สถาพร มณีรัตน์
สถาพร มณีรัตน์ (20 เมษายน พ.ศ. 2505 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน เขต 2 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคไทยรักไทย และสังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นพรรคสุดท้าย
สถาพร มณีรัตน์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 เมษายน พ.ศ. 2505 อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (50 ปี) โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2544–2548) พลังประชาชน (2548–2550 เพื่อไทย (2550–2555) |
คู่สมรส | ลาวรรณ มณีรัตน์ |
ประวัติ
แก้สถาพร มณีรัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2505 เป็นบุตรของนายรัตน์ และนางบัวนำ มณีรัตน์ มีพี่น้อง 6 คน สมรสกับนางลาวรรณ มณีรัตน์ มีบุตร 1 คน คือ นาย กฤตภาส มณีรัตน์ (ชื่อเดิม ภาคภูมิ)
การศึกษา
แก้นายสถาพร มณีรัตน์ เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนบ้านสันทราย ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนจักรคำคณาทร และเข้าศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษา (ปวช.) ที่วิทยาลัยเทคนิคลำพูน และระดับชั้น ปวส. ที่วิทยาลัยเทคนิคลำปาง จากนั้นได้ศึกษาจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
งานการเมือง
แก้นายสถาพร มณีรัตน์ เริ่มทำงานเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และได้รับเลือกเป็นประธานสหภาพแรงงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ได้เข้าร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย โดยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 75 ไม่ได้รับเลือกตั้งในคราวแรก จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ด้านแรงงาน ต่อมาได้รับเลื่อนให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนนายกันตธีร์ ศุภมงคล เมื่อปี พ.ศ. 2545[1]
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบแบ่งเขต จังหวัดลำพูน ได้รับเลือกโดยเอาชนะนายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากนั้น พ.ศ. 2550 ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคพลังประชาชน ได้รับการเลือกตั้งเป็นอันดับที่ 2 ของเขต (มี ส.ส.ได้ 3 คน)
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ลงเลือกตั้งในนามพรรคเพื่อไทย เอาชนะนายขยัน วิพรหมชัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคประชาธิปัตย์ โดยในการรายงานตัวต่อสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นายสถาพรได้หาบลำไยและกระเทียมเข้ามาด้วยเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่ช่วยเหลือปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ[2]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้สถาพร มณีรัตน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ (เลื่อน) สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดลำพูน สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดลำพูน สังกัดพรรคพลังประชาชน
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดลำพูน สังกัดพรรคเพื่อไทย
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้สถาพร มณีรัตน์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ด้วยอาการของโรคไต หลังจากเข้ารับการรักษานานหลายเดือน[3] และมีการประกอบพิธีรดน้ำศพในวันถัดมา ณ วัดสันทราย อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน โดยมีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พร้อมด้วยนักการเมือง ข้าราชการ และประชาชนจำนวนมากเข้าร่วมพิธี[4] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ณ ฌาปนสถานบ้านสันต้นข้า อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองลำดับถัดไปเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-01-14.
- ↑ นายสถาพร มณีรัตน์
- ↑ ไรคไตคร่าชีวิต"สถาพร มณีรัตน์"ส.ส.ลำพูนเพื่อไทย
- ↑ "สมชาย" อดีตนายกฯ ร่วมรดน้ำศพ ส.ส.สถาพร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- นายสถาพร มณีรัตน์[ลิงก์เสีย], เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายสถาพร มณีรัตน์[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายสถาพร มณีรัตน์), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย