สันติ์ เทพมณี
นายสันติ์ เทพมณี เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน 3 สมัย เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดลำพูนคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง และเป็นอดีตนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน
สันติ์ เทพมณี ม.ว.ม., ป.ช. | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 จังหวัดลำพูน |
พรรค | ประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | มาลี เทพมณี |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติแก้ไข
สันติ์ เทพมณี เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 เป็นบุตรของนายสุข เทพมณี อดีตนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน (2488 - 2496) กับนางคำนวณ เทพมณี เขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน ชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีทางกฎหมาย และปริญญาโททางรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง[1]
สันติ์ เทพมณี สมรสกับนางมาลี เทพมณี
การทำงานแก้ไข
สันติ์ เทพมณี เป็นนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดลำพูน ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองลำพูน 9 สมัย เคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน 2 สมัย และเป็นสมาชิกสภาจังหวัด 3 สมัย[1] พ.ศ. 2501 - 2512
สันติ์ เทพมณี เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำพูน 3 สมัยติดต่อกัน ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคสหประชาไทย การเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคเกษตรสังคม และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2518[2] แต่ต้องพ้นจากหน้าที่ตั้งแต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากคณะรัฐมนตรีไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย ด้วยคะแนนไว้วางใจ 111 เสียง ไม่ไว้วางใจ 152 เสียง[3] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในปี 2519
ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดลำพูน ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543[4] เคยตั้งกระทู้ถามเรื่อง กรณีการช่วยเหลือการขาดสภาพคล่องของธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ จำกัด (มหาชน) (บีบีซี) และสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาทางการเงิน ในปี พ.ศ. 2544[5] และบทบาทอื่นๆ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 นายสันติ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ด้านสังคมและการศาสนาแก้ไข
สันติ์ เทพมณี มีบทบาททางด้านสังคมโดยเคยเป็นกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดลำพูน ต่อเนื่อง 32 ปี เป็นประธานชมรมสามล้อจังหวัดลำพูน และนายกสมาคมกีฬาจังหวัดลำพูน นอกจานั้นยังเป็นไวยาวัจกรวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร เป็นนายกยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย สาขาลำพูน และเคยได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นด้านพระพุทธศาสนา จังหวัดลำพูน ปี 2533
สันติ์ เทพมณี ยังมีบทบาทในการช่วยเหลือสังคมและกิจกรรมต่างๆ หลายครั้ง อาทิ การบริจาคทรัพย์สินให้แก่โรงพยาบาล[6] การให้ทุนการศึกษา[7] การร่วมงานสังคมวัฒนธรรมของจังหวัดลำพูน[8][9][10] เป็นต้น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[12]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 ผู้นำท้องถิ่น : ลำพูน[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
- ↑ คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดลำพูน (นายสันติ์ เทพมณี)
- ↑ บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
- ↑ โรงพยาบาลลำพูน รับมอบรถเข็นแบบนั่ง
- ↑ https://www.obec.go.th/archives/104630
- ↑ "กิจกรรมถวายโคมประเพณีลอยกระทงจังหวัดลำพูน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-17. สืบค้นเมื่อ 2020-11-15.
- ↑ ประชาชนชาวจังหวัดลำพูนร่วมงานประเพณียี่เป็ง ฟังเทศน์มหาชาติ ถวายทานโคมสองหมื่นดวง แด่องค์พระบรมธาตุเจ้าหริภุญชัย ประจำปี ๒๕๕๘
- ↑ ชาวจังหวัดลำพูนร่วมถวายโคม 25,000 ดวง แด่องค์พระบรมธาตุหริภุญชัย เพื่อน้อมถวายฯ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕