พิชาญเมธ ม่วงมณี

พลเอก พิชาญเมธ ม่วงมณี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 3 และอดีตที่ปรึกษาพิเศษ กองทัพบก

พิชาญเมธ ม่วงมณี
แม่ทัพภาคที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 – 30 กันยายน พ.ศ. 2548
ก่อนหน้าพลโท อุดมชัย องคสิงห
ถัดไปพลโท สพรั่ง กัลยาณมิตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 กันยายน พ.ศ. 2489
จังหวัดลำพูน ประเทศไทย
เสียชีวิต20 มีนาคม พ.ศ. 2556 (66 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2550–2556)
คู่สมรสคุณหญิงนิตยา ม่วงมณี
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2550
ยศ พลเอก

ประวัติ

แก้

พิชาญเมธ ม่วงมณี เกิดวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2489 ที่ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นบุตรของนายไมตรี และ นางบุญช่วย ม่วงมณี สมรสกับ คุณหญิงนิตยา ม่วงมณี (สกุลเดิม "จันทนากูล") มีบุตรีด้วยกัน คือ พันตรีหญิง พิชญา ม่วงมณี อาจารย์ประจำ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก[1]

การศึกษา

แก้

พิชาญเมธ ม่วงมณี สำเร็จการศึกษาชั้น มศ.5 (หลักสูตรเตรียมทหาร 2 ปี) จากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 5 (ตท.5) จากนั้นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 16 (จปร.16) และได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้[2] นอกจากนั้นยังผ่านการอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ได้แก่

  • พ.ศ. 2522: หลักสูตรเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 58 (สธ.ทบ.ชุด 58)
  • พ.ศ. 2535: หลักสูตรวิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ 37 (วทบ.ชุด 37)
  • พ.ศ. 2541: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 41 (วปอ. 41)

พลเอก พิชาญเมธ สำเร็จหลักสูตรเตรียมทหาร รุ่นที่ 5 เป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด พี่ชายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และเป็นเพื่อนกับ นายพายัพ ชินวัตร น้องชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย

การทำงาน

แก้

พลเอก พิชาญเมธ ม่วงมณี ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รอง ผบ.ร.7 ในปี พ.ศ. 2528 ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้บัญชาการ กรมนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และเสนาธิการ มณฑลทหารบกที่ 32 (เสธ.มทบ.32) ถัดจากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้บัญชาการจังหวัดทหารบกเชียงราย และเป็นผู้บัญชาการจังหวัดทหารบกเชียงราย ในปี พ.ศ. 2540 หลังจากนั้นเพียงปีเดียว ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการมณฑลทหารบทที่ 33

ในการโยกย้ายทหารกลางปี พ.ศ. 2546 ในรัฐบาลทักษิณ 1 พล.อ.พิชาญเมธ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แม่ทัพภาคที่ 3 จนถึงปี พ.ศ. 2548 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ

งานการเมือง

แก้

หลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว พลเอกพิชาญเมธ ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน กลุ่มที่ 1 ในนามพรรคประชาธิปัตย์[3] และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมัยแรก ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ทำให้พรรคประชาธิปัตย์จัดตั้ง ครม.เงา ขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ พล.อ.พิชาญเมธ ม่วงมณี ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเงา[4] แต่ในการจัดตั้งรัฐบาลในช่วงปลายปี พ.ศ. 2551 พลเอกพิชาญเมธ ไม่ได้รับตำแหน่งใดในรัฐบาล

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[5] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่สอง แต่เนื่องจากพลเอกพิชาญเมธ มีอาการป่วยต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาล จึงไม่ได้เข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎร[6] และถูกระบุว่าเป็นหนึ่งในสอง ส.ส.ที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมเลย[7] สำหรับอีกคนหนึ่งคือ สถาพร มณีรัตน์ ซึ่งป่วยหนักด้วยอาการโรคไต และเสียชีวิตในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555

การดำรงตำแหน่งอื่น ๆ

แก้
  • ที่ปรึกษาโครงการน้ำพระทัยสมเด็จย่าฯ
  • ที่ปรึกษาโครงการทันตแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว.
  • ประธานกรรมการมูลนิธิกล้วยไม้ไทย
  • ประธานกรรมการมูลนิธิไผ่ดำ

ถึงแก่อนิจกรรม

แก้

พลเอก พิชาญเมธ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556[8][9] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556 ณ สุสานสันกู่เหล็ก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "บัยชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ พลเอกพิชาญเมธ ม่วงมณี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-04-04. สืบค้นเมื่อ 2012-09-06.
  2. ขอร่วมแสดงความยินดีกับศิษย์เก่าแม่โจ้ และศิษย์เก่ากิตติมศักดิ์แม่โจ้
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน (พรรคประชาธิปัตย์)
  4. "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  6. สะเก็ดล้านนา : 10 พฤษภาคม 2555
  7. "จัดอันดับ ส.ส.ยอดแย่เดือนมีนาฯ 7 ส.ส.ปชป.งดออกเสียง "ณัฐวุฒิ-อนุดิษฐ์-สุชาติ" เงียบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-07. สืบค้นเมื่อ 2012-08-08.
  8. ประกาศสภาผู้เทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายอิสรา สุนทรวัฒน์)
  9. มะเร็งคร่าชีวิต “พิชาญเมธ” ส.ส.ปชป.และอดีต มทภ.3[ลิงก์เสีย]
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๒๔ กันยายน ๒๕๑๙
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓