เทียน อัชกุล
นายเทียน อัชกุล เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทย และเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 4[1] เป็นอดีตอธิบดีกรมการปกครอง และอดีตอธิบดีกรมแรงงานคนแรก (ปัจจุบันคือ กระทรวงแรงงาน)
เทียน อัชกุล | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 จังหวัดนครศรีธรรมราช |
เสียชีวิต | 23 มกราคม พ.ศ. 2541 |
คู่สมรส | ดรุณี อัชกุล |
ประวัติ
แก้เทียน อัชกุล เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 ที่ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช สำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเขาเคยได้รับรางวัลอักษรศาสตร์ดีเด่น[2]
การทำงาน
แก้เทียน อัชกุล เคยรับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2508 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2508 จัดตั้งกรมแรงงานขึ้นในกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2508 และโอนกิจการบริหารของกรมประชาสงเคราะห์ (เฉพาะที่เกี่ยวกับงานแรงงาน) เมื่อตั้งเป็นกรมแรงงานแล้ว ได้แต่งตั้งให้นายเทียน อัชกุล รักษาราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมแรงงานไปพลางก่อน เมื่อถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2509 จึงได้มีประกาศแต่งตั้งให้เขาเป็นอธิบดีกรมแรงงานคนแรก[3]
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2517[4] กระทั่งพ้นจากตำแหน่งในปี พ.ศ. 2518 และเขาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2515 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[9]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ "วุฒิสภาชุดที่ ๔ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๑๘)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2018-07-23.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-20. สืบค้นเมื่อ 2018-07-23.
- ↑ "ประวัติกระทรวงแรงงาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-04. สืบค้นเมื่อ 2018-07-23.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (๓๐ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๘๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๗๔ ง หน้า ๑๘๖๔, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๗ เมษายน ๒๕๓๕