กองบินตำรวจ (บ.ตร.) (อังกฤษ: Police Aviation Division) เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีสายการบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[1]

กองบินตำรวจ
ตราสัญลักษณ์ประจำกองบินตำรวจ
เครื่องหมายอากาศยาน
อักษรย่อบ.ตร.
คำขวัญปฏิบัติการบินอย่างมืออาชีพ เป็นสากลเพื่อความมั่นคงของชาติ ศาสน์กษัตริย์และความปลอดภัย ของประชาชน
ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้ง18 พฤศจิกายน, พ.ศ. 2512 (54 ปี 132 วัน)
โครงสร้างเขตอำนาจ
เขตอำนาจในการปฏิบัติการประเทศไทย
สำนักงานใหญ่701 ถนนรามอินทรา กม. 5 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

ผู้บริหารหน่วยงาน
  • พลตำรวจตรี สุทธิพงษ์ เพชรรักษ์, ผู้บังคับการ
หน่วยงานปกครอง สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
หน่วยบินตำรวจ • 22 หน่วยบิน
เว็บไซต์
tpad.police.go.th

ประวัติ แก้

 
อาคารที่ตั้งของกองบินตำรวจในปี พ.ศ. 2512

จุดเริ่มต้น แก้

ในยุคเริ่มต้น พ.ศ. 2493 กองบินตำรวจเป็นเพียงหน่วยบิน จัดตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกเจ้าหน้าที่ตำรวจในการรักษากฎหมายในยุคนั้น โดยเริ่มต้นซื้ออากาศยานลำแรกคือ Hiller Model 360 และจัดเก็บอากาศยานไว้ที่สนามเสือป่า รับคำสั่งในการปฏิบัติงานจากกองตำรวจนครบาลวังปารุสกวัน[2]

สัญลักษณ์ แก้

เครื่องหมายประจำกองบินตำรวจ มีลักษณะเป็นรูปโล่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของตราอาร์ม มีขนาดกว้าง 8 เซนติเมตร และยาว 9 เซนติเมตร เป็นผ้าหรือสักหลาดพื้นเป็นสีดำ ภายในประกอบด้วย

  1. อักษรภาษาไทยคำว่า "กองบินตำรวจ" อยู่ด้านบนปักด้วยดิ้นไหมสีเงิน หรือด้ายสีขาว หากเป็นภาษาอังกฤษใช้คำว่า "POLICE AVIATION DIVISION"
  2. เครื่องหมายโล่เขนตำรวจ ปักด้วยดิ้นไหมสีเงิน หรือด้ายสีขาว และสีเลือดหมูตามลักษณะโล่เขนตำรวจ อยู่ใต้อักษรภาษาไทยคำว่า "กองบินตำรวจ" หรือภาษาอังกฤษคำว่า "POLICE AVIATION DIVISION" โดยมีขนาดพอเหมาะและสมดุลสวยงาม
  3. รูปปีกนก ขนาดกว้าง 2.7 เซนติเมตร สูง 6 เซนติเมตร อยู่ด้านข้างรองรับเครื่องหมายโล่เขนตำรวจและอักษรภาษาไทยคำว่า "กองบินตำรวจ" หรือภาษาอังกฤษคำว่า "POLICE AVIATION DIVISION" ปักด้วยดิ้นไหมสีทอง หรือด้ายสีเหลือง
  4. ตราอาร์มรูปธงชาติไทย ในลักษณะเอียง อยู่ระหว่างปีกนกทั้งสอง ปักด้วยด้ายสีน้ำเงิน ขาว และแดง ตามสีของธงชาติ อยู่ในกรอบดิ้นไหมสีทองหรือด้ายสีเหลือง
  5. ขอบนอกของอาร์ม ปักด้วยด้ายสีเลือดหมู ขนาด 0.5 เซนติเมตร เพื่อแสดงถึงความเป็นตำรวจในสายเลือด

ความหมายของเครื่องหมายประจำกองบินตำรวจ (Patch of Police Aviation Division) หมายถึง เป็นหน่วยงานที่สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่สามารถสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจทางอากาศภายในราชอาณาจักรไทยให้กับหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานราชการอื่นๆ ตามที่ร้องขอ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนแห่งราชอาณาจักรไทย โดยไม่หวังผลตอบแทน ภายใต้สถานการณ์ปกติ วิกฤติ และฉุกเฉิน เปรียบได้ดั่งอัศวินขี่ม้าขาวมาช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกันตามคำขวัญของกองบินตำรวจ ที่ยึดถือปฏิบัติกันมาช้านานที่ว่า "จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา"

เครื่องหมายประจำกองบินตำรวจ สามารถปรับเปลี่ยนสีของเครื่องหมายเป็นสีดำได้เมื่อใช้ประกอบกับเครื่องแบบสนามสีเขียว และสีลายพราง (ABU Tiger Stripe)

ผู้มีสิทธิ์ประดับเครื่องหมายนี้ ได้แก่ ผู้ทำการในอากาศทุกนาย และเจ้าหน้าที่กู้ภัยของกองบินตำรวจ ที่สวมใส่ชุดปฏิบัติการ (Flight Suit) ข้าราชการตำรวจและลูกจ้าง ที่สวมใส่เครื่องแบบสนามสีเขียว และสีลายพราง (ABU Tiger Stripe)

 
อากาศยานที่ปลดระวางของกองบินตำรวจ

โครงสร้าง แก้

โครงสร้างภายใน แก้

โครงสร้างภายในหน่วยของกองบินตำรวจไปกอบไปด้วย[3]

  • กลุ่มงานผู้เชี่ยวชาญช่างอากาศยาน
  • กลุ่มงานวิศวกรอากาศยาน
  • ฝ่ายอำนวยการกองบินตำรวจ
  • ฝ่ายสนับสนุนกองบินตำรวจ
  • กลุ่มงานการบินกองบินตำรวจ
  • กลุ่มงานช่างอากาศยานกองบินตำรวจ

โครงสร้างฝูงบินหน่วยบินตำรวจ แก้

หน่วยบินตำรวจที่ตั้งอยู่ตามต่างจังหวัด มีจำนวน 22 หน่วยบิน สังกัด 4 ฝูงบิน[4] จากทั้งหมด 6 ฝูงบิน

  • ฝูงบินที่ 1
    • หน่วยบินตำรวจจังหวัดกาญจนบุรี
    • หน่วยบินตำรวจจังหวัดจันทบุรี
    • หน่วยบินตำรวจอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
    • หน่วยบินตำรวจหัวหิน อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
    • หน่วยบินตำรวจจังหวัดนครสวรรค์
  • ฝูงบินที่ 2
    • หน่วยบินตำรวจจังหวัดนครราชสีมา
    • หน่วยบินตำรวจจังหวัดขอนแก่น
    • หน่วยบินตำรวจจังหวัดอุดรธานี
    • หน่วยบินตำรวจจังหวัดอุบลราชธานี
    • หน่วยบินตำรวจจังหวัดนครพนม
    • หน่วยบินตำรวจจังหวัดสุรินทร์
  • ฝูงบินที่ 3
    • หน่วยบินตำรวจจังหวัดตาก
    • หน่วยบินตำรวจจังหวัดพิษณุโลก
    • หน่วยบินตำรวจจังหวัดลำปาง
    • หน่วยบินตำรวจจังหวัดเชียงใหม่
    • หน่วยบินตำรวจจังหวัดเชียงราย
  • ฝูงบินที่ 4
    • หน่วยบินตำรวจจังวัดชุมพร
    • หน่วยบินตำรวจจังหวัดสุราษฎร์ธานี
    • หน่วยบินตำรวจจังหวัดภูเก็ต
    • หน่วยบินตำรวจทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
    • หน่วยบินตำรวจจังหวัดสงขลา
    • หน่วยบินตำรวจจังหวัดยะลา
  • ฝูงบินที่ 5 เครื่องบินปีกติด (เครื่องบินปีกตรึง)[5]
  • ฝูงบินที่ 6 เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์[5]

อากาศยาน แก้

เฮลิคอปเตอร์ แก้

ผู้ผลิต
รุ่น
ภาพ
ประเทศต้นกำเนิด
จำนวน (เครื่อง)
ที่เข้าประจำการ
รายละเอียด
Bell Helicopter Bell212
 
  สหรัฐ  เกาหลีใต้ 13 13 •จำนวนอาจตกหล่นเนื่องจากเคยมีอุบัติเหตุมาก่อน
Bell205a
 
23 23 •จำนวนอาจตกหล่นเนื่องจากเคยมีอุบัติเหตุมาก่อน
Bell412(HP)
 
7 7 •จำนวนอาจตกหล่นเนื่องจากเคยมีอุบัติเหตุมาก่อน
Bell412(EP)
 
2 2
 
2 2
Bell206
 
10 1 •ปัจจุบันทั้ง 9 ลำถูกปลดประจำการและทดแทนเป็นอะไหล่แล้ว
Bell206L
 
2 1 • ปัจจุบันเหลือเพียง 1 ลำ ที่ยังประจำการอยู่
Bell Helicopter

Korea Aerospace Industries

Bell429
 
6 5 •เป็นรุ่นที่เกาหลีใต้ได้ร่วมวิจัยและพัฒนากับบริษัท Bell helicopter

•อุบัติเหตุตกไป 1 ลำ

Eurocopter Ec155

Ec155(B)

 
  ยุโรป 5 5
AS365N3
 
2 2
Airbus H-175
 
2 2
Agustawestland AW189
 
  อิตาลี 2 2

เครื่องบิน แก้

ผู้ผลิต
รุ่น
ภาพ
ประเทศต้นกำเนิด
จำนวน (เครื่อง)
ที่เข้าประจำการ
รายละเอียด
Fokker Fokker Model 50
 
  เนเธอร์แลนด์ 1 1
Construcciones Aeronáuticas SA/IPTN CN-235-200M
 
  ยุโรป 1 1
Beechcraft Super king Air 350
 
  สหรัฐ 2 2
De Havilland Canada Viking air (Viking)DHC-6-400 Twin Otter
 
  Canadian 2 2 •ได้รับมอบในปี 2563
Dassault Falcon Dassault Falcon 2000S
 
  ฝรั่งเศส 2 2 •ได้รับมอบในปี 2561

อากาศยานที่ปลดประจำการ แก้

ผู้ผลิต
รุ่น
ภาพ
ประเทศต้นกำเนิด
จำนวนที่ปลดประจำการ
รายละเอียด
Short Brothers (Skyvan) Model SC-7
 
  บริเตนใหญ่ 3
Sikorsky Aircraft S-62A
 
1
S-55B
 
1
Beagle Aircraft,Auster,OGMA Beagle D.5/180 Husky
 
1
Douglas Aircraft Company C-47D
 
  สหรัฐ 1
Bell helicopter UH-1H
 
6
Belll 47
 
1
Hiller UH-12E
 
1
UH-1B
 
10
Cessna Cessna 310F
 
1
Dornier Flugzeugwerke DHC-4
 
  Canadian 1
Pilatus Aircraft (Porter)PC-6
 
  สวิตเซอร์แลนด์ 3
Dornier Flugzeugwerke Dornier Do-28
 
  เยอรมนี 1
- - - - - -
หมายเหตุ : จำนวนเครื่องบางรุ่นอาจระบุจำนวนไม่ตรงกับความจริง

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552
  2. "ประวัติ : กองบินตำรวจ". tpad.police.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-06. สืบค้นเมื่อ 2021-10-06.
  3. "โครงสร้างองค์กร : กองบินตำรวจ". tpad.police.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-06. สืบค้นเมื่อ 2021-10-06.
  4. สุนทร พิศปั้น. คู่มือการบริหารงาน การค้นหา ช่วยเหลือ กู้ภัยของกองบินตำรวจ เก็บถาวร 2021-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. 5.0 5.1 "คำสั่งกองบินตำรวจ ที่ 115/2556 เรื่อง มอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบให้ข้าราชการตำรวจ ปฏิบัติหน้าที่ในกลุ่มงานการบิน กองบินตำรวจ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-10-06. สืบค้นเมื่อ 2021-10-06.