สนามบินสงขลา
สนามบินทหารเรือสงขลา[1] (อังกฤษ: Songkhla Royal Thai Navy Airfield หรือ Songkhla Airport) หรือ สนามบินสงขลา หรือ ท่าอากาศยานสงขลา คือสถานีการบินของกองทัพเรือไทย อยู่ทางใต้ของกรุงเทพมหานครประมาณ 735 กิโลเมตร (457 ไมล์) ในอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นสถานีการบินของฐานทัพเรือสงขลา
สนามบินทหารเรือสงขลา | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของกองทัพเรือไทย | |||||||
เมืองสงขลา สงขลา | |||||||
สนามบินทหารเรือสงขลาอยู่บริเวณมุมล่างซ้ายของภาพ สังเกตได้จากทางวิ่งขนาดใหญ่ | |||||||
พิกัด | 07°11′11.63″N 100°36′28.91″E / 7.1865639°N 100.6080306°E | ||||||
ประเภท | ฐานบินนาวี | ||||||
ข้อมูล | |||||||
เจ้าของ | กองทัพเรือไทย | ||||||
ผู้ดำเนินการ | กองทัพเรือไทย | ||||||
ควบคุมโดย | ฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2 | ||||||
สภาพ | ฐานบินนาวี | ||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||
สร้าง | พ.ศ. 2497 | ||||||
ข้อมูลสถานี | |||||||
กองทหารรักษาการณ์ | สถานีการบิน ฐานทัพเรือสงขลา | ||||||
ข้อมูลลานบิน | |||||||
ข้อมูลระบุ | IATA: SGZ, ICAO: VTSH | ||||||
ความสูง | 12 ฟุต (3.7 เมตร) เหนือระดับ น้ำทะเล | ||||||
|
ประวัติ
แก้สนามบินสงขลา ได้รับการประกาศสนามบินอนุญาต ในปี พ.ศ. 2497[2] และเป็นท่าอากาศยานศุลกากร เมื่อปี พ.ศ. 2504[3] ซึ่งในเวลานั้น กองทัพอากาศได้กำหนดให้สนามบินสงขลาเป็นฐานบินสนาม ประจำการอากาศยานจากกองบิน 53 ประจวบคีรีขันธ์ในชื่อว่า ฝูงบิน 531 รับผิดชอบพื้นที่ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง[4]
เนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่ ทำให้ไม่สามารถขยายทางวิ่งเพื่อรองรับการเติบโตของเมือง อีกทั้งปลายทางวิ่งทิศทาง 31 มีภูเขาขวางกั้นอยู่ ทำให้เกิดอุปสรรค์ในการร่อนขึ้นลงของอากาศยาน จากการประเมินของคณะผู้เชี่ยวชาญขององค์การบริหารการบินแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration: FAA) และกรมการบินพาณิชย์ เสนอให้สร้างสนามบินแห่งใหม่เพื่อใช้งานแทนที่สนามบินสงขลา ตั้งชื่อสนามบินแห่งใหม่ว่าสนามบินหาดใหญ่ พร้อมทั้งย้ายการเดินอากาศพาณิชย์[5]และฝูงบินประจำการของกองทัพอากาศไปยังที่ใหม่[4] และได้ยกเลิกท่าอากาศยานศุลกากรในปี พ.ศ. 2515 ต่อมาสนามบินสงขลาเดิมได้ถ่ายโอนไปให้กองทัพเรือเป็นผู้ใช้งานจนถึงปัจจุบัน[5]
บทบาทและปฏิบัติการ
แก้กองทัพเรือไทย
แก้สนามบินสงขลา เป็นที่ตั้งหลักของสถานีการบิน ฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2 เป็นที่ตั้งของหมวดบินเฉพาะกิจ ขึ้นตรงต่อกองเรือปฏิบัติการ ทัพเรือภาคที่ 2 ในการปฏิบัติการทางทะเล
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
แก้สนามบินสงขลา เป็นที่ตั้งของหน่วยบินตำรจจังหวัดสงขลา เนื่องจากมีพื้นที่ติดกับค่ายรามคำแหง กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43 กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 4 ทำให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยบินตำรวจสามารถเข้าออกและปฏิบัติการจากในพื้นที่ของกองกำกับการฯ ได้เลย
หน่วยในฐาน
แก้สนามบินสงขลา เป็นฐานบินหลักของฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2 หน่วยที่ตั้งอยู่ในฐานบินประกอบด้วย
กองทัพเรือไทย
แก้กองการบินทหารเรือ
แก้- หมวดบินเฉพาะกิจ กองเรือปฏิบัติการ ทัพเรือภาคที่ 2[6] – ดอร์เนีย, ที-337, เอส-76 บี
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
แก้กองบินตำรวจ
แก้หน่วยบินเอกชน
แก้นอกจากการใช้งานทางทหารของกองทัพเรือแล้ว สนามบินสงขลายังเป็นที่ตั้งของสนามบินเฮลิคอปเตอร์ของรัฐวิสาหกิจและเอกชนให้บริการเฮลิคอปเตอร์สำหรับเดินทางไปยังแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางอ่าวไทย ได้แก่
- สนามบินเฮลิคอปเตอร์
- บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เอสเอฟเอส เอวิเอชั่น จำกัด
- บริษัท ยูไนเต็ด ออฟชอร์ เอวิเอชั่น จำกัด – เอดับเบิลยู 139[8]
สิ่งอำนวยความสะดวก
แก้สนามบินสงขลา ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่
ลานบิน
แก้สนามบินสงขลาประกอบไปด้วยทางวิ่งความยาว 1,510 เมตร (4,954 ฟุต) ความกว้าง 45 เมตร (148 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 12 ฟุต (3.7 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 13/31 หรือ 132° และ 312° พื้นผิวคอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต[9]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "รอยยิ้มเด็กๆ ที่สนามบินทหารเรือสงขลา - กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง Department of Marine and Coastal Resources, Thailand". กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
- ↑ ประกาศกระทรวงคมนาคม ที่ ๒/๒๔๙๗ เรื่อง กำหนดสนามบินอนุญาต
- ↑ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๙ (พ.ศ. ๒๕๐๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช ๒๔๖๙ (กำหนดให้สนามบินสงขลาและสนามบินภูเก็ตเป็นสนามบินศุลกากร)
- ↑ 4.0 4.1 "ประวัติความเป็นมา บน.๕๖ – กองบิน56" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-30. สืบค้นเมื่อ 2024-07-04.
- ↑ 5.0 5.1 "รู้หรือไม่... ก่อนที่จะมีสนามบินหาดใหญ่ จังหวัดสงขลามีสนามบินสงขลามาก่อน". www.hatyaifocus.com (ภาษาอังกฤษ).
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ประวัติ ทัพเรือภาคที่ ๒ - Second Naval Area Command". www.nac2.navy.mi.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 35 ปี กองบินตำรวจ (PDF). กองบินตำรวจ. 2547. p. 9.
- ↑ "ฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2 ขอความร่วมมือประชาชนงดเล่นว่าวใกล้เขตพื้นที่สนามบินสงขลา เพื่อความปลอดภัยในการเดินอากาศของอากาศยาน". www.longtaithailand.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Aedrome/Heliport VTSH". aip.caat.or.th (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-07-28.