โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดลำพูน คู่กับโรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน เป็นโรงเรียนมัธยมของรัฐขนาดใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ 426 ถนนเจริญราษฎร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน (ในเขตเทศบาลเมืองลำพูน) บนเนื้อที่ 37 ไร่ 3 งาน 17.80 ตารางวา ปัจจุบันห้องเรียนของมัธยมศึกษาตอนต้นมีทั้งหมด 45 ห้องเรียน และห้องเรียนของมัธยมศึกษาตอนปลายมี 45 ห้องเรียน รวม 90 ห้องเรียน
โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน Chak Kham Khanathon Lamphun School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | จ.ค. |
ประเภท | โรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐประจำจังหวัด โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | สุวิชาโน ภวํ โหติ (ผู้รู้ดี คือ ผู้เจริญ) |
สถาปนา | พ.ศ. 2447 |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1051101001 (ใหม่) 1008510101 (เก่า) 51012003 (Smis) 510293 (Obec) |
ผู้อำนวยการ | นายจรัส คำอ้าย |
ครู/อาจารย์ | 233 คน (ปีการศึกษา 2566) |
จำนวนนักเรียน | 3,322 คน (ปีการศึกษา 2566) |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ภาษาไทย ภาษาญี่ปุ่น |
สี | น้ำเงิน - เหลือง |
เพลง | มาร์ชจักรคำคณาทร |
การจัดการศึกษา | มัธยมศึกษา |
ต้นไม้ | สนปฏิพัทธ์ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์โรงเรียน |
สถานที่ภายใน
แก้พื้นที่และอาณาเขต
แก้พื้นที่ปัจจุบันสภาพเป็นพื้นที่ราบ ขนาด 37 ไร่ 3 งาน 17.80 ตารางวา โดยมีอาณาเขต ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ถนนเจริญราษฎร์ ซอย 20
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ถนนจักรคำ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ถนนสันป่ายาง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ถนนเจริญราษฎร์
อาคารเรียน
แก้อาคารเป็นตึกถาวร 7 หลังคือ
- อาคาร 1 อาคารจักรคำขจรศักดิ์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2521 เป็นที่ทำการของกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม
- อาคาร 2 อาคารเหมพินทุไพจิตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2520 เป็นที่ทำการของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
- อาคาร 3 อาคารอาทิตยราช สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2516-2517 เป็นที่ทำการของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- อาคาร 4 อาคารพิศาลโสภาคุณ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2532-2533 เป็นที่ทำการของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- อาคาร 5 อาคารอินทยงยศโชติ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2543 - 2544 เป็นที่ทำการของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- อาคาร 6 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา
- อาคารจักรคำวิทยาคม สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2505 ใช้เป็นสำนักงานของผู้อำนวยการและฝ่ายบริหาร
นอกจากนี้ก็มีอาคารประกอบหลายหลัง ได้แก่ หอประชุมดาราดิเรก (อาคารหลังเดิมถูกรื้อถอนออกไปแล้วและสร้างเป็นอาคาร 6 ปัจจุบันอาคารดาราดิเรกได้สร้างขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2559 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2560 ) หอประชุมบุรีรัตน์ อาคารอุสาหกรรม อาคารคหกรรม อาคารดนตรีศึกษา (รื้อถอนออกไปแล้ว) อาคารศูนย์กีฬากรมสามัญศึกษา ศาลากลางน้ำ เรือนไทย เรือนหลวงล้านนากาญจนาภิเษก หอสมุดเติมทองไชย อาคารอนุสรณ์ 100 ปี ศูนย์วิชาการจักรคำ 100 ปี อาคารจักรคำ 115ปี บ้านพักครู 7 หลัง และบ้านพักภารโรง 3 หลัง
แผนชั้นเรียน
แก้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
แก้- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (Enrichment Program of Science Mathematics Technology and Environment : SMTE)
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นตามแนวทางของ สสวท. และ สอวน. (Smart Science)
- ห้องเรียนพิเศษทางภาษา เสริมและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เตรียมความพร้อมสู่อาชีพ ไทยแลนด์ ๔.๐ (EPDP)
- ห้องเรียนพิเศษเตรียมแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และเทคนิคการแพทย์
- ห้องเรียนวิทยาศาสตร์พลังสิบ (Ten Power Science Project : TPSP)
- ห้องเรียนทั่วไป
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
แก้- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (Enrichment Program of Science, Mathematics, Technology and Environment : SMTE)
- ห้องเรียนพิเศษคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (Gifted Maths)
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เสริมและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เตรียมความ พร้อมสู่อาชีพไทยแลนด์ ๔.๐ (EPDP)
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เตรียมวิศวกรคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ (Pre - Computer Engineering & Robot Program : PCER)
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ พัฒนาอัจฉริยภาพด้านภาษาไทย (Gifted Thai)
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เสริมและพัฒนาความสามารถด้านสังคมศึกษา (Gifted Social Studies)
- ห้องเรียนพิเศษเตรียมแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และเทคนิคการแพทย์ (Pre Medical)
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์พลังสิบ (Ten Power Science Project)
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
- แผนการเรียนศิลป์ภาษาไทย-สังคมศึกษา
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาเกาหลี
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นายช่วย มินิกานน์ | ระบุไม่ได้ - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 |
2 | ร.ต.อ.แก้ว วามะรูป | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 - 2561 |
3 | นายบุษย์ วัฒนวรา | พ.ศ. 2461 - ระบุไม่ได้ |
4 | ร.อ.ต. เสวก เรืองอัมพร | ระบุไม่ได้ - 2473 |
5 | ร.อ.ท.ขุนวิชชา กิจจพิสัณห์ | พ.ศ. 2475 - 2478 |
6 | นายกุหลาบ ประภาสะโนบล | พ.ศ. 2478 - 2479 |
7 | นายทองอินทร์ ปัณฑรานนท์ | พ.ศ. 2479 |
8 | นายนกแก้ว ไพบูลย์ | พ.ศ. 2483 - 2484 |
9 | นายพิศาล มั่นเสมอ | พ.ศ. 2484 |
10 | นายเทพ อินสุวรรณ | พ.ศ. 2484 - 2489 |
11 | นายวัน บุญฤทธิ์ | พ.ศ. 2489 - 2490 |
12 | นายโชติ สุวรรณชิน | พ.ศ. 2490 - 2491 |
13 | นายพันธ์ รัติกนก | พ.ศ. 2491 - 2494 |
14 | นายสุเชฏฐ์ วิชชวุต | พ.ศ. 2494 - 2505 |
15 | นายประสิทธิ์ ธนะปัญโญ | พ.ศ. 2505 - 2507,พ.ศ. 2512 - 2517 |
16 | นายภิรมย์ บุษยกุล | พ.ศ. 2507 - 2512 |
17 | นายเอื้อ มณีรัตน์ | พ.ศ. 2518 - 2522 |
18 | นายอิสระ เกิดทอง | พ.ศ. 2522 - 2525 |
19 | นายสุรชาติ ช่วงฉ่ำ | พ.ศ. 2525 - 2534 |
20 | นางสาวสายสมร เจริญจันทร์แดง | พ.ศ. 2534 |
21 | นายประสิทธิ์ แสนไชย | พ.ศ. 2535 |
22 | นายธารา จาตุประยูร | พ.ศ. 2535 - 2537 |
23 | นายบริบูรณ์ สุทธสุภา | พ.ศ. 2537 - 2544 |
24 | นายมานิตย์ ศรีพิทักษ์ | พ.ศ. 2544 - 2547 |
25 | นายอำนวย อุตตระพยอม | พ.ศ. 2547 - 2554(8 พ.ย.54) |
26 | นายสกล ทะแกล้วพันธุ์ | พ.ศ. 2554 - 2559(10 พ.ย.59) |
27 | นายสุพล ประสานศรี | 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 |
28 | นายมานัส นพคุณ | 5 มีนาคม พ.ศ. 2563 - กันยายน พ.ศ. 2564 |
29 | นายจรัส คำอ้าย | ตุลาคม 2564 - ปัจจุบัน |
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้- เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน อดีตรัฐมนตรี[2]
- ธีรวัฒน์ อุนจะนำ อดีตนักร้องนำวง soul da, ปัจจุบันนักร้องนำวง HOMeRUN
- ขยัน วิพรหมชัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน
- สถาพร มณีรัตน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน
- รังสรรค์ มณีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน เขต2 พรรคเพื่อไทย
- สันติ์ เทพมณี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- สุมิตตา ดวงแก้ว (ฝ้าย) อดีตสมาชิกไอดอลทีมบีทรีของกลุ่มไอดอลหญิงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ปัจจุบันเป็นศิลปินอิสระ
- ณัฐพงศ์ ผาทอง (เบนซ์) นักแสดงซีรีส์ เรื่อง En of love รักวุ่นๆของหนุ่มวิศวะ ตอน เหนือ-พระราม
- กฤษณ์สังข์ คำตันแก้ว (ใต้หล้า) คอนเทนต์ ครีเอเตอร์ ยูทูปเบอร์ Ruaypuens[3]
- วรรษรักษ์ วีระโพธิ์ (เมฆ) Conductor วง Teska Winds[4] (วงดุริยางค์เครื่องลมฟิลฮาร์โมนิกเทสก้า)
อ้างอิง
แก้- ↑ "ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียน". www.chakkham.ac.th.
- ↑ ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
- ↑ "RUAYPUENS - YouTube". www.youtube.com.
- ↑ "Teska Winds - Facebook". www.facebook.com.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ข้อมูลโรงเรียนจากเว็บไซต์ สพฐ.[ลิงก์เสีย]
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
18°35′31″N 99°00′42″E / 18.5920407°N 99.0116496°E
- ↑ "คำแจ้งความตั้งโรงเรียน". ckk2.chakkham.ac.th. 2024-07-23.