กันตธีร์ ศุภมงคล
ศาสตราจารย์ กันตธีร์ ศุภมงคล (เกิด 3 เมษายน พ.ศ. 2495) เป็นนักการทูตและนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร อดีตผู้แทนการค้า อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร และอดีตโฆษกพรรคไทยรักไทยคนแรก
กันตธีร์ ศุภมงคล | |
---|---|
กันตธีร์ ใน พ.ศ. 2548 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สุรเกียรติ์ เสถียรไทย |
ถัดไป | นิตย์ พิบูลสงคราม |
ผู้แทนการค้าไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 เมษายน พ.ศ. 2495 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | พลังธรรม (2538–2541) ไทยรักไทย (2541–2550) |
คู่สมรส | โสภาวรรณ ศุภมงคล |
ประวัติ
แก้ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล เกิดเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2495[1] ที่เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายกนต์ธีร์ ศุภมงคล อดีตเอกอัคราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน,อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (จอมพลถนอม กิตติขจร)[2] กับคุณหญิงดุษฎี ศุภมงคล (อรรถกระวีสุนทร) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส เมื่อปี พ.ศ. 2519 ระดับปริญญาโท สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยอเมริกัน (AU) ปี พ.ศ. 2520 และปริญญาเอก สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ในปี พ.ศ. 2527
การทำงาน
แก้ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล เริ่มรับราชการหลังจากเรียนจบปริญญาเอก สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ รวมระยะเวลาในการรับราชการเกือบ 10 ปี จนได้รับตำแหน่งสูงสุด คือ ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน จึงตัดสินใจลาออกจากราชการ เพื่อทำธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ คือ บริษัท กันตสหกิจ จำกัด [3]
การดำรงตำแหน่งทางการเมือง
แก้ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล เริ่มเข้าสู่งานการเมือง โดยการชักชวนของศ.พิเศษทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคพลังธรรมและได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 6 สังกัดพรรคพลังธรรม ต่อมา ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล จึงเข้าร่วมกับทักษิณ ชินวัตร ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และได้รับตำแหน่งเป็นโฆษกพรรคคนแรก (คณะกรรมการชุดที่ขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง)[4] กระทั่งในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ ผู้แทนการค้าไทย และต่อมาจึงได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[5]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-26. สืบค้นเมื่อ 2010-08-08.
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี
- ↑ "ชีวิตและการเดินทางของ ดร.กัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-18. สืบค้นเมื่อ 2010-08-08.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง พรรคไทยรักไทย
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗