อำเภอขุนยวม
ขุนยวม (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่อยู่ท่ามกลางขุนเขาและสายน้ำ ประชากรมีเชื้อสายทั้งชาวเขา ไทยใหญ่ จีน และพม่า นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดและของภาคเหนือ
อำเภอขุนยวม | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Khun Yuam |
คำขวัญ: บัวตองบาน ธารน้ำใส น้ำใจงาม นามขุนยวม | |
แผนที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เน้นอำเภอขุนยวม | |
พิกัด: 18°50′22″N 97°57′5″E / 18.83944°N 97.95139°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | แม่ฮ่องสอน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,698.3 ตร.กม. (655.7 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 23,696 คน |
• ความหนาแน่น | 13.95 คน/ตร.กม. (36.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 58140 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5802 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอขุนยวม เลขที่ 889 หมู่ที่ 1 ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58140 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอขุนยวมตั้งอยู่บนที่ราบกว้างใหญ่ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐกะยา (ประเทศพม่า) และอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแม่แจ่ม (จังหวัดเชียงใหม่)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอแม่ลาน้อย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐกะยา (ประเทศพม่า)
ประวัติ
แก้บ้านขุนยวมมีนามเดิมเป็นภาษาไทยใหญ่ว่า “บ้านกุ๋นยม” แต่เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของพวกลัวะ มาก่อนประมาณ 350 ปี ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดทราบจากคำบอกเล่าสืบทอดติดต่อกันมา และสังเกตจากวัดร้างที่มีพระธาตุเจดีย์ซึ่งชำรุดทรุดโทรม และพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสน ฝีมือชาวลัวะสร้างไว้หลายสิบองค์ปรากฏอยู่ ลัวะเป็นเชื้อชาติที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น สร้างบ้านเรือนอยู่ที่ไหนก็จะสร้างวัดอารามขึ้นไว้เป็นที่เคารพสักการะ บูชา เช่นเดียวกับชาวไทยใหญ่สันนิษฐานตามหลักฐานที่พบเห็นแล้ว บ้านขุนยวมเคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อน ทั้งนี้โดยคาดคะเนจากหลักฐานวัดร้างที่อยู่ทั้งในและนอกบริเวณเขตสุขาภิบาลประมาณ 15 แห่ง ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้าง โดยเฉพาะทางแถบบริเวณตอนเหนือของหมู่บ้าน
ตามหลักฐานที่สามารถยืนยันได้เมื่อ พ.ศ. 2390 บ้านขุนยวมเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ มีประมาณ 20 หลังคาเรือนเท่านั้น ยังไม่เจริญใหญ่ดังเช่นในปัจจุบัน เป็นหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นก่อนหมู่บ้านอื่นในเขตอำเภอขุนยวม ประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อพยพมาจากรัฐฉานของสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า และส่วนมากเป็นผู้มีเชื้อสายไทยใหญ่ เริ่มตั้งหมู่บ้านครั้งแรก จากริมห้วยข้างวัดโพธารามปัจจุบันขึ้นไปทางทิศเหนือจนถึงศาลเจ้าพ่อหลักเมือง (เจ้าเมือง) แล้วจึงขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนที่ราบบนภูเขา
- วันที่ 15 พฤษภาคม 2453 รวมพื้นที่เมืองแม่ฮ่องสอน เมืองยวม เมืองขุนยวม เมืองปาย จังหวัดเชียงใหม่ตะวันตก ตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า เมืองแม่ฮ่องสอน มณฑลพายัพ และจัดการปกครองแบ่งเป็น 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอเมืองยวม อำเภอเมืองขุนยวม และอำเภอเมืองปาย ให้หลวงรัฐกิจวิจารณ์ยกกระบัตร เมืองนครลำปาง เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด[1]
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมืองขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็น อำเภอขุนยวม[2]
- วันที่ 15 สิงหาคม 2493 โอนพื้นที่หมู่ 4 บ้านแม่สะเป่ (ในขณะนั้น) ของตำบลขุนยวม ไปขึ้นกับตำบลแม่เงา[3]
- วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลขุนยวม ในท้องที่บางส่วนของตำบลขุนยวม[4]
- วันที่ 23 พฤศจิกายน 2510 โอนพื้นที่ตำบลแม่ลาหลวง อำเภอขุนยวม ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง[5]
- วันที่ 16 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลแม่กิ๊ แยกออกจากตำบลเมืองปอน[6]
- วันที่ 12 กันยายน 2533 ตั้งตำบลแม่อูคอ แยกออกจากตำบลแม่ยวมน้อย[7]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลขุนยวม เป็นเทศบาลตำบลขุนยวม[8] ด้วยผลของกฎหมาย
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอขุนยวมแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 ตำบล 45 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[9] |
---|---|---|---|---|
1. | ขุนยวม | Khun Yuam | 6
|
8,323
|
2. | แม่เงา | Mae Ngao | 8
|
3,190
|
3. | เมืองปอน | Mueang Pon | 10
|
4,282
|
4. | แม่ยวมน้อย | Mae Yuam Noi | 8
|
2,570
|
5. | แม่กิ๊ | Mae Ki | 5
|
1,604
|
6. | แม่อูคอ | Mae Ukho | 6
|
3,744
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอขุนยวมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลขุนยวม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลขุนยวม
- องค์การบริหารส่วนตำบลขุนยวม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขุนยวม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลขุนยวม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เงา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่เงาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองปอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองปอนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยวมน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ยวมน้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กิ๊ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่กิ๊ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่อูคอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่อูคอทั้งตำบล
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- พัฒนาชุมชนอำเภอขุนยวม เก็บถาวร 2007-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ เก็บถาวร 2013-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศยกเมืองแม่ฮ่องสอนเป็นเมืองจัตวารวมอยู่ในมณฑลพายัพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 198–199. May 15, 1910. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (44 ง): 3438–3439. August 15, 1922.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 69-70. August 3, 1956.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอขุนยวมและกิ่งอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ. ๒๕๑๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (114 ง): (ฉบับพิเศษ) 29-31. November 23, 1967. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (133 ง): 2865–2868. August 16, 1983.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (170 ง): (ฉบับพิเศษ) 51-55. September 12, 1990.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.