำบลป่าโปง โดยแยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลกองก๋อย ภายในวันเดียวกัน[4] เนื่องจากหลักเกณฑ์ต้องมีตำบลไม่น้อยกว่า 5 ตำบล ในปี พ.ศ. 2532 ได้แก้ไขชื่อหมู่บ้านในตำบลแม่สามแลบ (ตั้งใหม่) ให้มีความถูกต้อง[5] ก่อนที่จะยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอสบเมย[6] โดยพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2536 โดยมีการปกครองทั้งหมด 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่คะตวน ตำบลกองก๋อย ตำบลสบเมย ตำบลแม่สวด ตำบลป่าโปง และตำบลแม่สามแลบ
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอสบเมยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 ตำบล 58 หมู่บ้าน
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[7] |
---|---|---|---|---|
1. | สบเมย | Sop Moei | 12
|
8,788
|
2. | แม่คะตวน | Mae Khatuan | 8
|
6,363
|
3. | กองก๋อย | Kong Koi | 9
|
5,616
|
4. | แม่สวด | Mae Suat | 12
|
8,124
|
5. | ป่าโปง | Pa Pong | 7
|
4,153
|
6. | แม่สามแลบ | Mae Sam Laep | 10
|
14,095
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอสบเมยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลสบเมย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสบเมยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่คะตวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่คะตวนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกองก๋อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกองก๋อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สวด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สวดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่าโปง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าโปงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สามแลบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สามแลบทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (60 ง): 2706–2708. วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2520
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอสบเมย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (57 ง): 1279. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2022-05-30. วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2527
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอสบเมย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (130 ง): 3372–3374. วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2527
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่สะเรียง กิ่งอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (171 ง): (ฉบับพิเศษ) 62-74. วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2531
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แก้ไขประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอแม่สะเรียง และกิ่งอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (55 ง): 2575–2577. วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2532
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลำทับ อำเภอร่องคำ อำเภอเวียงแหง อำเภอนาโยง อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านหลวง อำเภอกะพ้อ อำเภอศรีบรรพต อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองสูง อำเภอสบเมย อำเภอเมยวดี อำเภอโคกเจริญ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอผาขาว อำเภอวังหิน อำเภอดอนพุด อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอห้วยคต พ.ศ. 2536" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 179 ง): 1–3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-05-30. วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.